J. E. Stiglitz's "Globalization and its Discontents"
ทุกปี ปีละเล่มสองเล่ม เราจะหาหนังสืออย่าง Globalization and its Discontents มาอ่าน หนังสือซึ่งพูดอะไรที่โดยพื้นฐานแล้วเราไม่เห็นด้วย หนังสือที่มั่นใจว่าอ่านแล้วต้องรู้สึกขัดแย้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อไม่ปิดกั้นตัวเอง และถือโอกาสออกไปสำรวจอาณาบริเวณของข้าศึกว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว
เกริ่มมาแบบนี้ ใช่ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับสติกลิทซ์เอาเสียเลย (ต่อให้ไม่เห็นด้วย เขาก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ส่วนความรู้เศรษฐศาสตร์เรายิ่งกว่างูๆ ปลาๆ อีก) ตั้งแต่บทแรก สติกลิทซ์ประกาศว่า เขาไม่ปฏิเสธแนวคิดของคนที่เห็นต่างจากเขา แต่คนเหล่านั้นมักยึดมั่นอย่างไม่ลืมหูลืมตา Globalization and its Discontents จึงถูกเขียนมาเพื่อตีกบาลพวกเขา ให้หัวอ่อนลงหน่อย จะได้ยอมรับความเห็นตรงข้ามบ้าง
เจาะจงกว่านี้คือสติกลิทซ์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เขียนหนังสือเล่มนี้สำหรับชาวอเมริกัน ซึ่งส่วนใหญ่ศรัทธาลัทธิทุนนิยมตั้งแต่แรก ดังนั้นถ้าคนไทย ซึ่งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมเป็นไม้เบื่อไม้เมากับไอ้คำสั้นๆ สามพยางค์นี้ อ่านหนังสือเล่มนี้ ก็ควรอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อ่านระหว่างบรรทัด อ่านสิ่งที่สติกลิทซ์ไม่ได้เขียน (เราถึงกับโทรศัพท์ไปถามเพื่อนที่เรียนเศรษฐศาสตร์เลยว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เขาเขียนหนังสือกันแบบนี้หรือ คำตอบคือใช่ นักเศรษฐศาสตร์มักจะโผงผาง พูดจาสุดโต่ง เพราะพวกเขาถือว่า เสนออะไรไป อย่างไรก็มีอีกโรงเรียนหนึ่งมาคอยคัดง้างความเชื่อของพวกเขาอยู่ดี)
ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าสติกลิทซ์จะต่อต้านทุนนิยมหรืออะไรหรอก เขาไม่ได้ต่อต้านกระทั่งโลกาภิวัฒน์เหมือนในชื่อหนังสือด้วยซ้ำ เป้าโจมตีของ Globalization and its Discontents คือองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ IMF (สติกลิทซ์ไม่ได้พูดถึงธนาคารโลกในแง่ลบเลย เพราะตัวเขาเองก็เคยทำงานอยู่ที่นั่น ซ้ำยังแอบชื่นชมด้วย บอกแล้วว่านักเศรษฐศาสตร์ต้องสุดโต่ง) สรุปสั้นๆ คือความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศตั้งแต่รัสเซีย แอฟริกา จนถึงเอเชีย มีต้นเหตุมาจาก IMF และการ "แก้ปัญหา" ของ IMF ส่งผลเสีย มากกว่าผลดี
ถ้าให้สรุปสั้นๆ ในภาษาของเราเอง ความผิดพลาดหลักของ IMF คือการสับสนระหว่าง diachronic และ synchronic rules หรือกฎที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ และกฎที่ใช้ในประเทศซึ่งพัฒนาแล้ว (ศัพท์สองตัวนี้ไม่อยู่ใน Globalization and its Discontents หรอกนะ แต่มาจาก Courses in General Linguistics บอกแล้วว่าเล่มนั้นของเขาดีจริงๆ ) ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เอกชนเข้ามาดำเนินการจัดการทรัพยากร แต่ไม่ได้หมายความว่า การทำประเทศด้อยพัฒนา ให้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วต้องโอนถ่ายทรัพยากรจากหน่วยรัฐ ไปยังหน่วยเอกชนในทันที แบบนั้นเรียกว่า shock treatment ซึ่งเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในรัสเซีย
ในฐานะที่มีรุ่นพี่ใจดีทำงานอยู่ IMF เราอยากออกตัวปกป้องสถาบันการเงินระหว่างประเทศสถาบันนี้สักเล็กน้อย ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เห็นด้วยกับสติกลิทซ์หรอกนะ แต่เราเข้าใจความขัดแย้งระหว่างปรัชญาเศรษฐศาสตร์ของสองโรงเรียนนี้ IMF เชื่อว่าประเทศที่ยากจน ต้องทำตัวเป็นประเทศยากจน รัดเข็มขัด ประหยัดตัง และสร้างสมดุลบัญชี ให้รายได้ มากกว่ารายจ่าย สติกลิทซ์ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เขามองว่าช่วงวิกฤติเงินบาทลอยตัว IMF บังคับให้ประเทศไทยนำเข้า มากกว่าส่งออก ทำให้วิกฤติการเงินแพร่ไปยังอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน เกาหลี และประเทศอื่นๆ เลยยิ่งส่งผลให้สถานการณ์โดยรวมเลวร้ายลงไปใหญ่ พูดอย่างง่ายๆ โง่ๆ สติกลิทซ์เชื่อว่า ประเทศยิ่งยากจน ก็ยิ่งต้องมือเติบ (อย่างถูกวิธี) คืออัดโครงการพื้นฐานสังคม (infrastructure) เพื่อสร้างงาน ความคิดนี้ค่อนข้างขัดแย้งกับปรัชญาพอเพียงแบบไทยๆ (ซึ่งใกล้เคียงกับปรัชญา IMF มากกว่า)
ไม่ทันไรก็ทำตัวเป็นนักเศรษฐศาสตร์แล้วเรา ที่กล่าวไปนี้เป็น Stiglitzism ฉบับ bastardized มากๆ เพราะวิกฤติมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน จะแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้หมดคงไม่ได้ จริงๆ เราสนใจเรื่องนี้มาก แอบอยากเขียนต่อว่าถ้าสติกลิทซ์ได้มีโอกาสพูดถึงนโยบายทุนนิยมสุดโต่งของคุณทักษิณ เขาจะวิจารณ์มันในแง่ไหนบ้าง แต่วันนี้ขี้เกียจคุยเรื่องการเมือง ขอจบแค่นี้แล้วกัน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
Good post and this mail helped me alot in my college assignement. Gratefulness you as your information.
Easily I to but I about the list inform should prepare more info then it has.
replica louis vuitton l29 t9m93z3s51 replica louis vuitton bags e27 e5e85l9p45 replica louis vuitton e77 p3y28r0n88
Post a Comment