C. Milosz's "The Captive Mind"


อาจารย์รัฐศาสตร์สมัยปริญญาตรีเคยเล่ามุกตลกที่ขำไม่ออก ว่าถ้าทวีปยุโรปไม่มีโปแลนด์ ก็คงต้องมีคนสร้างประเทศนี้ขึ้นมา ให้เยอรมัน และรัสเซียยกทัพผ่าน

ไม่เกินไปนักถ้าจะบอกว่าโปแลนด์เป็นประเทศที่ "ซวย" ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างสองขั้วอำนาจยักษ์ใหญ่เยอรมัน และรัสเซีย ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 แล้ว เวลาเยอรมันจะบุกรัสเซีย หรือรัสเซียบุกเยอรมัน ก่อนอื่นก็ต้องยกทัพมาเหยียบย่ำโปแลนด์เป็นแห่งแรก

ความซวยของโปแลนด์ถึงขีดสุดกลางศตวรรษที่ 20 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์เป็นประเทศแรกที่ฮิตเลอร์ยึดครอง (อีกมุกตลกของวูดดี้ อัลเลน "ผมฟังแวคเนอร์ไม่ได้ ฟังทีไรอยากพิชิตโปแลนด์ทุกที") เรารับทราบความทุกข์ทรมาณของชาวยิว กระนั้นชาวโปแลนด์เองก็ต้องแบกรับชะตากรรมที่หนักหนาไม่แพ้กัน เยอรมันตั้งใจให้โปแลนด์เป็นเมืองทาส บังคับประชาชนทำงานหนักหล่อเลี้ยงทหารนาซี ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหง ใครวางแผนต่อต้าน หรือแค่ต้องสงสัยจะถูกฆ่าทิ้ง หรือส่งไปค่ายกักกัน (ออสวิชซ์ ค่ายเดียวกับชาวยิวนั่นแหละ)

ประมาณปี 1944 กลุ่มต่อต้านทหารนาซีในวอร์ซอร์ดำเนินการขั้นเด็ดขาด เผชิญหน้ากับเยอรมันตรงๆ ขณะเดียวกัน กองทัพแดงของรัสเซียตั้งค่ายทหารคอยท่าอยู่นอกเมือง สตาลินตั้งใจชนกับฮิตเลอร์แต่แรก หากเขาปล่อยให้นาซีบดขยี้กองทัพใต้ดิน หลังจากนั้นค่อยดำเนินการบุกยึดวอร์ซอร์อีกรอบ โปแลนด์ตกเป็นเมืองขึ้นรัสเซีย อยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งจริงๆ แล้วรัสเซียก็ไม่ได้ให้เกียรติ หรือดูแลโปแลนด์ดิบดีไปกว่านาซี คนนับหมื่นแสนถูกส่งไปทำไร่ไถนา ทำงานหนักในพื้นที่เวิ้งว้างเอเชียกลาง เศรษฐกิจ การศึกษา ทุกสถาบันในสังคมตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย

"จับใจ" ผลงานของเซลอว์ มิโรส เล่าเรื่องนักเขียนสี่คน ที่ต้องจำใจทิ้งความเชื่อเดิมๆ เพื่อปรับตัวเข้ากับสังคมนิยมสุดโต่ง มิโรสเรียกพฤติการณ์ดังกล่าวว่า "เคตมาน" มาจากตำนานอิสลาม ว่าด้วยการปฏิบัติตัวตามคำสั่งผู้มีอำนาจ แต่ในใจปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ตลอดเวลา นักเขียนแต่ละคนมีเหตุผลต่างกัน แอลฟาหลงใหลความงดงามของวีรบุรุษ ถึงจะรังเกียจคอมมิวนิสต์แค่ไหน เขายอมก้มหัวให้มัน เพื่อจะได้สร้างวีรบุรุษสังคมนิยมขึ้นมา เบต้าไม่เชื่อถือศีลธรรม ความดีงามใดๆ เขาทำตามคำสั่งเบื้องสูง เพื่อแสดงออกความรังเกียจสิ่งต่างๆ รอบตัว แกมมาหลงตัวเอง ต้องการความเคารพนับถือจากคนรอบข้าง และเดลต้า เห็นผู้อ่านหันเหไปทางใด ก็จะวิ่งตามไปทางนั้น

ผลงานของมิโรส มีหลายประเด็นคล้ายคลึงกุนเดระ ต่างวิพากษ์วิจารณ์สังคมยุโรปตะวันออกซึ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ถ้าจะต่างกันเล็กน้อยคือ กุนเดระเชื่อว่าชาวเชคหลงผิดไปกับรัสเซียเพราะความ "ซื่อ" ซึ่งเป็นธีมหลักในหนังสือเขาแทบทุกเรื่อง แต่มิโรสเชื่อว่าลึกๆ ชาวโปแลนด์ไม่ได้เห็นดีเห็นงามไปกับคอมมิวนิสต์ แต่จงใจทำ "เคตมาน" เชื่อฟังภายนอก ปฏิเสธภายใน (แต่ถ้าเชื่อตามที่นาธาเนียล ฮอว์ธรอนกล่าวไว้ "ไม่มีใครสวมหน้ากากมากกว่าหนึ่งใบ แล้วจะไม่สับสนว่าหน้าไหนเป็นหน้าที่แท้จริงของตัวเอง" ทั้งสองสิ่งนี้อาจไม่แตกต่างกันนัก)

รู้สึกดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ยอมรับว่าได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์โปแลนด์ หรือคำศัพท์ปรัชญาการเมืองหลายคำที่เราไม่เคยรู้มาก่อน Dialectic Materialism (วัตถุนิยมเชิงสนทนาการ) ซึ่งดัดแปลงมาจาก Historic Materialism (วัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์) ของคาร์ล มาร์ก ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มอบความหมายใหม่ๆ ให้กับวัตถุ สำหรับมาร์ก ประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง และชนชั้นแรงงาน ถ้ายุคคอมมิวนิสต์หมายถึงการเริ่มต้นชัยชนะของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้นคุณค่า ศาสนา และวัฒนาธรรมเก่าๆ ก็ต้องนำมาจัดระเบียบ ตีความเสียใหม่

ศัพท์อีกคำที่สนใจเป็นพิเศษคือ Socialist Realism สัจนิยมสาธารณ์ ซึ่งหมายถึงศิลปะแบบที่รัสเซียสนับสนุน ใช้เทคนิกแบบ "สัจนิยม" วาดภาพเหมือนจริงของผู้ใช้แรงงาน นักการเมือง โดยมีจุดประสงค์คือการโฆษณาชวนเชื่อ เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ นิยายแนวสัจนิยมสาธารณ์จะเดาทางง่าย พระเอก ซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือคนจนจะดีฉิบหาย ส่วนผู้ร้ายมักจะรวยๆ ถ้าให้ถูกหลักจริงๆ ต้องมีพระเอกเป็นคนรัสเซียด้วย นิยายแบบสัจนิยมสาธารณ์ที่ดังที่สุดคือเรื่อง "แม่" ของแมกซิม กอร์กี้

ที่น่าเย้ยหยันคือแม้จะมีแค่คำว่า "สัจนิยม" อยู่ในชื่อ แต่สัจนิยมสาธารณ์ไม่ได้บรรจุความเป็นจริงลงไปแม้แต่น้อย (คำว่า "สัจนิยม" นั้น ใช้เพียงเพื่อให้ตรงข้ามกับงานโมเดิร์นอาร์ต และศิลปะแบบ cubism ซึ่งถูกมองว่าเป็นงานอดิเรกของชนชั้นสูง) มนุษย์ถูกแบ่งชนชั้น กำหนดบทบาทว่าใครคือคนดี คนร้าย ใครคือผู้ใช้แรงงาน ใครคือนายทุน ในสายตาของศิลปินคอมมิวนิสต์ มนุษย์มีเพียงไม่กี่ประเภท ความดีงามของนายทุนจะถูกมองข้ามไป เช่นเดียวกับข้อเสียหายของผู้ใช้แรงงาน ศิลปะแบบสัจนิยมสาธารณ์คือการปฏิเสธความเป็นมนุษย์ งานเช่นนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้บรรดาศิลปินเพื่อชีวิตทั้งหลายแหล่ในเมืองไทย

รู้สึกว่าชักจะยาวเกินไปแล้ว ขอสรุปเลยแล้วกัน การอ่าน "จับใจ" ช่วยให้เราสามารถตอบคำถามหนึ่งซึ่งรบกวนใจตลอดเวลา "เหตุใด ถึงไม่เคยมีงานศิลปะดีๆ ออกมาจากค่ายคอมมิวนิสต์" ขอปิดบทวิจารณ์ด้วยคำพูดเท่ๆ จากกุนเดระ "Kitsch is the absolute denial of shit."

4 comments:

Boat said...

tag นะ

blog tag ในที่นี้คือการบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเองมา 5 อย่างแล้วเอาไป tag คนอื่นต่อ เหมือนเป็นจดหมายลูกโซ่ประเภทหนึ่ง

อ่าน tag เราได้ที่
http://livefromcalarts.blogspot.com/2007/01/tag.html

ดูร่องรอยของ BLOG TAG ได้ที่
http://www.keng.ws/files/blog-tag_trace.html

Anonymous said...

ตอนนี้บล็อคนักเขียนคอมเมนต์ได้แล้วนะครับ โดยไม่ต้องมีบล็อคที่นี่แล้ว

Anonymous said...

top [url=http://www.001casino.com/]casino bonus[/url] hinder the latest [url=http://www.casinolasvegass.com/]casino online[/url] manumitted no store bonus at the foremost [url=http://www.baywatchcasino.com/]redeem casino
[/url].

Anonymous said...

I loved as much as you will receive carried out right here.
The sketch is tasteful, your authored material stylish.
nonetheless, you command get got an nervousness over that you wish be delivering the following.
unwell unquestionably come more formerly again since exactly
the same nearly very often inside case you shield this hike.


Also visit my page ... best online casino