ในปี 2008 เมื่อบารัค โอบามาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศอเมริกา มีเหตุการณ์เล็กๆ เหตุการณ์หนึ่งซึ่งมีความหมายมากสำหรับเรา ในช่วงแข่งขันคัดผู้สมัครพรรคเดโมแครตระหว่างฮิลลารี คลินตัน และบารัค โอบามา หนหนึ่งคลินตันปราศรัยโดยกล่าวถึง "unsung hero" (วีรบุรุษผู้ถูกลืม) ในที่นี้คือนักการเมืองผู้หนึ่งซึ่งเป็นโต้โผใหญ่ในการขับเคลื่อนกฏหมายที่นำไปสู่ความเท่าเทียมกันระหว่างคนดำและคนขาวในอเมริกา
เท่านั้นแหละ นี่เป็นอีกปราศรัยหนึ่งของฮิลลาลีที่ถูกประณามมากที่สุด คนอเมริกาส่วนใหญ่มองว่าฮิลลารีไม่ยอมให้เกียรติมาติน ลูเธอ คิงก์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิคนดำผู้ถูกลอบสังหาร (และการตายของคิงก์ ก็คือฉนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฏหมายเหยียดผิวในอเมริกา) ถ้าจากมุมมองทางการเมืองแล้ว คำปราศรัยนี้ของฮิลลาลีคือความล้มเหลว แต่ถ้าจากมุมมองของคนจบกฏหมายจากเยล เราอดสงสัยไม่ได้ว่าฮิลลาลีเสียใจไหมที่พูดแบบนั้นออกไป
ใน Imperium ซิเซโร นักการเมืองโรมันในยุคสาธารณรัฐ (ก่อนคริสตศักราช) ทำมาหมดแล้ว ตั้งแต่ปกป้องไพร่ซิซิลีจากการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยอำมาตย์โรมัน ปกป้องอำมาตย์โรมันที่ถูกไพร่กูลฟ้องร้อง ผ่านกฏหมายที่เป็นรากฐานของระบบเผด็จการ หยุดยั้งการก่อรัฐประหาร ปกป้องผู้บริสุทธิ์ ปกป้องคนพาล ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูงของตัวเขาเอง
แต่แล้วมันผิดอะไร ความจริงที่หลายคนไม่ยอมรับก็คือ นักการเมืองและความมักใหญ่ใฝ่สูงของพวกเขาต่างหากคือตัวแปรที่สร้างสรรค์จรรโลงโลกมานับครั้งไม่ถ้วน นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง แม้สิ่งนั้นจะเป็นภัยต่อตัวเอง แต่นักการเมืองส่วนใหญ่ ถ้าสถานการณ์อำนวย พวกเขาจะยืนอยู่ข้างประชาชน (ดังนั้นส่วนหนึ่งจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะสร้างสถานการณ์นั้นขึ้นมา)
ส่วนคนที่พลาดพลั้งโอกาสดีๆ โอกาสที่จะกลายเป็นวีรบุรุษ แทกซิทัส นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันอธิบายคนพวกนี้ไว้ได้อย่างถูกต้อง "capax imperii, nisi imperasset/เขาช่างดูเหมาะสมจะเป็นจักรพรรดิ จนเมื่อเขาได้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิจริงๆ "
S. Ray's "Feluda's Last Case"
บางคำถามที่ทำใจไว้แต่แรกแล้วว่าคงไม่มีคำตอบแน่ๆ จู่ๆ คำตอบก็ผุดขึ้นมาเอง ระหว่างที่เรากำลังสงสัยว่า เราชอบนิยายนักสืบเฟลูดาจริงๆ หรือแค่ "เกรงใจ" คนเขียน พอลองค้นข้อมูลในเน็ตก็พบคำตอบ
Feluda's Last Case รวบรวม 7 จาก 35 นิยายสั้น/เรื่องสั้นนักสืบของสัตยาจิต เรย์ (ใช่! สัตยาจิต เรย์) นักสืบเฟลูดาอาจไม่ค่อยมีชื่อเสียงนอกประเทศอินเดียเท่าไหร่ แต่เท่าที่สอบถามครูเกิ้ลดู พบว่าเขาเป็นฮีโร่ในดวงใจเด็กชาวอินเดียอยู่เหมือนกัน (ผลงานกำกับชิ้นสุดท้ายของเรย์คือภาพยนตร์ที่สร้างมาจากนิยายเฟลูดา ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นหนังยอดฮิตของเด็กๆ จนปัจจุบัน ลูกชายของเรย์ก็ยังคงสืบทอดผลงานของพ่อโดยการกำกับหนังเฟลูดาออกมาเรื่อยๆ )
โดยผิวเผินแล้ว นิยายเฟลูดามีคุณลักษณะบางประการที่เราไม่นิยมในนิยายนักสืบ (หรือนิยายอะไรก็ตามแต่) มันเต็มไปด้วยบทสนทนา เหตุการณ์เกิดในมณฑลต่างๆ ของประเทศอินเดีย แต่เราแทบไม่รับรู้ฉากหรือสถานที่ผ่านการบรรยายเลย ดูขัดแย้งชอบกลกับนักเขียนที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แต่ถ้ามองว่านี่เป็นนิยายเด็ก เน้นความสนุกสนาน ต้องขับเคลื่อนพล็อตตลอดเวลา เรย์เขียนนิยายชุดนี้ออกมาได้อย่างพอดิบพอดี
ในส่วนความเป็นนิยายนักสืบ คุณภาพทั้ง 7 เรื่องลดหลั่นกันไป Danger in Darjeeling ที่เป็นเรื่องสั้นเปิดตัวเฟลูดาดีมาก เช่นเดียวกับ The Key แต่ที่สุดยอดคือนิยายสั้น The Mystery of Nayan เรย์แสดงฝีมือการเล่าเรื่องระดับเทพ แตะนิด แตะหน่อย แล้วออกมาลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ (การผสมผสานพลังจิต เรื่องเหนือธรรมชาติลงไปแลดูเป็นเสน่ห์ของนิยายนักสืบโรตีดี)
จุดที่เราชอบที่สุดของนิยายเฟลูดาคือความชาตินิยมแบบกำลังพอดี เรย์เขียนนิยายเรื่องนี้เพื่อให้เด็กๆ เกิดความรักในประเทศอินเดีย ได้เห็นวัฒนธรรมอันหลากหลาย สถานที่ท่องเที่ยว โดยไม่จำเป็นต้องเอาชาวตะวันตกมาป้ายสีเป็นผู้ร้าย ตอกย้ำวาทกรรมอาณานิคมซ้ำซาก หรือการขับความ exotic แบบล้นเหลือ
Feluda's Last Case รวบรวม 7 จาก 35 นิยายสั้น/เรื่องสั้นนักสืบของสัตยาจิต เรย์ (ใช่! สัตยาจิต เรย์) นักสืบเฟลูดาอาจไม่ค่อยมีชื่อเสียงนอกประเทศอินเดียเท่าไหร่ แต่เท่าที่สอบถามครูเกิ้ลดู พบว่าเขาเป็นฮีโร่ในดวงใจเด็กชาวอินเดียอยู่เหมือนกัน (ผลงานกำกับชิ้นสุดท้ายของเรย์คือภาพยนตร์ที่สร้างมาจากนิยายเฟลูดา ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นหนังยอดฮิตของเด็กๆ จนปัจจุบัน ลูกชายของเรย์ก็ยังคงสืบทอดผลงานของพ่อโดยการกำกับหนังเฟลูดาออกมาเรื่อยๆ )
โดยผิวเผินแล้ว นิยายเฟลูดามีคุณลักษณะบางประการที่เราไม่นิยมในนิยายนักสืบ (หรือนิยายอะไรก็ตามแต่) มันเต็มไปด้วยบทสนทนา เหตุการณ์เกิดในมณฑลต่างๆ ของประเทศอินเดีย แต่เราแทบไม่รับรู้ฉากหรือสถานที่ผ่านการบรรยายเลย ดูขัดแย้งชอบกลกับนักเขียนที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แต่ถ้ามองว่านี่เป็นนิยายเด็ก เน้นความสนุกสนาน ต้องขับเคลื่อนพล็อตตลอดเวลา เรย์เขียนนิยายชุดนี้ออกมาได้อย่างพอดิบพอดี
ในส่วนความเป็นนิยายนักสืบ คุณภาพทั้ง 7 เรื่องลดหลั่นกันไป Danger in Darjeeling ที่เป็นเรื่องสั้นเปิดตัวเฟลูดาดีมาก เช่นเดียวกับ The Key แต่ที่สุดยอดคือนิยายสั้น The Mystery of Nayan เรย์แสดงฝีมือการเล่าเรื่องระดับเทพ แตะนิด แตะหน่อย แล้วออกมาลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ (การผสมผสานพลังจิต เรื่องเหนือธรรมชาติลงไปแลดูเป็นเสน่ห์ของนิยายนักสืบโรตีดี)
จุดที่เราชอบที่สุดของนิยายเฟลูดาคือความชาตินิยมแบบกำลังพอดี เรย์เขียนนิยายเรื่องนี้เพื่อให้เด็กๆ เกิดความรักในประเทศอินเดีย ได้เห็นวัฒนธรรมอันหลากหลาย สถานที่ท่องเที่ยว โดยไม่จำเป็นต้องเอาชาวตะวันตกมาป้ายสีเป็นผู้ร้าย ตอกย้ำวาทกรรมอาณานิคมซ้ำซาก หรือการขับความ exotic แบบล้นเหลือ
Moliere's "One-Act Comedies"
หนังสือบางเล่ม อ่านแล้ว ให้ภาพของคนเขียนขึ้นมาอย่างชัดเจนเลย เราอ่านบทละครของโมลิเยครั้งแรกคือเมื่อสักสิบปีที่แล้ว Tartuffe และ The Misanthrope ทั้งสองเรื่องถือเป็นบทละครที่ผ่านการขัดเกลาแล้ว อ่านจบก็เลยนึกไม่ออกว่าโมลิเยเป็นใคร ต่างจากนักเขียนคลาสสิคคนอื่นๆ ที่ตรูต้องอ่าน ต้องเรียน ต้องเขียนเปเปอร์ยังไง แต่กับ One-Act Comedies ภาพของโมลิเยค่อยๆ ชัดขึ้นมา เล่มนี้รวบรวมบทละครสั้นองค์เดียว 7 เรื่องจากทั้งหมด 10 เรื่องที่โมลิเยเคยเขียน (สาเหตุที่ไม่ยอมรวมอีก 3 เรื่อง บรรณาธิการหนังสือออกตัวว่าเพราะเป็นละครเยินยอกษัตริย์ ไม่ได้มีคุณค่าทางวรรณกรรมอะไร)
ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยนี้ โมลิเยนี่ก็คือพี่หม่ำ จ๊กมกชัดๆ One-Act Comedies ไม่ใช่ตลกชั้นสูง ตลกชวนคิดอะไรเลย แต่เป็นตลกโป๊งชึ่งดีๆ นี่เอง โมลิเยใช้รูปแบบของ Commedia dell'arte ซึ่งเป็นละครตลกอิตาลี ทุกเรื่องประกอบไปด้วยตัวละครชื่อซ้ำไปซ้ำมา บุคลิกเดิมๆ สี่ห้าตัว (คุณหมอเด็ดโตเร แม่หญิงโคลัมบีน ตัวตลกบันตาโรเน นักดนตรีอเรกิโน นักดาบเอลแคปิตัน) เวลาคณะละคร Commedia dell'arte เดินทางไปยังเมืองต่างๆ ก็จะปรับเนื้อหาไปเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องแต่งงาน สวมเขา หมอยา skit เด็ดๆ แต่ละมุก ถ้าใช้แล้วเวิร์ค ก็จะถูกวนเวียนมาปรับใช้ในละครเรื่องต่างๆ
One-Act Comedies ของโมลิเยมีกลิ่นของ Commedia dell'arte โชยมาอย่างชัดเจน ตัวละครชื่อเดิม (และเข้าใจว่าคงเป็นนักแสดงคนเดิม) สถานการณ์คล้ายๆ เดิม และถ้า skit ไหนเด็ดจริง โมลิเยก็ไม่อายที่จะเอามารีไซเคิลใช้ในงานชิ้นอื่น ตัวอย่างเรื่องที่ตลกที่สุดในเล่มคือ The Forced Marriage ว่าด้วยผู้ชายอายุ 53 ปีที่กำลังจะแต่งงานกับหญิงสาวแสนซนคนหนึ่ง แต่ก็เริ่มไม่มั่นใจขึ้นมาว่าตัวเองตัดสินใจถูกไหม แต่งแล้วจะโดนสวมเขาหรือเปล่า ก็เลยไปปรึกษาเพื่อนสนิท นักปรัชญาสองคน แล้วก็หมอดูยิปซีอีกสองคน (ฉากหมอดูยิปซีนั้นฮามากๆ หมอดูทำนายว่าแต่งงานแล้วจะมีแต่ "เรื่องดีๆ " เช่น "ภรรยาของท่านจะทำให้ท่านเป็นที่กล่าวขวัญไปทั้งเมือง")
แต่ขณะเดียวกัน นอกจากอาการโป๊งชึ่งไปวันๆ One-Act Comedies ก็แสดงให้เห็นความพยายามที่จะสร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมา เช่น การเขียนบทละครตลกในรูปแบบของกวี หรือการทำลายกำแพงที่สี่ (ใน The Rehearsal at Versailles โมลิเยและคณะมานั่งซ้อมละครไป เมาท์กันเองไปอยู่ในพระราชวังแวร์ซาย ก่อนจะต้องแสดงละครต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์) แต่ก็แน่นอนละว่า ถ้าพูดถึงความขำแล้ว ยังไงก็สู้เอาถาดมาฟาดกันไม่ได้
ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยนี้ โมลิเยนี่ก็คือพี่หม่ำ จ๊กมกชัดๆ One-Act Comedies ไม่ใช่ตลกชั้นสูง ตลกชวนคิดอะไรเลย แต่เป็นตลกโป๊งชึ่งดีๆ นี่เอง โมลิเยใช้รูปแบบของ Commedia dell'arte ซึ่งเป็นละครตลกอิตาลี ทุกเรื่องประกอบไปด้วยตัวละครชื่อซ้ำไปซ้ำมา บุคลิกเดิมๆ สี่ห้าตัว (คุณหมอเด็ดโตเร แม่หญิงโคลัมบีน ตัวตลกบันตาโรเน นักดนตรีอเรกิโน นักดาบเอลแคปิตัน) เวลาคณะละคร Commedia dell'arte เดินทางไปยังเมืองต่างๆ ก็จะปรับเนื้อหาไปเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องแต่งงาน สวมเขา หมอยา skit เด็ดๆ แต่ละมุก ถ้าใช้แล้วเวิร์ค ก็จะถูกวนเวียนมาปรับใช้ในละครเรื่องต่างๆ
One-Act Comedies ของโมลิเยมีกลิ่นของ Commedia dell'arte โชยมาอย่างชัดเจน ตัวละครชื่อเดิม (และเข้าใจว่าคงเป็นนักแสดงคนเดิม) สถานการณ์คล้ายๆ เดิม และถ้า skit ไหนเด็ดจริง โมลิเยก็ไม่อายที่จะเอามารีไซเคิลใช้ในงานชิ้นอื่น ตัวอย่างเรื่องที่ตลกที่สุดในเล่มคือ The Forced Marriage ว่าด้วยผู้ชายอายุ 53 ปีที่กำลังจะแต่งงานกับหญิงสาวแสนซนคนหนึ่ง แต่ก็เริ่มไม่มั่นใจขึ้นมาว่าตัวเองตัดสินใจถูกไหม แต่งแล้วจะโดนสวมเขาหรือเปล่า ก็เลยไปปรึกษาเพื่อนสนิท นักปรัชญาสองคน แล้วก็หมอดูยิปซีอีกสองคน (ฉากหมอดูยิปซีนั้นฮามากๆ หมอดูทำนายว่าแต่งงานแล้วจะมีแต่ "เรื่องดีๆ " เช่น "ภรรยาของท่านจะทำให้ท่านเป็นที่กล่าวขวัญไปทั้งเมือง")
แต่ขณะเดียวกัน นอกจากอาการโป๊งชึ่งไปวันๆ One-Act Comedies ก็แสดงให้เห็นความพยายามที่จะสร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมา เช่น การเขียนบทละครตลกในรูปแบบของกวี หรือการทำลายกำแพงที่สี่ (ใน The Rehearsal at Versailles โมลิเยและคณะมานั่งซ้อมละครไป เมาท์กันเองไปอยู่ในพระราชวังแวร์ซาย ก่อนจะต้องแสดงละครต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์) แต่ก็แน่นอนละว่า ถ้าพูดถึงความขำแล้ว ยังไงก็สู้เอาถาดมาฟาดกันไม่ได้
S. Bellow's "Henderson the Rain King"
อ่าน Henderson the Rain King จบ แล้วพยายามอดใจไม่ถามครูเกิ้ลว่า ตกลงเผ่าวาริริที่เบลโลเขียนถึง มันมีอยู่จริงหรือเปล่า เบลโลเขียนนิยายเล่มนี้ด้วยบรรยากาศกึ่งจริงกึ่งฝัน เฮนเดอสันเดินทางบุกป่าฝ่าดงตะลุยทวีปแอฟริกา พร้อมด้วยคนรับใช้ผู้ซื่อสัตย์พูดภาษาอังกฤษติดสำเนียง "ยูซ่า ยูซ่า" แต่พอเข้าไปถึงหมู่บ้านของชนเผ่าพื้นเมืองจริงๆ ดันไปเจอราชาของเผ่าที่พูดภาษาอังกฤษชัดเปรี๊ยะ
แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าชนเผ่าวาริริเป็นเพียงจินตนาการของเบลโล ก็ต้องยกนิ้วให้เลยว่าพวกประเพณี พิธีกรรมที่ปรากฏในหนังสือ อ่านแล้วแนบเนียนสมจริงเอามากๆ เช่น ประเพณีที่แขกผู้มาเยือนเผ่าต้องเล่นมวยปล้ำกับหัวหน้าเผ่า หรือการคัดเลือกตำแหน่งสำคัญในเผ่าด้วยการยกเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ เฮนเดอสันเป็นชาวอเมริกัน ประสบปัญหา Midlife Crisis เลยตัดสินใจทิ้งลูกเมีย เดินทางมาแอฟริกา ด้วยความหวังว่าจะเรียนรู้สัจธรรมของชีวิตจากชนเผ่าพื้นเมือง แต่ไปๆ มาๆ เฮนเดอสันเข้าร่วมพิธีคัดเลือก "ราชาแห่งฝน" ซึ่งเป็นตำแหน่งรองจากราชาของเผ่า และเมื่อผ่านการคัดเลือก เขาก็ได้เข้ามาใกล้ชิดกับราชาแห่งเผ่าวาริริ ผู้ชายที่เฮนเดอสันยกย่อง และเชื่อว่าอีกฝ่ายกุมความลับของชีวิตเอาไว้
ซึ่งก็น่าอยู่หรอก เพราะตามกฏของเผ่าวาริริ ราชาจะขึ้นครองตำแหน่งได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเขาผ่านพิธีสืบทอด ด้วยการจับสิงโตที่เป็นร่างทรงของราชาคนก่อนด้วยมือเปล่า ถ้าพลาดพลั้งขึ้นมา ก็จะถูกสิงโตตะปบตาย แต่ถ้าชักช้าไม่ยอมเข้าร่วมพิธีนี้เสียที ก็จะถูกคนในเผ่าฆ่าทิ้งอยู่ดี ในเมื่อราชาของวาริริใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดกับความตายขนาดนี้ ถ้าจะมีปัญญาอย่างสองอย่างมากกว่าคนทั่วไปก็คงจะไม่แปลก
เสน่ห์ของ Henderson the Rain King คือไม่รู้จะจัดมันเป็นนิยายประเภทไหนดี มันดูเลื่อนไหลผสมผสานหลาย genre เข้าด้วยกัน บางช่วงก็เหมือนจะออกแนว A Connecticut Yankee in King Arthur's court ว่าด้วยคนขาวที่นำเอาความเจริญเข้าไปยังพื้นที่กันดารไกลพื้นเที่ยง แต่บางช่วงก็กลับกันเลย ว่าด้วยคนขาวไปศึกษาความลับของชีวิตจากท้องถิ่นแดนไกล (แต่ที่มันย้อนแย้งมากคือ ไปๆ มาๆ ราชาแห่งเผ่าวาริริเองก็ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก และมีวิธีคิดหลายอย่างเหมือนฝรั่ง) ขณะเดียวกันมันก็มีส่วนผสมของ Don Quixote ด้วย
แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าชนเผ่าวาริริเป็นเพียงจินตนาการของเบลโล ก็ต้องยกนิ้วให้เลยว่าพวกประเพณี พิธีกรรมที่ปรากฏในหนังสือ อ่านแล้วแนบเนียนสมจริงเอามากๆ เช่น ประเพณีที่แขกผู้มาเยือนเผ่าต้องเล่นมวยปล้ำกับหัวหน้าเผ่า หรือการคัดเลือกตำแหน่งสำคัญในเผ่าด้วยการยกเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ เฮนเดอสันเป็นชาวอเมริกัน ประสบปัญหา Midlife Crisis เลยตัดสินใจทิ้งลูกเมีย เดินทางมาแอฟริกา ด้วยความหวังว่าจะเรียนรู้สัจธรรมของชีวิตจากชนเผ่าพื้นเมือง แต่ไปๆ มาๆ เฮนเดอสันเข้าร่วมพิธีคัดเลือก "ราชาแห่งฝน" ซึ่งเป็นตำแหน่งรองจากราชาของเผ่า และเมื่อผ่านการคัดเลือก เขาก็ได้เข้ามาใกล้ชิดกับราชาแห่งเผ่าวาริริ ผู้ชายที่เฮนเดอสันยกย่อง และเชื่อว่าอีกฝ่ายกุมความลับของชีวิตเอาไว้
ซึ่งก็น่าอยู่หรอก เพราะตามกฏของเผ่าวาริริ ราชาจะขึ้นครองตำแหน่งได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเขาผ่านพิธีสืบทอด ด้วยการจับสิงโตที่เป็นร่างทรงของราชาคนก่อนด้วยมือเปล่า ถ้าพลาดพลั้งขึ้นมา ก็จะถูกสิงโตตะปบตาย แต่ถ้าชักช้าไม่ยอมเข้าร่วมพิธีนี้เสียที ก็จะถูกคนในเผ่าฆ่าทิ้งอยู่ดี ในเมื่อราชาของวาริริใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดกับความตายขนาดนี้ ถ้าจะมีปัญญาอย่างสองอย่างมากกว่าคนทั่วไปก็คงจะไม่แปลก
เสน่ห์ของ Henderson the Rain King คือไม่รู้จะจัดมันเป็นนิยายประเภทไหนดี มันดูเลื่อนไหลผสมผสานหลาย genre เข้าด้วยกัน บางช่วงก็เหมือนจะออกแนว A Connecticut Yankee in King Arthur's court ว่าด้วยคนขาวที่นำเอาความเจริญเข้าไปยังพื้นที่กันดารไกลพื้นเที่ยง แต่บางช่วงก็กลับกันเลย ว่าด้วยคนขาวไปศึกษาความลับของชีวิตจากท้องถิ่นแดนไกล (แต่ที่มันย้อนแย้งมากคือ ไปๆ มาๆ ราชาแห่งเผ่าวาริริเองก็ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก และมีวิธีคิดหลายอย่างเหมือนฝรั่ง) ขณะเดียวกันมันก็มีส่วนผสมของ Don Quixote ด้วย
A. C. Bradley's "Shakespearean Tragedy" part 2
แบรดลีเรียงลำดับสี่โศกนาฏกรรมเอกของเชคสเปียร์จากชอบมากสุดไปน้อยสุดได้ดังนี้ Othello, Hamlet, Macbeth, และ King Lear ซึ่งเป็นลำดับที่ตรงข้ามกับเราโดยสิ้นเชิง สั้นๆ เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมสี่เรื่องนี้คือ เราเทินทูน King Lear เอ็นดู Macbeth ผูกพันกับ Hamlet และโคตรเบื่อ Othello เลย
จะไม่ให้ผูกพันกับเจ้าชายแห่งเดนมาร์กได้อย่างไร แฮมเลต ว่ากันโดยเนื้อผ้าแล้วก็คือ เด็กหนุ่มปัญญาชน ฉลาดล้ำจนเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ล้มเหลวกับหน้าที่ของตัวเอง โลกของ Hamlet พระราชวังเดนมาร์ก เต็มไปด้วยสิ่งเน่าเสีย และแฮมเลตคือคนนอกที่แหวกว่ายอยู่ท่ามกลางปฏิกูลเหล่านี้ ไม่ยากเลยที่มนุษย์สมัยใหม่จะรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับตัวละครดังกล่าว (และนี่เป็นสาเหตุที่ไม่ว่านักวิจารณ์จะพูดยังไง เราก็ยังนิยมฉบับอีธาน ฮอว์กไม่เสื่อมคลาย)
Othello ตรงข้ามกับแฮมเลตโดยสิ้นเชิง อิยาโกเป็นบุคลาธิษฐานแห่งความชั่วร้าย ท่ามกลางตัวละครที่ไม่มีใครเป็นผู้ร้ายจริงๆ จังๆ เทียบกับอีกสามเรื่อง มันมีลำดับการเล่าที่ไม่ค่อยสะสวยนัก แบรดลีเองก็ยอมรับตรงนี้ แต่เขาพยายามแก้ต่างให้บทละครโปรดโดยอ้างว่า Othello ไม่ใช่โศกนาฏกรรมของโอเทลโล แต่เป็นของอิยาโกด้วยต่างหาก
King Lear น่าจะติดเป็นเชคสเปียร์ที่เราชอบที่สุด King Lear ไม่ใช่ทั้ง Hamlet และ Othello เพราะหนนี้ความดีงามและความชั่วร้ายยกขโยงมากันเป็นกองทัพ มองให้ง่ายที่สุด King Lear ก็คือการปะทะกันระหว่างความดีงามและความชั่วร้าย ซึ่งสถิตอยู่ในตัวละครฝั่งละสี่ห้าตัว แบรดลีให้เหตุผลที่ชอบเรื่องนี้น้อยสุดว่า มันสมควรถูกเขียนและอ่านเป็นนิยาย มากกว่าจะขึ้นแสดงบนเวที น่าแปลกที่จนถึงศตวรรษที่ 19 แม้นักวิจารณ์จะยกย่อง King Lear ให้เป็นผลงานชิ้นเอกของเชคสเปียร์ แต่น้อยคนนักจะกล้าหยิบมันขึ้นมาเล่น
ชั่วชีวิตนี้เคยดู Macbeth ประมาณห้า productions ไม่รู้บังเอิญหรืออย่างไร สองในห้าจงใจทำออกมาเป็นละครชวนหัว และอีกสาม productions ที่เหลือ ก็อดไม่ได้จะแฝงนัยยะความขบขันบางอย่าง แน่นอนว่าคู่สามีภรรยาแมคเบธไม่ใช่ตัวดี แต่เว้นผู้หญิงและเด็กเสีย สกอตแลนด์ในละครก็ดูเทาๆ หม่นๆ ไม่ค่อยมีใครดีอีกเหมือนกัน แบรดลีไม่ได้มอง Macbeth เป็นละครชวนหัว แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธว่าละครเรื่องนี้เต็มไปด้วยบทพูดและสถานการณ์อันย้อนแย้ง ซึ่งถ้านักแสดงพลิกลิ้นดีๆ ก็จะเรียกเสียงหัวเราะได้ไม่ยาก
จะไม่ให้ผูกพันกับเจ้าชายแห่งเดนมาร์กได้อย่างไร แฮมเลต ว่ากันโดยเนื้อผ้าแล้วก็คือ เด็กหนุ่มปัญญาชน ฉลาดล้ำจนเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ล้มเหลวกับหน้าที่ของตัวเอง โลกของ Hamlet พระราชวังเดนมาร์ก เต็มไปด้วยสิ่งเน่าเสีย และแฮมเลตคือคนนอกที่แหวกว่ายอยู่ท่ามกลางปฏิกูลเหล่านี้ ไม่ยากเลยที่มนุษย์สมัยใหม่จะรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับตัวละครดังกล่าว (และนี่เป็นสาเหตุที่ไม่ว่านักวิจารณ์จะพูดยังไง เราก็ยังนิยมฉบับอีธาน ฮอว์กไม่เสื่อมคลาย)
Othello ตรงข้ามกับแฮมเลตโดยสิ้นเชิง อิยาโกเป็นบุคลาธิษฐานแห่งความชั่วร้าย ท่ามกลางตัวละครที่ไม่มีใครเป็นผู้ร้ายจริงๆ จังๆ เทียบกับอีกสามเรื่อง มันมีลำดับการเล่าที่ไม่ค่อยสะสวยนัก แบรดลีเองก็ยอมรับตรงนี้ แต่เขาพยายามแก้ต่างให้บทละครโปรดโดยอ้างว่า Othello ไม่ใช่โศกนาฏกรรมของโอเทลโล แต่เป็นของอิยาโกด้วยต่างหาก
King Lear น่าจะติดเป็นเชคสเปียร์ที่เราชอบที่สุด King Lear ไม่ใช่ทั้ง Hamlet และ Othello เพราะหนนี้ความดีงามและความชั่วร้ายยกขโยงมากันเป็นกองทัพ มองให้ง่ายที่สุด King Lear ก็คือการปะทะกันระหว่างความดีงามและความชั่วร้าย ซึ่งสถิตอยู่ในตัวละครฝั่งละสี่ห้าตัว แบรดลีให้เหตุผลที่ชอบเรื่องนี้น้อยสุดว่า มันสมควรถูกเขียนและอ่านเป็นนิยาย มากกว่าจะขึ้นแสดงบนเวที น่าแปลกที่จนถึงศตวรรษที่ 19 แม้นักวิจารณ์จะยกย่อง King Lear ให้เป็นผลงานชิ้นเอกของเชคสเปียร์ แต่น้อยคนนักจะกล้าหยิบมันขึ้นมาเล่น
ชั่วชีวิตนี้เคยดู Macbeth ประมาณห้า productions ไม่รู้บังเอิญหรืออย่างไร สองในห้าจงใจทำออกมาเป็นละครชวนหัว และอีกสาม productions ที่เหลือ ก็อดไม่ได้จะแฝงนัยยะความขบขันบางอย่าง แน่นอนว่าคู่สามีภรรยาแมคเบธไม่ใช่ตัวดี แต่เว้นผู้หญิงและเด็กเสีย สกอตแลนด์ในละครก็ดูเทาๆ หม่นๆ ไม่ค่อยมีใครดีอีกเหมือนกัน แบรดลีไม่ได้มอง Macbeth เป็นละครชวนหัว แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธว่าละครเรื่องนี้เต็มไปด้วยบทพูดและสถานการณ์อันย้อนแย้ง ซึ่งถ้านักแสดงพลิกลิ้นดีๆ ก็จะเรียกเสียงหัวเราะได้ไม่ยาก
A. C. Bradley's "Shakespearean Tragedy" part 1
เคยคุยเล่นๆ กับผู้กำกับถึงข้อแตกต่างระหว่างนักวิจารณ์เพียวๆ และนักวิจารณ์ที่เป็นศิลปิน ฝ่ายหลังจะให้เกียรติ text (ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ภาพวาด หรือภาพยนตร์) มากกว่าฝ่ายแรก พวกเขาถือว่า text ที่ศิลปินให้มาคือที่สุดแล้ว และหน้าที่ของนักวิจารณ์คือการปลุกปล้ำเอาบางสิ่งบางอย่างออกมาจาก text ให้ได้ (ดังนั้นจุดอ่อนของนักวิจารณ์แนวนี้คือการท้าทาย text เราจะฟันธงได้ยังไงว่า text มัน "ไม่ดี" โดยไม่ยึดอคติเราเป็นที่ตั้ง)
ในทางตรงกันข้าม นักวิจารณ์ที่เป็นศิลปิน นอกจากจะไม่ค่อยให้เกียรติ text แล้ว ยังแอบซนกับ text เป็นนิสัย โดยการฝึกฝน สิ่งที่พวกเราทำเป็นประจำก็คือการวิจารณ์งานตัวเองนี่แหละ วิจารณ์เพื่อจะได้เปลี่ยนแปลงตรงนู้นตรงนี้ ดังนั้น text จึงไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ คำถามที่เราถามตัวเองไม่ว่าจะอ่าน ชม เพ่ง หรือแดก text ของคนอื่นคือ "จะต้องเปลี่ยนตรงไหน ผลงานชิ้นนี้ถึงจะสมบูรณ์ขึ้น"
เอาเข้าจริง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักวิจารณ์กลุ่มหลังก็เหมือนจะค่อยๆ ลดน้อยหายลงไปทุกที ตั้งแต่มีทฤษฎีอะไรต่อมิอะไรออกมามากมาย นักวิจารณ์ก็เหมือนจะมีของเล่น มาใช้ทดลองปลุกปล้ำ text อย่างสนุกมือ ดังนั้นไม่ค่อยเกี่ยวแล้วว่านักวิจารณ์จะควบตำแหน่งศิลปินไปด้วยหรือไม่ การวิจารณ์แนวหลังไม่ค่อยปรากฏให้เห็น
แบรดลีเป็นนักวิจารณ์จากศตวรรษที่ 19 เป็นเพียงนักวิจารณ์ไม่กี่คนจากยุคนั้นที่ยังคงหลงเหลือผลงานคลาสสิคมาให้เราอ่าน สมัยที่แบรดลีเขียนและบรรยาย Shakespearean Tragedy ยังไม่มีทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โครงสร้างนิยม หรือมาร์กซิสสายสังคมศาสตร์ ขณะที่ฟรอยด์ (และนักปรัชญายุคถัดๆ มา) ถามว่าทำไมแฮมเลตถึงไม่ยอมฆ่าลุง ศัตรูคู่แค้นของเขาทั้งที่มีโอกาสใน Act III แบรดลีถามคำถามที่เจ๋งกว่านั้นอีก ทำไมการที่เชคสเปียร์เขียนให้แฮมเลตไม่ยอมฆ่า ถึงทำให้บทละครแฮมเลต "สนุก" ขึ้น
ง่ายๆ สำหรับแบรดลี (และนักวิจารณ์ในยุคนั้น) บทละครก็คือบทละคร คุณค่าที่สำคัญที่สุดของมันคือความ "สนุก" การวิจารณ์วรรณกรรมของแบรดลีกลับมาสู่คำถามพื้นฐาน (ที่อาจจะสำคัญที่สุดเลยก็ได้) "ทำยังไงให้ text มันสนุก"
ในทางตรงกันข้าม นักวิจารณ์ที่เป็นศิลปิน นอกจากจะไม่ค่อยให้เกียรติ text แล้ว ยังแอบซนกับ text เป็นนิสัย โดยการฝึกฝน สิ่งที่พวกเราทำเป็นประจำก็คือการวิจารณ์งานตัวเองนี่แหละ วิจารณ์เพื่อจะได้เปลี่ยนแปลงตรงนู้นตรงนี้ ดังนั้น text จึงไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ คำถามที่เราถามตัวเองไม่ว่าจะอ่าน ชม เพ่ง หรือแดก text ของคนอื่นคือ "จะต้องเปลี่ยนตรงไหน ผลงานชิ้นนี้ถึงจะสมบูรณ์ขึ้น"
เอาเข้าจริง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักวิจารณ์กลุ่มหลังก็เหมือนจะค่อยๆ ลดน้อยหายลงไปทุกที ตั้งแต่มีทฤษฎีอะไรต่อมิอะไรออกมามากมาย นักวิจารณ์ก็เหมือนจะมีของเล่น มาใช้ทดลองปลุกปล้ำ text อย่างสนุกมือ ดังนั้นไม่ค่อยเกี่ยวแล้วว่านักวิจารณ์จะควบตำแหน่งศิลปินไปด้วยหรือไม่ การวิจารณ์แนวหลังไม่ค่อยปรากฏให้เห็น
แบรดลีเป็นนักวิจารณ์จากศตวรรษที่ 19 เป็นเพียงนักวิจารณ์ไม่กี่คนจากยุคนั้นที่ยังคงหลงเหลือผลงานคลาสสิคมาให้เราอ่าน สมัยที่แบรดลีเขียนและบรรยาย Shakespearean Tragedy ยังไม่มีทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โครงสร้างนิยม หรือมาร์กซิสสายสังคมศาสตร์ ขณะที่ฟรอยด์ (และนักปรัชญายุคถัดๆ มา) ถามว่าทำไมแฮมเลตถึงไม่ยอมฆ่าลุง ศัตรูคู่แค้นของเขาทั้งที่มีโอกาสใน Act III แบรดลีถามคำถามที่เจ๋งกว่านั้นอีก ทำไมการที่เชคสเปียร์เขียนให้แฮมเลตไม่ยอมฆ่า ถึงทำให้บทละครแฮมเลต "สนุก" ขึ้น
ง่ายๆ สำหรับแบรดลี (และนักวิจารณ์ในยุคนั้น) บทละครก็คือบทละคร คุณค่าที่สำคัญที่สุดของมันคือความ "สนุก" การวิจารณ์วรรณกรรมของแบรดลีกลับมาสู่คำถามพื้นฐาน (ที่อาจจะสำคัญที่สุดเลยก็ได้) "ทำยังไงให้ text มันสนุก"
สถานีรักชวนหัวใน facebook!!!
ฮัลโหล หนึ่ง สอง สาม...ฮัลโหล หนึ่ง สอง สาม...ทุกคนได้ยินมี่ชัดเจนนะคะ...มีใครไม่ได้ยินไหม ใครไม่ได้ยินยกมือขึ้น...โอเค เมื่อได้ยินทุกคนแล้ว มี่มีเรื่องสำคัญจะประกาศค่ะ ขณะนี้บลอครักชวนหัวมี สถานี (page) ในเฟสบุ๊คแล้วนะคะ เป้าหมายก็คือเพื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้มาคอมเมนต์ ถกเถียงกันอย่างสะดวกมากขึ้น และเป็นการแจ้งให้ทราบด้วย เมื่อมีบทบันทึก (ไม่ใช่วิจารณ์) ใหม่ๆ
บ้านหลักของรักชวนหัวหลังนี้ก็ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ เพียงแต่เพิ่มสถานีขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบายสำหรับทุกท่าน แล้วเจอกันในเฟสบุ๊คนะคะ
บ้านหลักของรักชวนหัวหลังนี้ก็ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ เพียงแต่เพิ่มสถานีขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบายสำหรับทุกท่าน แล้วเจอกันในเฟสบุ๊คนะคะ
H. Pinter's "The Caretaker/The Homecoming"
ชอบมากทั้งสองเรื่องเลย พินเตอร์ท่าจะชอบการเมือง และการแย่งชิงอำนาจเอามากๆ แต่อำนาจในที่นี้ไม่ใช่อะไรยิ่งใหญ่อย่างอำนาจในการบริหารประเทศ หรืออำนาจเงินตราเลย ในทางตรงกันข้าม เสน่ห์ของบทละครพินเตอร์คือมันว่าด้วยการเมือง และการแย่งชิงอำนาจ ในหมู่ผู้ที่แทบจะไม่มีอำนาจอะไรเลยตั้งแต่แรก
ระหว่างสองเรื่องนี้ชอบ The Caretaker มากกว่า เดวีส์ก้าวเข้ามาในชีวิตของสองพี่น้อง มิก และแอสตัน แอสตันสติไม่ดี เพราะเคยถูกส่งเข้าโรงพยาบาลบ้า และโดน "รักษา" ด้วยการใช้ไฟฟ้าช็อตสมอง ส่วนมิก ผิวเผินแล้วเหมือนจะเก่งกล้าสามารถ แต่เอาเข้าจริงก็ได้แต่ฝันเฟื่องไปวันๆ เดวีส์เป็นชายจรจัดที่แอสตันช่วยชีวิตเอาไว้ จากการโดนรุมซ้อม
The Caretaker ว่าด้วย power play การงัดข้อของอำนาจระหว่างมิกและแอสตัน ผ่านเดวีส์ผู้เป็นสื่อกลาง ในสายตาผู้ชม ชัดเจนว่าแอสตันเป็นกัลยาณมิตรของเดวีส์ แต่จนแล้วจนรอด มนุษย์เราก็มักจะถูกดึงดูดด้วยพลังอำนาจ ไม่ว่ามันจะดุดัน ร้ายกาจสักแค่ไหน สุดท้ายแล้ว เราเองนี่แหละที่เผาสะพาน ทำลายสิ่งสำคัญที่สุดไป พินเตอร์สร้างตัวละครเดวีส์ให้ออกมาเป็นมนุษย์ได้อย่างงดงาม ทั้งน่ารังเกียจ และน่าสมเพช ไปพร้อมๆ กัน
The Homecoming มีประเด็นเรื่องอำนาจทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บทละครแนวแปลกวิถี ว่าด้วยเรื่องของลูกชายที่ประสบความสำเร็จในชีวิต พาภรรยากลับไปเจอพ่อ ลุง และน้องชายอีกสองคนในสลัมป์ เราเห็นสองครอบครัวค่อยๆ แตกสลายด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน ผ่านผู้หญิงคนเดียว อำนาจที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ และอะไรที่เป็นต้นกำเนิดของอำนาจ
ระหว่างสองเรื่องนี้ชอบ The Caretaker มากกว่า เดวีส์ก้าวเข้ามาในชีวิตของสองพี่น้อง มิก และแอสตัน แอสตันสติไม่ดี เพราะเคยถูกส่งเข้าโรงพยาบาลบ้า และโดน "รักษา" ด้วยการใช้ไฟฟ้าช็อตสมอง ส่วนมิก ผิวเผินแล้วเหมือนจะเก่งกล้าสามารถ แต่เอาเข้าจริงก็ได้แต่ฝันเฟื่องไปวันๆ เดวีส์เป็นชายจรจัดที่แอสตันช่วยชีวิตเอาไว้ จากการโดนรุมซ้อม
The Caretaker ว่าด้วย power play การงัดข้อของอำนาจระหว่างมิกและแอสตัน ผ่านเดวีส์ผู้เป็นสื่อกลาง ในสายตาผู้ชม ชัดเจนว่าแอสตันเป็นกัลยาณมิตรของเดวีส์ แต่จนแล้วจนรอด มนุษย์เราก็มักจะถูกดึงดูดด้วยพลังอำนาจ ไม่ว่ามันจะดุดัน ร้ายกาจสักแค่ไหน สุดท้ายแล้ว เราเองนี่แหละที่เผาสะพาน ทำลายสิ่งสำคัญที่สุดไป พินเตอร์สร้างตัวละครเดวีส์ให้ออกมาเป็นมนุษย์ได้อย่างงดงาม ทั้งน่ารังเกียจ และน่าสมเพช ไปพร้อมๆ กัน
The Homecoming มีประเด็นเรื่องอำนาจทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บทละครแนวแปลกวิถี ว่าด้วยเรื่องของลูกชายที่ประสบความสำเร็จในชีวิต พาภรรยากลับไปเจอพ่อ ลุง และน้องชายอีกสองคนในสลัมป์ เราเห็นสองครอบครัวค่อยๆ แตกสลายด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน ผ่านผู้หญิงคนเดียว อำนาจที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ และอะไรที่เป็นต้นกำเนิดของอำนาจ
S. Schiff's "Cleopatra"
ในประวัติศาสตร์มีประวัติศาสตร์อยู่ พอพูดถึงคลีโอพัตรา เราก็จะนึกถึงราชินีอียิปต์คนสุดท้าย ผู้มีเกิดและตายก่อนพระเยซู นึกถึงอียิปต์โบราณ นึกถึงปิรามิด ทั้งที่จริงๆ ในยุคสมัยของคลีโอพัตรา ปิรามิดที่สร้างไว้ตั้งแต่พันกว่าปีที่แล้ว ก็กลายเป็นโบราณสถานไปเรียบร้อยแล้ว ตอนที่ราชินีอียิปต์พาคนรักคนแรกของเธอ จูเลียส ซีซาชมปิรามิด ความรู้สึกก็คงไม่ต่างจากนักท่องเที่ยวสมัยนี้ที่ล่องเรือไปตามแม่น้ำไนล์เท่าไหร่ (นอกจากนี้ฐานที่มั่นของเธอคือเมืองอเลกซานเดรีย ซึ่งเป็นเป็นเมืองหลวงของโรมันในอียิปต์ ตัวคลีโอพัตราจริงๆ ก็ไม่ได้มีเชื้อสายอียิปต์ใดๆ ถ้าโควตชิฟฟ์ก็คือ "คลีโอพัตราเป็นสาวอียิปต์พอๆ กับอลิซาเบธ เทเลอร์")
เท่าๆ กับที่ Cleopatra เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของคลีโอพัตรา ยังเป็นเรื่องราวของ "ประวัติศาสตร์" ของคลีโอพัตราและ เป็นเรื่องราวของ "ประวัติศาสตร์" ส่วนที่เกี่ยวกับคลีโอพัตราอีกต่างหาก คลีโอพัตราสืบเชื้อสายราชวงศ์พโตเลมี ที่เข้ายึดครองอียิปต์ภายหลังพระเจ้าอเลกซานเดอร์ถอยทัพออกไป สามร้อยปีก่อนหน้านั้น ราชวงศ์พโตเลมีทุกพระองค์ รวมไปถึงคลีโอพัตราเองพยายามใช้ประโยชน์จาก "ตำนาน" อเลกซานเดอร์ รวมไปถึงตำนานที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น เทพเจ้าไอซิสเพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองของตัวเอง
คลีโอพัตราโชคร้ายมากที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ที่บันทึกเรื่องราวของเธอ ล้วนเขียนจากมุมมองของคนที่ต่อต้านตัวเธอ ชิฟฟ์อธิบายว่าเปรียบเทียบเทียบระหว่างอียิปต์และโรมันในยุคนั้น ก็เหมือนระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ชาวโรมันรู้สึกเหมือนความเป็นชายของตัวเองถูกท้าทายโดยอียิปต์ที่มั่งคั่งกว่า และปกครองโดยราชินีผู้ชาญฉลาดพอๆ กับ statesman ของตน บันทึกประวัติศาสตร์ในยุคหลังๆ ก็เลยบิดเลือนภาพลักษณ์ของคลีโอพัตราให้เหลือเพียงเรื่องเพศ และกามารมณ์แทน
สองพันปีนับจากนั้น มุมมองแบบอาณานิคมที่ชาติตะวันตกหันมองมายังโอเรียน ก็ยังคงได้รับอิทธิพล และมีส่วนคล้ายคลึงอยู่ไม่น้อยกับความสัมพันธ์ระหว่างโรมและอเลนซานเดรียในสมัยของคลีโอพัตรา
เท่าๆ กับที่ Cleopatra เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของคลีโอพัตรา ยังเป็นเรื่องราวของ "ประวัติศาสตร์" ของคลีโอพัตราและ เป็นเรื่องราวของ "ประวัติศาสตร์" ส่วนที่เกี่ยวกับคลีโอพัตราอีกต่างหาก คลีโอพัตราสืบเชื้อสายราชวงศ์พโตเลมี ที่เข้ายึดครองอียิปต์ภายหลังพระเจ้าอเลกซานเดอร์ถอยทัพออกไป สามร้อยปีก่อนหน้านั้น ราชวงศ์พโตเลมีทุกพระองค์ รวมไปถึงคลีโอพัตราเองพยายามใช้ประโยชน์จาก "ตำนาน" อเลกซานเดอร์ รวมไปถึงตำนานที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น เทพเจ้าไอซิสเพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองของตัวเอง
คลีโอพัตราโชคร้ายมากที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ที่บันทึกเรื่องราวของเธอ ล้วนเขียนจากมุมมองของคนที่ต่อต้านตัวเธอ ชิฟฟ์อธิบายว่าเปรียบเทียบเทียบระหว่างอียิปต์และโรมันในยุคนั้น ก็เหมือนระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ชาวโรมันรู้สึกเหมือนความเป็นชายของตัวเองถูกท้าทายโดยอียิปต์ที่มั่งคั่งกว่า และปกครองโดยราชินีผู้ชาญฉลาดพอๆ กับ statesman ของตน บันทึกประวัติศาสตร์ในยุคหลังๆ ก็เลยบิดเลือนภาพลักษณ์ของคลีโอพัตราให้เหลือเพียงเรื่องเพศ และกามารมณ์แทน
สองพันปีนับจากนั้น มุมมองแบบอาณานิคมที่ชาติตะวันตกหันมองมายังโอเรียน ก็ยังคงได้รับอิทธิพล และมีส่วนคล้ายคลึงอยู่ไม่น้อยกับความสัมพันธ์ระหว่างโรมและอเลนซานเดรียในสมัยของคลีโอพัตรา
J. Ferguson's "The Anti-Politics Machine"
มีหลายบทเรียนจากกรณีศึกษาความล้มเหลวของการพัฒนาทางเศรษฐกิจในเลโซโท หยิบยกมาประเด็นหนึ่งที่น่าขบคิด และดูเกี่ยวพันกับบ้านเราคือ แนวโน้มของพัฒนากร ทั้งกลุ่มเอนจีโอและจากธนาคารโลก ที่จะแบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเป็นสองจำพวก คือตามวิถีตลาดสมัยใหม่ และแบบดั้งเดิม ในเลโซโท คนชอบเลี้ยงวัวกันมาก วัวเป็นมากกว่าสัตว์เศรษฐกิจ แต่ยังเป็นเครื่องบ่งบอกสถานภาพ และมีความสำคัญในแง่วัฒนธรรม ความพยายามที่จะผันวัวเข้ามาสู่ระบบตลาด (ชักชวนให้ชาวเลโซโทเลี้ยงวัวเพื่อขาย) จึงประสบความล้มเหลว เพราะชาวบ้านไม่ยอมขายวัวกัน
การมองเศรษฐศาสตร์แบบทวิภาคเช่นนี้ นำไปสู่ Dilemma ว่าเราควรจะปรับตัวตามแนวเศรษฐกิจโลก หรือเลี้ยงวัวกันอย่างพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน เฟอร์กูสันชี้ให้เห็นว่า อันที่จริง ทางเลือกแบบนี้เกิดมาจากการที่พัฒนากรยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมเลโซโทดีพอ วิถีตลาดไม่ได้แบ่งแยกจากวิถีชาวบ้าน ชาวเลโซโทรู้จักตลาด รู้จักการค้าวัวมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 The Anti-Politics Machine อธิบายว่า วิธีชาวบ้านแท้จริงตอบสนองตรรกะของตลาดอยู่ในที คนเลโซโทไม่ได้มองว่าวัวเป็นสัตว์เทพเจ้าที่ห้ามซื้อขาย แต่เขามองวัวเป็นกองทุนเกษียณอายุต่างหาก และภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง คนเลโซโทพร้อมยินยอมที่จะขายวัว (เช่น ผู้หญิงมีแนวโน้มอยากขายวัวมากกว่าผู้ชาย คนรุ่นใหม่มากกว่าคนรุ่นเก่า ทั้งหมดนี้เป็นไปตามตรรกะทุนนิยมเวอร์ชั่นเลโซโท)
ตลาดไม่ได้เป็นศัตรูกับวิถีท้องถิ่น ตลาดเป็นส่วนหนึ่งของวิถีท้องถิ่นมาแต่ช้านาน และวาทกรรมการพัฒนาใดๆ ก็ตามที่ไม่ตระหนักความจริงข้อนี้ ย่อมประสบความล้มเหลว
การมองเศรษฐศาสตร์แบบทวิภาคเช่นนี้ นำไปสู่ Dilemma ว่าเราควรจะปรับตัวตามแนวเศรษฐกิจโลก หรือเลี้ยงวัวกันอย่างพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน เฟอร์กูสันชี้ให้เห็นว่า อันที่จริง ทางเลือกแบบนี้เกิดมาจากการที่พัฒนากรยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมเลโซโทดีพอ วิถีตลาดไม่ได้แบ่งแยกจากวิถีชาวบ้าน ชาวเลโซโทรู้จักตลาด รู้จักการค้าวัวมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 The Anti-Politics Machine อธิบายว่า วิธีชาวบ้านแท้จริงตอบสนองตรรกะของตลาดอยู่ในที คนเลโซโทไม่ได้มองว่าวัวเป็นสัตว์เทพเจ้าที่ห้ามซื้อขาย แต่เขามองวัวเป็นกองทุนเกษียณอายุต่างหาก และภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง คนเลโซโทพร้อมยินยอมที่จะขายวัว (เช่น ผู้หญิงมีแนวโน้มอยากขายวัวมากกว่าผู้ชาย คนรุ่นใหม่มากกว่าคนรุ่นเก่า ทั้งหมดนี้เป็นไปตามตรรกะทุนนิยมเวอร์ชั่นเลโซโท)
ตลาดไม่ได้เป็นศัตรูกับวิถีท้องถิ่น ตลาดเป็นส่วนหนึ่งของวิถีท้องถิ่นมาแต่ช้านาน และวาทกรรมการพัฒนาใดๆ ก็ตามที่ไม่ตระหนักความจริงข้อนี้ ย่อมประสบความล้มเหลว
G. Greene's "Our Man in Havana"
รู้สึกดีจัง เวลาอ่านนิยายเล่มที่ยี่สิบกว่าๆ ของนักเขียนที่เราชื่นชอบ แล้วพบว่า นอกจากจะยังไม่เบื่อแล้ว นักเขียนคนนั้นยังมีไม้ตายก้นหีบ ขุดออกมาให้เราได้ตื่นเต้นอยู่อีก
Our Man in Havana ไม่เหมือนนิยายเล่มใดๆ ของกรีนที่เราเคยอ่านเลย ตรงที่มันฮามากๆ จริงอยู่ที่อารมณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งในงานเขียนแทบทุกชิ้นของกรีน แต่ถึงขนาดนิยายที่ทำให้เราอ่านไป หัวเราะไปได้ทั้งเล่มนี่ก็ไม่คาดคิดเหมือนกัน Our Man in Havana เป็นนิยาย sub-genre ที่เราอยากเรียกเล่นๆ ว่า นิยาย "โกหกกลายเป็นจริง" ก็สมชื่อนั่นแหละ ตัวเอกของนิยาย เป็นสายลับที่แต่งเรื่องเท็จขึ้นมารายการให้หน่วยเหนือ แต่ไปๆ มาๆ สุดท้ายเรื่องเท็จก็กลับกลายเป็นจริง (ตัวอย่างของนิยายแนวนี้ได้แก่ >The Tailor of Panama และ Foucault's Pendulum)
เรื่องแนวนี้มักถูกจริตนักเขียน ก็ใครเล่าจะอดคิดเล่นๆ ไม่ได้ว่าถ้าเรื่องแต่งของตัวเองกลายเป็นจริงขึ้นมา มันจะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ดี นิยายแนวนี้ก็เป็นกับดักกลายๆ เหมือนกัน เพราะถ้าคำอธิบายว่าทำไมเท็จกลายเป็นจริง จริงกลายเป็นเท็จ มันไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ก็จะกลายเป็นนิยายที่ขุดหลุมฝังศพตัวเอง กรีนใช้บรรยากาศสงครามเย็น และกลไกสายลับเพื่อขับเคลื่อนพลอตตรงนี้ได้อย่างสวยงาม บวกกับอารมณ์ขันเข้าไปแล้ว Our Man in Havana ถือเป็นนิยายโปรดอันดับต้นๆ ของกรีนเท่าที่เราเคยอ่านมาเลย
Our Man in Havana ไม่เหมือนนิยายเล่มใดๆ ของกรีนที่เราเคยอ่านเลย ตรงที่มันฮามากๆ จริงอยู่ที่อารมณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งในงานเขียนแทบทุกชิ้นของกรีน แต่ถึงขนาดนิยายที่ทำให้เราอ่านไป หัวเราะไปได้ทั้งเล่มนี่ก็ไม่คาดคิดเหมือนกัน Our Man in Havana เป็นนิยาย sub-genre ที่เราอยากเรียกเล่นๆ ว่า นิยาย "โกหกกลายเป็นจริง" ก็สมชื่อนั่นแหละ ตัวเอกของนิยาย เป็นสายลับที่แต่งเรื่องเท็จขึ้นมารายการให้หน่วยเหนือ แต่ไปๆ มาๆ สุดท้ายเรื่องเท็จก็กลับกลายเป็นจริง (ตัวอย่างของนิยายแนวนี้ได้แก่ >The Tailor of Panama และ Foucault's Pendulum)
เรื่องแนวนี้มักถูกจริตนักเขียน ก็ใครเล่าจะอดคิดเล่นๆ ไม่ได้ว่าถ้าเรื่องแต่งของตัวเองกลายเป็นจริงขึ้นมา มันจะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ดี นิยายแนวนี้ก็เป็นกับดักกลายๆ เหมือนกัน เพราะถ้าคำอธิบายว่าทำไมเท็จกลายเป็นจริง จริงกลายเป็นเท็จ มันไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ก็จะกลายเป็นนิยายที่ขุดหลุมฝังศพตัวเอง กรีนใช้บรรยากาศสงครามเย็น และกลไกสายลับเพื่อขับเคลื่อนพลอตตรงนี้ได้อย่างสวยงาม บวกกับอารมณ์ขันเข้าไปแล้ว Our Man in Havana ถือเป็นนิยายโปรดอันดับต้นๆ ของกรีนเท่าที่เราเคยอ่านมาเลย
M. Allingham's "Cargo of Eagles"
ไม่ค่อยตั้งความหวังอะไรนักเวลาหยิบนิยายสืบสวนสอบสวนขึ้นมาอ่าน ถึงจะปวารณาตนเป็นแฟนหนังสือแนวนี้ก็ตาม แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะผิดหวังเสียมากกว่า อัลลิงแฮมได้รับการกล่าวขานว่า "นอกจากจะเขียนนิยายนักสืบดีแล้ว ยังเขียนนิยายดีอีก" ก็ไม่รู้ว่า "นิยายดี" มันเป็นยังไง อ่าน Cargo of Eagles จบ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนิยายดี (แบบที่ The Name of the Rose เป็นนิยายดี) ตัวละครแบนๆ เนื้อเรื่องก็ไม่ได้มีความซับซ้อนทางจิตวิทยาอันใด ในแง่ปมปริศนา ออกจะรู้สึกด้วยซ้ำว่าไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย และไม่ได้น่าสนใจเท่าไหร่นัก
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่อ่าน ก็ยอมรับว่าหนังสือเล่มนี้สนุกใช้ได้ จุดเด่นสุดก็น่าจะอยู่ตรงฉาก ผู้เขียนให้ความสำคัญกับหมู่บ้านเล็กอันเป็นที่เกิดเหตุคดีฆาตกรรม มากยิ่งกว่าตัวละคร อัลลิงแฮมนำเสนอบรรยากาศผ่านบทสนทนาแทบจะล้วนๆ ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน ถ้าเธอเป็นนักเขียนที่เจนจัดกับการใช้ภาษามากกว่านี้ และเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ค้นเกร็ดนู่นนี่มาให้เราขบคิด Cargo of Eagles น่าจะลงเอยเป็นนิยายที่ดีกว่านี้ได้มาก
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่อ่าน ก็ยอมรับว่าหนังสือเล่มนี้สนุกใช้ได้ จุดเด่นสุดก็น่าจะอยู่ตรงฉาก ผู้เขียนให้ความสำคัญกับหมู่บ้านเล็กอันเป็นที่เกิดเหตุคดีฆาตกรรม มากยิ่งกว่าตัวละคร อัลลิงแฮมนำเสนอบรรยากาศผ่านบทสนทนาแทบจะล้วนๆ ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน ถ้าเธอเป็นนักเขียนที่เจนจัดกับการใช้ภาษามากกว่านี้ และเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ค้นเกร็ดนู่นนี่มาให้เราขบคิด Cargo of Eagles น่าจะลงเอยเป็นนิยายที่ดีกว่านี้ได้มาก
สารบัญสารคดี
Political Science
C. Schmitt's "Political Theology" & "The Concept of the Political"
J. Rawls's "A Theory of Justice" (part 1)
J. Rawls's "A Theory of Justice" (2)
A. Rand's "Return of the Primitive"
S. Prickett's "Narrative, religion, and science"
C. Mouffe's "The return of the political"
G. Lukacs's "History and Class Consciousness"
K. Marx & F. Engels's "The German Ideology"
Louis Althusser's "Lenin and Philosophy and Other Essays"
L. Althusser's "For Marx"
L. Althusser's "For Marx" *
Hannah Arendt's "On Revolution"
M. Berman's "All That is Solid Melts into Air"
N. Bobbio's "Liberalism and Democracy"
G. Debord's "The Society of the Spectacle"
G. Debord's "The Society of the Spectacle" *
F. Fukuyama's "The End of History and the Last Man"
F. Jameson's "The Hegel Variations"
F. Jameson's "The Political Unconscious"
R. Williams's "Culture and Materialism"
R. Williams's "Marxism and Literature"
R. Williams's "Marxism and Literature" *
S. Zizek's "The Metastases of Enjoyment"
S. Zizek's "The Obscure Object of Ideology" *
S. Zizek's "Living in the End Times"
Social Science
P. Zimbardo's "The Lucifer Effect"
E. K. Sedgwick's "Epistemology of the Closet"
M. Peleggi's "The Politics of Ruins and the Business of Nostalgia"
A. Moravia's "Man as an End"
R. R. Nelson's "The Moon and the Ghetto"
M. Levitt's "Hamas"
Claude Caudwell's "Illusion and Reality"
Noam Chomsky's "Hegemony or Survival"
E. Fromm's "Escape from Freedom"
A. Hewitt's "Political Inversions"
P. Krugman's "The Conscious of a Liberal"
P. L. Knox's "Cities and Design"
P. Virilio's "Art and Fear"
G. Obeyesegere's "Imagining Karma"
History
S. Ozment's "A Mighty Fortress"
D. Aaronovitch's "Voo Doo Histories"
V. Klemperer's "Language of the Third Reich"
J. Lovell's "The Opium War"
E. Larson's "The Devil in the White City"
J. Leslie's "Deep Water"
R. O. Paxton's "The Anatomy of Fascism"
T. Rosenberg's "The Haunted Land"
S. Saltzman's "Portrait of Dr. Gachet"
J. L. Swanson's "Manhunt"
F. Taylor's "The Berlin Wall"
E. Wilson's "To the Finland Station"
C. V. Wedgwood's "The Thirty Years War"
S. Schiff's "Cleopatra"
Economics
J. Ferguson's "The Anti-Politics Machine"
T. C. Schelling's "Micromotives and Macrobehavior"
O. Lange's "On the Economic Theory of Socialism"
K. J. Arrow's "The Limits of Organization"
Scott Bedbury's "A New Brand World"
W. Bernstein's "A Splendid Exchange"
Benjamin M. Friedman's "The Moral Consequences of Economic Growth"
T. L. Friedman's "Hot, Flat and Crowded"
S. D. Levitt, S. J Dubner's "Freakonomics"
R. Patel's "The Value of Nothing"
J. E. Stiglitz's "Globalization and its Discontents"
Critical Study
M. M. Bakhtin's "The Dialogic Imagination"
R. Barthes's "Writing Degree Zero"
C. Bongie's "Exotic Memories"
W. B. Booth's "The Rhetoric of Fiction"
T. Cohen's "Jokes"
T. Coletti's "Naming the Rose"
I. Calvino's "The Uses of Literature"
Terry Eagleton's "Literature Theory"
W. Empson's "7 Types of Ambiguity"
S. R. Fischer's "A History of Reading"
Northrop Frye's "The Secular Scripture"
N. Frye's "The Educated Imagination"
N. Frye's "The Educated Imagination"
E. Le Grand's "Kundera or The Memory of Desire"
S. Gauch's "Liberating Shahrazad"
L. Hutcheon's "A Theory of Parody"
J. W. Krutch's "Modernism in Modern Drama"
M. Kundera "The Curtain"
M. Kundera's "Encounter"
D. Lodge's "The Art of Fiction"
Georg Lukacs's "The Historical Novel"
G. Meredith's "An Essay on Comedy"
Czesław Milosz's "The Captive Mind"
J. Kristeva's "Desire in Language"
T. Ziolkowski's "The Novels of Hermann Hesse"
K. Briggs's "The Fairies in Tradition and Literature"
A. C. Bradley's "Shakespearean Tragedy" part 2
A. C. Bradley's "Shakespearean Tragedy" part 1
General Aesthetic
T. Adorno's "Philosophy of Modern Music"
J. Berger's "Ways of Seeing"
G. P. Cestaro's "Queer Italia"
A. Copland's "What to Listen for in Music"
Ellen Graff's "Stepping Left"
G. Graham's "Philosophy of the Arts"
E. H. Gombrich's "Art and Illusion"
M. Kammen's "Visual Shock"
M. Lowy's "Morning Star"
D. J. Levitin's "This is Your Brain on Music"
J. Morgenroth's "Speaking of Dance"
J. Rose's "Sexuality in the Field of Vision"
Psychology
D. C. Dennett's "Freedom Evolves"
Sigmund Freud's "Beyond the Pleasure Principle"
S. Freud's "Totem and Taboo"
S. Freud's "The joke and its relation to the unconscious"
S. Freud's "Civilization and its Discontents"
E. Fromm's "The Art of Loving"
C.G. Jung's "Modern Man in Search of a Soul"
J. Mitchell's "Psychoanalysis and Feminism"
S. Pinker's "The Stuff of Thought"
I. Rosenfield's "The Strange, Familiar and Forgotten"
Philosophy (Classic)
Friedrich Nietzsche's "Beyond Good & Evil"
Henri Bergson's "Matter and Memory"
H. Bergson's "Laughter"
G. Deleuze's "Spinoza: Practial Philosophy"
J. Derrida's "The politics of friendship"
J. Derrida's "Of Grammatology"
G. Deleuze's "The Fold"
Gilles Deleuze's "Francis Bacon"
G. W. F. Hegel's "The Essential Writings"
G. W. F. Hegel's "Phenomenology of Spirit" (part 1)
G. W. F. Hegel's "Phenomenology of Spirit" (part 2)
G. W. F. Hegel's "Phenomenology of Spirit" (part 3)
G. W. F. Hegel's "Phenomenology of Spirit" (part 4)
M. Heidegger's "The Question Concerning Technology"
M. Heidegger's "Poetry, Language, Thought"
M. Heidegger's "Being and Time"
Soren Kierkegaard's "Fear and Trembling"
I. Kant's "Critique of Pure Reason" (part I)
I. Kant's "Critique of Pure Reason" (part II)
J. Sarte's "The Imaginary"
J. P. Sartre's "What is Literature?"
F. de Saussure's "Course in General Linguistics"
Albert Camus's "The Myth of Sisyphus"
Philosophy (Contemporary)
L. Brisson's "How Philosophers Saved Myths"
Jean Piaget's "Structuralism"
R. Sorensen's "Philosophy and the Labyrinths of the mind"
C. Taylor's "Hegel and Modern Society"
S. Weil's "The Need for Roots"
S. Weil's "Gravity and Grace"
Mathematics and Science
D. Adam's "Last Chance to See"
A. Bellos's "Alex's Adventures in Numberland"
B. Clegg's "Before the Big Bang"
S. J. Gould's "Ever Since Darwin"
Biography and Memoir
K. M. Brown's "Mama Lola"
D. Fisher's "The War Magician"
K. Johnson's "The Magician and the Cardsharp"
W. Kamkwanba's "The Boy Who Harnessed the Wind"
M. E. Montaigne's "Essays"
V. S. Naipaul's "The Masque of Africa"
D. Tammet's "Born on a Blue Day"
F. Vertosick's "When the Air Hits Your Brain"
V. Woolf's "A Room of One's Own"
Truman Capote's "In Cold Blood"
D. Grann's "The Lost City of Z"
G. Greene's "The Lawess Roads"
Tenessee Williams's "Memoirs"
Umberto Eco
U. Eco's "Serendipities"
U. Eco's "Misreadings"
U. Eco's "The Search for the Perfect Language"
Umberto Eco's "Six Walks in the Fictional Woods"
U. Eco's "Turning Back the Clock"
U. Eco's "A Theory of Semiotics"
U. Eco's "Travels in Hyper Reality"
Michel Foucault
Michel Foucault's "Discipline & Punish"
M. Foucault's "The Archaeology of Knowledge"
M. Foucault's "The Care of the Self"
M. Foucault's "The History of Sexuality: an Introduction"
Michel Foucault's "Madness and Civilization"
M. Foucault's "The Use of Pleasure"
W. Shakespeare's "Two Gentlemen of Verona/Measure for Measure"
Two Gentlemen of Verona ได้ชื่อว่าเป็นบทละครเรื่องแรกของเชคสเปียร์ (แต่ก็เช่นเดียวกับรายละเอียดเชิงชีวประวัติต่างๆ ของยอดนักประพันธ์ ไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อนี้จริงหรือเท็จ) บทละครเรื่องแรกนี้บรรจุเจตนา แก่น และอุบายต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีในบทละครยุคหลัง แต่ที่เด่นไม่เป็นรองเรื่องใดเลยคือการใช้ภาษา Two Gentlemen of Verona เต็มไปด้วยการเล่นกับคำซ้ำคำซ้อน คำพ้องเสียงพ้องความหมายให้สมกับเป็นละครชวนหัว เท่าที่เคยอ่าน เคยชม เรายกย่องได้เต็มปากว่านี่คือบทพูดที่ witty ที่สุดแล้วของเชคสเปียร์ แกหยอกล้อแนวคิดโรแมนติกเกี่ยวกับความรัก ตัวละครที่ "หลงรักความรัก" มักจะเป็นตัวโจ๊กในบทละครของแก ภาษาสละสลวยเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ขัดกับความหมายที่ซ่อนอยู่ยิ่งขับไหวพริบให้เด่นชัดขึ้น
Measure for Measure แปลตรงตัวคือ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ถึงจะถูกจัดให้เป็นบทละครชวนหัว (เพราะมันจบด้วยการแต่งงาน) เอาเข้าจริงจนถึงกลางเรื่อง ถือว่าเป็นละครที่เครียดพอสมควร (น้องสาวที่เตรียมตัวบวช ถูกบังคับให้ถวายตัวแด่ผู้ปกครอง เพื่อช่วยชีวิตพี่ชายของตน) และพอครึ่งหลังที่เริ่มจะชวนหัวขึ้นมาบ้าง ก็กลับกลายเป็นเละเทะในสายตานักวิจารณ์ส่วนใหญ่ Measure for Measure ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน "problem plays" คือบทละครที่มีปัญหา อย่างไรก็ดี การเล่นกับประเด็นทางกฏหมาย ความสองมาตรฐาน และภาวะมือถือสากปากถือศีลของผู้พิพากษา ก็ทำให้ Measure for Measure เป็นบทละครเชคสเปียร์ที่เข้ากันกับสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
Measure for Measure แปลตรงตัวคือ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ถึงจะถูกจัดให้เป็นบทละครชวนหัว (เพราะมันจบด้วยการแต่งงาน) เอาเข้าจริงจนถึงกลางเรื่อง ถือว่าเป็นละครที่เครียดพอสมควร (น้องสาวที่เตรียมตัวบวช ถูกบังคับให้ถวายตัวแด่ผู้ปกครอง เพื่อช่วยชีวิตพี่ชายของตน) และพอครึ่งหลังที่เริ่มจะชวนหัวขึ้นมาบ้าง ก็กลับกลายเป็นเละเทะในสายตานักวิจารณ์ส่วนใหญ่ Measure for Measure ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน "problem plays" คือบทละครที่มีปัญหา อย่างไรก็ดี การเล่นกับประเด็นทางกฏหมาย ความสองมาตรฐาน และภาวะมือถือสากปากถือศีลของผู้พิพากษา ก็ทำให้ Measure for Measure เป็นบทละครเชคสเปียร์ที่เข้ากันกับสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
Subscribe to:
Posts (Atom)