ตาหนวดแวนโฮเอนไฮม์ พ่อของสองพี่น้องเอลริคมาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ชื่อของเขาคือ พาราเซลซัส "วอน" โฮเอนไฮม์ นักเล่นแร่แปรธาตุที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปฐพี ตำนานกล่าวว่าพาราเซลซัสค้นพบหินนักปราชญ์ และได้มีชีวิตอมตะ นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวละครหลักใน FMA พาราเซลซัสยังเป็นต้นกำเนิดตัวร้ายในนิยาย The Magician ของมอคฮัมอีกด้วย
สุดจะคาดเดาว่ามอคฮัมคาดหวังอะไรจากนิยายเรื่องนี้ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เจ้าตัวจะสงสัยไหมทำไมใครๆ ก็รู้จักเคาท์แดรกคูลาของบราม สโตคเกอร์ สัตว์ประหลาดของแมรี เชลลี มิสเตอร์ไฮด์ของหลุยส์ สตีเฟนสัน แต่ไม่ยักกะมีใครรู้จักฮัดโด นักเล่นแร่แปรธาตุผู้ชั่วร้ายของเขาเลย
เอาเข้าจริง The Magician ไม่ได้แตกต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆ ที่เอ่ยชื่อมาเลย พูดแบบหยาบๆ มันก็คือ Potboiler ดีๆ นั่นแหละ อ่านเอามันส์ อ่านเอาสนุก มีสาระติดปลายนวมเล็กๆ มอคฮัมผู้โด่งดังจาก Of Human Bondage ดูไม่ได้ตั้งเป้าหมายทะเยอทะยานอะไรนักกับนิยายเรื่องนี้ เทียบกับผลงานชิ้นเอกเล่มนั้นแล้ว เหมือนเจ้าตัวจะเขียน The Magician แบบส่งเดชเสียด้วยซ้ำ
แต่ก็อีกนั่นแหละ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก Dracula ดีกว่า Of Human Bondage หากนักเขียนสักคนตั้งความหวังว่านิยายของเขาจะขายดิบขายดี และสร้างตัวละครที่เป็นอมตะไปชั่วกาลนานแบบบราม สโตคเกอร์ ไม่เรียกเป้าหมายนี้ว่าทะเยอะทะยาน ก็ไม่รู้แล้วว่าอะไรใช่ (The Magician ตีพิมพ์ประมาณสิบเอ็ดปีภายหลัง Dracula เจ็ดปีก่อน Of Human Bondage บางทีตอนที่เขียน The Magician มอคฮัมอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองต้องการเป็นนักเขียนประเภทไหน)
แม้จะเป็นหนังสือทีหลัง แต่ภาพยนตร์เรื่อง The Magician ถูกสร้างก่อน Dracula ห้าปี พอล เวเกเนอร์ ที่โด่งดังจากบทโกเลม (สัตว์ประหลาดที่ถูกลืมอีกตัว) มารับบทเป็นฮัดโด แต่จนบัดนี้ ก็รู้สึกเหมือนยังไม่มีใครเอามาสร้างใหม่ ไม่เหมือนเบลา ลูโกซี ที่มีส่วนทำให้ท่านเคาท์เป็นอมตะในใจผู้ชมไปได้จริงๆ (ช่วงนี้เป็นเทศกาลฮัลโลวีนพอดี มีเด็กทั่วอเมริกากี่แสน กี่ล้านคนที่แต่งตัวเป็นแดรกคูล่า แล้วจะมีสักกี่คนที่แต่งตัวเป็นฮัดโด นักเล่นแร่แปรธาตุ)
สรุปว่าอะไร มันก็แปลกดีที่ความเป็นอมตะ บางครั้งไม่ต้องอาศัยหินนักปราชญ์เลยด้วยซ้ำ แต่มาจากเหตุบังเอิญล้วนๆ ใครจะไม่ยอมรับบ้างว่ามอคฮัม เป็นนักเขียนนิยายที่กระดูกหนากว่าบราม สโตคเกอร์ตั้งเยอะ แต่ถ้าไม่ใช่เบลล่า ลูโกซี ถ้านิยาย Dracula ไม่ได้ขายดิบขายดี ติดอันดับเบสเซลเลอร์ของศตวรรษที่ 19 (ส่วน Trillby นิยายขายดีอันดับสอง ถูกลืมไปแล้ว) และปัจจัยตั้งเยอะตั้งแยะ
M. Twain's "A Connecticut Yankee in King Arthur's Court"
ในวันที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงยึดครองวอลสตรีท เป็นความรู้สึกแปร่งปร่าบรรยายไม่ถูก เมื่อได้อ่าน A Connecticut Yankee in King Arthur's Court ในฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง เมื่อร้อยยี่สิบที่แล้ว มาร์ค ทเวนโฆษณานิยายเรื่องนี้ขึ้นปกว่า "นิยายที่จะถูกอกถูกใจอเมริกันชนทุกคน" ซึ่งก็จริงของเขา นี่เป็นนิยายที่ "อเมริกัน" มากๆ เชิดชูวิถี และแนวคิดแบบอเมริกันอย่างที่พ้นสมัยไปแล้วในอีกสองศตวรรษถัดมา
ตัวเอกของนิยายคือแฮงค์ เขาเดินทางย้อนอดีตกลับสู่ยุคกษัตริย์อาเธอร์ อัศวินโต๊ะกลมที่แฮงค์เจอไม่ใช่นักรบผู้ทรงเกียรติ แบบในนิยายอัศวินของวอลเตอร์ สกอต (มาร์ค ทเวนใช้ชีวิตอยู่ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา เขาเป็นชาวเหนือ รังเกียจการค้าทาส และวิถีชีวิตแบบชาวใต้ เขาเชื่อว่าเป็นเพราะหนังสือของวอลเตอร์ สกอตนั่นแหละ ที่ทำให้ชาวใต้หยิ่งยะโส ขุนน้ำขุนนาง และเป็นต้นเหตุของสงคราม A Connecticut Yankee in King Arthur's Court ถูกเขียนเพื่อยั่วล้อแนวคิดแบบนี้โดยเฉพาะ)
ทเวนไม่ปิดไม่เร้นความรังเกียจที่ตัวเขามีต่อเหล่าอัศวิน เขาก็เรียกคนพวกนี้ว่า "เด็ก" หรือ "สัตว์" และตลอดนิยายทั้งเล่มคือการเทศนาเปรียบเทียบให้เห็นว่าวิถีแบบประชาธิปไตย ตลาดเสรี และวิทยาศาสตร์ของอเมริกา (ปลายศตวรรษที่ 19) นั้นมันวิเศษอย่างไร
การอ่านนิยายเล่มนี้ในศตวรรษที่ 21 หลังจากโลกเราผ่านอะไรต่อมิอะไรมามากมาย พูดได้คำว่าเดียวว่า "quaint" (แปลกและน่าดูอย่างโบราณ) ภาษาของทเวนเป็นภาษายุค "ก่อน" หลังล่าอาณานิคม (ก็คือยุคล่าอาณานิคมนั่นเอง) ที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยามคนต่างถิ่น นอกจากนี้หลังสงครามเวียดนาม นักเขียนที่ไหนจะกล้าพูดความวิเศษของประเทศอเมริกาบ้าง ในแง่หนึ่ง สายตาที่เรามองแฮงค์ และทเวน จะว่าไปก็คงไม่ต่างจากสายตาที่แฮงค์มองอัศวินโต๊ะกลมเหล่านั้น คือพวกเอ็งทั้งคู่ก็ตกยุคพอๆ กันนั่นแหละ
พูดแบบนี้ไม่ใช่จะติหนังสือ ตรงกันข้ามเลยด้วยซ้ำ คนในศตวรรษที่ 21 (โดยเฉพาะคนไทย) สมควรเตือนตัวเองเป็นอย่างยิ่งว่าไอ้ที่เราด่าๆ กันในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งมันเคยสวยงามแค่ไหน โลกนี้ไม่ได้มีแค่ผิดหรือถูก เราต้องพยายามมองหาความถูกต้องในสิ่งที่ผิดด้วย
แต่ถ้าเรายังยืนยันจะอยู่ในโลกสองสีจริงๆ ก็ยิ่งสมควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะถ้าคิดว่าประชาธิปไตย ทุนนิยม ตลาดเสรี และวิทยาศาสตร์มันเลวร้ายนัก ก็สมควรอ่าน A Connecticut Yankee in King Arthur's Court เพื่อจะได้เห็นว่า "อะไร" ที่มันเลวร้ายยิ่งกว่านั้นหลายเท่า
ตัวเอกของนิยายคือแฮงค์ เขาเดินทางย้อนอดีตกลับสู่ยุคกษัตริย์อาเธอร์ อัศวินโต๊ะกลมที่แฮงค์เจอไม่ใช่นักรบผู้ทรงเกียรติ แบบในนิยายอัศวินของวอลเตอร์ สกอต (มาร์ค ทเวนใช้ชีวิตอยู่ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา เขาเป็นชาวเหนือ รังเกียจการค้าทาส และวิถีชีวิตแบบชาวใต้ เขาเชื่อว่าเป็นเพราะหนังสือของวอลเตอร์ สกอตนั่นแหละ ที่ทำให้ชาวใต้หยิ่งยะโส ขุนน้ำขุนนาง และเป็นต้นเหตุของสงคราม A Connecticut Yankee in King Arthur's Court ถูกเขียนเพื่อยั่วล้อแนวคิดแบบนี้โดยเฉพาะ)
ทเวนไม่ปิดไม่เร้นความรังเกียจที่ตัวเขามีต่อเหล่าอัศวิน เขาก็เรียกคนพวกนี้ว่า "เด็ก" หรือ "สัตว์" และตลอดนิยายทั้งเล่มคือการเทศนาเปรียบเทียบให้เห็นว่าวิถีแบบประชาธิปไตย ตลาดเสรี และวิทยาศาสตร์ของอเมริกา (ปลายศตวรรษที่ 19) นั้นมันวิเศษอย่างไร
การอ่านนิยายเล่มนี้ในศตวรรษที่ 21 หลังจากโลกเราผ่านอะไรต่อมิอะไรมามากมาย พูดได้คำว่าเดียวว่า "quaint" (แปลกและน่าดูอย่างโบราณ) ภาษาของทเวนเป็นภาษายุค "ก่อน" หลังล่าอาณานิคม (ก็คือยุคล่าอาณานิคมนั่นเอง) ที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยามคนต่างถิ่น นอกจากนี้หลังสงครามเวียดนาม นักเขียนที่ไหนจะกล้าพูดความวิเศษของประเทศอเมริกาบ้าง ในแง่หนึ่ง สายตาที่เรามองแฮงค์ และทเวน จะว่าไปก็คงไม่ต่างจากสายตาที่แฮงค์มองอัศวินโต๊ะกลมเหล่านั้น คือพวกเอ็งทั้งคู่ก็ตกยุคพอๆ กันนั่นแหละ
พูดแบบนี้ไม่ใช่จะติหนังสือ ตรงกันข้ามเลยด้วยซ้ำ คนในศตวรรษที่ 21 (โดยเฉพาะคนไทย) สมควรเตือนตัวเองเป็นอย่างยิ่งว่าไอ้ที่เราด่าๆ กันในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งมันเคยสวยงามแค่ไหน โลกนี้ไม่ได้มีแค่ผิดหรือถูก เราต้องพยายามมองหาความถูกต้องในสิ่งที่ผิดด้วย
แต่ถ้าเรายังยืนยันจะอยู่ในโลกสองสีจริงๆ ก็ยิ่งสมควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะถ้าคิดว่าประชาธิปไตย ทุนนิยม ตลาดเสรี และวิทยาศาสตร์มันเลวร้ายนัก ก็สมควรอ่าน A Connecticut Yankee in King Arthur's Court เพื่อจะได้เห็นว่า "อะไร" ที่มันเลวร้ายยิ่งกว่านั้นหลายเท่า
A. Bellos's "Alex's Adventures in Numberland"
อ้าาาาา...การคิดอะไรออกนี่มันช่างประเสริฐแท้ ไม่แปลกใจเลยทำไมอาคีมีดิสกระโดดออกจากอ่างอาบน้ำ แล้วแก้ผ้ายูเรก้าไปรอบเมือง เราเองก็อยากทำแบบนั้น หลังจากขบคิดปริศนาที่ติดอยู่ในใจมาแสนนาน
เราทะลุความโง่ระหว่างที่อ่าน Alex's Adventures in Numberland เป็นหนังสือแนวคณิตศาสตร์แสนสนุก ในบทเกี่ยวกับความน่าจะเป็น เบลลอสพูดว่า "ความน่าจะเป็นคือสาขาของวิชาคณิตศาสตร์ที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน และสวนทางกับสามัญสำนึกที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะผลิตพาราดอกซ์ออกมามากมาย" ระหว่างที่อ่านประโยคนี้ เราก็ระลึกถึงพาราดอกซ์ที่ติดอยู่ในใจเราเป็นเวลาเกือบสิบปี และแล้วก็ยูเรก้าโดยพลัน
เกือบสิบปีที่แล้ว ผู้กำกับเอาพาราดอกซ์นี้จากนิตยสาร My Maths มาถามเรา สมมติว่าเราเล่นเกมกับเพื่อน กติกาคือมีไพ่หมายเลขหนึ่งถึงร้อย เราผลัดกันสับและแจกมั่วๆ แบบคว่ำหน้ามาสองใบ ถ้าต่างฝ่ายต่างเลือกจะเอาใบไหน แล้วมาแข่งกันว่าใครแต้มสูงกว่าชนะ โอกาสชนะของเราคือหนึ่งในสอง (เพราะจะมีใบหนึ่งสูงกว่าอีกใบเสมอ) ทีนี้ดัดแปลงกติกาเล็กน้อย เพื่อนเราเปิดไพ่หนึ่งในสองใบ แล้วเรามีสิทธิเลือกว่าจะเอาใบที่เขาเปิดแล้ว หรือจะเอาอีกใบที่ยังปิดอยู่ เขาเลือกอีกใบที่เหลือ แล้วค่อยมาเปรียบเทียบกัน
สมมติเราเล่นเกมนี้โดยไม่มีกลยุทธอะไรเลย ใช้วิธีสุ่มมั่ว พอเพื่อนเปิดไพ่มา เราโยนเหรียญ ออกหัวเอาใบที่เปิด ออกก้อยเอาใบที่ปิด โอกาสชนะของเราก็จะมีแค่หนึ่งในสองเท่านั้น My Maths เสนอกลยุทธนี้ ก่อนเพื่อนจะเปิดไพ่ ให้เราสุ่มตัวเลขในใจหนึ่งถึงร้อย เราจะเรียกเลขตัวนั้นว่า "เลขฐาน" เมื่อเปิดไพ่ปุ๊บ ถ้าเลขฐานต่ำกว่าหน้าไพ่ ก็เป็นไปได้ว่าไพ่ที่คว่ำอยู่จะต่ำกว่าด้วย ให้เราเลือกไพ่ที่เปิดแล้ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลขฐานสูงกว่าหน้าไพ่ ไพ่ที่คว่ำอยู่จะสูงกว่าด้วย ให้เราเลือกใบที่คว่ำ ถ้าใช้กลยุทธนี้โอกาสชนะจะเพิ่มขึ้นถึง 2/3 หรือ 3/4 ทีเดียว (จำคำตอบไม่ได้แล้ว)
น่าอัศจรรย์ไหม ที่เลขฐานซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับเกมเลย อยู่ในใจเราแท้ๆ แต่กลับมีส่วนช่วยเราได้ เราถึงกับใช้แมตเลปเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบ ในการเล่น 1000 ครั้ง วิธีสุ่มมั่วจะชนะแค่ 500 แต่กลยุทธเลขฐานจะช่วยเพิ่มจำนวนครั้งที่ชนะถึง 750 (หรือ 666) ครั้งทีเดียว
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากขบคิด (หรือทดสอบ) ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งอ่านต่อ
เอาเข้าจริงปัญหานี้ไม่เชิงเป็นพาราดอกซ์เสียทีเดียว เหมือนเป็นการ "หลอกต้มหมู" ของ My Maths มากกว่า ถ้าเราเล่นเกมนี้จริงๆ โดยไม่ใช้วิธีสุ่มมั่ว (โยนเหรียญก่อน แล้วค่อยเลือก) โอกาสชนะจะแค่ห้าสิบห้าสิบหรือเปล่า คำตอบคือ "เป็นไปไม่ได้!" ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเปิดหน้าไพ่ออกมาเป็น 89 หรือ 95 มีใครจะเสี่ยงเลือกไพ่อีกใบหรือเปล่า ในทางตรงกันข้าม เปิดออกมาแล้วเป็น 2 หรือ 7 ก็แน่ยิ่งกว่าแช่แป้งว่าเปลี่ยนไปเลือกอีกใบเถอะ
ต่อให้ไม่สุ่มเลขฐานขึ้นมา โดยสามัญสำนึก เราก็จะมีเลขฐานอยู่ในใจอยู่แล้ว นั่นคือคือ 50 ถ้าไพ่ที่หงายออกมาสูงกว่า 50 โอกาสที่อีกใบจะต่ำกว่าก็มีมาก และในทางกลับกัน และการที่เราสุ่มมั่วเลขฐานขึ้นมา expected value ของมันก็คือ 50 ดังนั้นกลยุทธนี้ก็คือการ "หลอก" ให้เรากลับไปใช้สามัญสำนึก หรือกลยุทธพื้นฐานโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
Q.E.D. -- quite easily done (after almost ten fucking years!)
เราทะลุความโง่ระหว่างที่อ่าน Alex's Adventures in Numberland เป็นหนังสือแนวคณิตศาสตร์แสนสนุก ในบทเกี่ยวกับความน่าจะเป็น เบลลอสพูดว่า "ความน่าจะเป็นคือสาขาของวิชาคณิตศาสตร์ที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน และสวนทางกับสามัญสำนึกที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะผลิตพาราดอกซ์ออกมามากมาย" ระหว่างที่อ่านประโยคนี้ เราก็ระลึกถึงพาราดอกซ์ที่ติดอยู่ในใจเราเป็นเวลาเกือบสิบปี และแล้วก็ยูเรก้าโดยพลัน
เกือบสิบปีที่แล้ว ผู้กำกับเอาพาราดอกซ์นี้จากนิตยสาร My Maths มาถามเรา สมมติว่าเราเล่นเกมกับเพื่อน กติกาคือมีไพ่หมายเลขหนึ่งถึงร้อย เราผลัดกันสับและแจกมั่วๆ แบบคว่ำหน้ามาสองใบ ถ้าต่างฝ่ายต่างเลือกจะเอาใบไหน แล้วมาแข่งกันว่าใครแต้มสูงกว่าชนะ โอกาสชนะของเราคือหนึ่งในสอง (เพราะจะมีใบหนึ่งสูงกว่าอีกใบเสมอ) ทีนี้ดัดแปลงกติกาเล็กน้อย เพื่อนเราเปิดไพ่หนึ่งในสองใบ แล้วเรามีสิทธิเลือกว่าจะเอาใบที่เขาเปิดแล้ว หรือจะเอาอีกใบที่ยังปิดอยู่ เขาเลือกอีกใบที่เหลือ แล้วค่อยมาเปรียบเทียบกัน
สมมติเราเล่นเกมนี้โดยไม่มีกลยุทธอะไรเลย ใช้วิธีสุ่มมั่ว พอเพื่อนเปิดไพ่มา เราโยนเหรียญ ออกหัวเอาใบที่เปิด ออกก้อยเอาใบที่ปิด โอกาสชนะของเราก็จะมีแค่หนึ่งในสองเท่านั้น My Maths เสนอกลยุทธนี้ ก่อนเพื่อนจะเปิดไพ่ ให้เราสุ่มตัวเลขในใจหนึ่งถึงร้อย เราจะเรียกเลขตัวนั้นว่า "เลขฐาน" เมื่อเปิดไพ่ปุ๊บ ถ้าเลขฐานต่ำกว่าหน้าไพ่ ก็เป็นไปได้ว่าไพ่ที่คว่ำอยู่จะต่ำกว่าด้วย ให้เราเลือกไพ่ที่เปิดแล้ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลขฐานสูงกว่าหน้าไพ่ ไพ่ที่คว่ำอยู่จะสูงกว่าด้วย ให้เราเลือกใบที่คว่ำ ถ้าใช้กลยุทธนี้โอกาสชนะจะเพิ่มขึ้นถึง 2/3 หรือ 3/4 ทีเดียว (จำคำตอบไม่ได้แล้ว)
น่าอัศจรรย์ไหม ที่เลขฐานซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับเกมเลย อยู่ในใจเราแท้ๆ แต่กลับมีส่วนช่วยเราได้ เราถึงกับใช้แมตเลปเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบ ในการเล่น 1000 ครั้ง วิธีสุ่มมั่วจะชนะแค่ 500 แต่กลยุทธเลขฐานจะช่วยเพิ่มจำนวนครั้งที่ชนะถึง 750 (หรือ 666) ครั้งทีเดียว
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากขบคิด (หรือทดสอบ) ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งอ่านต่อ
เอาเข้าจริงปัญหานี้ไม่เชิงเป็นพาราดอกซ์เสียทีเดียว เหมือนเป็นการ "หลอกต้มหมู" ของ My Maths มากกว่า ถ้าเราเล่นเกมนี้จริงๆ โดยไม่ใช้วิธีสุ่มมั่ว (โยนเหรียญก่อน แล้วค่อยเลือก) โอกาสชนะจะแค่ห้าสิบห้าสิบหรือเปล่า คำตอบคือ "เป็นไปไม่ได้!" ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเปิดหน้าไพ่ออกมาเป็น 89 หรือ 95 มีใครจะเสี่ยงเลือกไพ่อีกใบหรือเปล่า ในทางตรงกันข้าม เปิดออกมาแล้วเป็น 2 หรือ 7 ก็แน่ยิ่งกว่าแช่แป้งว่าเปลี่ยนไปเลือกอีกใบเถอะ
ต่อให้ไม่สุ่มเลขฐานขึ้นมา โดยสามัญสำนึก เราก็จะมีเลขฐานอยู่ในใจอยู่แล้ว นั่นคือคือ 50 ถ้าไพ่ที่หงายออกมาสูงกว่า 50 โอกาสที่อีกใบจะต่ำกว่าก็มีมาก และในทางกลับกัน และการที่เราสุ่มมั่วเลขฐานขึ้นมา expected value ของมันก็คือ 50 ดังนั้นกลยุทธนี้ก็คือการ "หลอก" ให้เรากลับไปใช้สามัญสำนึก หรือกลยุทธพื้นฐานโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
Q.E.D. -- quite easily done (after almost ten fucking years!)
H. Hesse's "Klingsor's Last Summer"
เฮสเสอะเข้าใจอะไรบางอย่างที่เราไม่เข้าใจ เราไม่รู้แม้กระทั่งว่าสิ่งที่เขาเข้าใจนั้นคืออะไร หนทางสู่การดับทุกข์ พระผู้เป็นเจ้า ศาสนาหนึ่งเดียว หรือการสิ้นสูญของเวลา งานเขียนของเฮสเสอะแตะลึกลงไปถึงจิตวิญญาณ และชวนให้เราตั้งคำถามถึงตัวตนของมนุษย์
ไม่ได้ค้นมาละเอียดว่า Klingsor's Last Summer คืออะไรกันแน่ รวมเรื่องสั้นสามเรื่องของเฮสเสอะชิ้นนี้ ถูกตีพิมพ์โดยใช้เรื่องสุดท้ายเป็นชื่อปก แต่นี่คือเรื่องที่เราชอบน้อยที่สุด อีกสองเรื่องคือ A Child's Heart และ Klein and Wagner ล้วนมีความโดดเด่นกว่ามาก
A Child's Heart เป็นการมองโลกแบบที่มีแต่เด็กเท่านั้นที่จะมองเห็น แต่ขณะเดียว วิธีนำเสนอของมัน มีแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะนำเสนอออกมาได้ เราเข้าใจสิ่งที่ตัวเอกของเรื่องต้องเผชิญ ความรู้สึกผิดกับเรื่องไร้สาระ การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และความเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทนทานความเจ็บปวดนี้ ขณะเดียวกัน ต้นเหตุของความรู้สึกนี้ช่างแสนไร้สาระ มีแต่เด็กเท่านั้นที่จะมองอะไรแบบนี้ แต่เฮสเสอะก็ช่างบรรยายทุกเม็ดความรู้สึกละเอียดยิบ จนไม่หลงเหลือน้ำเสียงความเป็นเด็กในตัวละคร ความขัดแย้งตรงนี้ทำให้เรื่องสั้น A Child's Heart น่ามหัศจรรย์เอามากๆ
ในทางตรงกันข้าม เราไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเอก ไคลน์ ใน Klein and Wagner ต้องเผชิญ ชีวิตของเขากลับไปกลับมาระหว่างสองขั้วสุดโต่ง บางช่วงขณะไคลน์อยู่กับปัจจุบันอย่างถึงที่สุด จิตใจของเขาพิสุทธิ์ใส พร้อมเปิดรับทุกอย่างในโลก (ไม่เกินเลยนัก ถ้าจะเรียกประสบการณ์ของไคลน์ช่วงนี้ว่าการ "ตรัสรู้") แต่ในวินาทีถัดมา ไคลน์กระโดดกลับลงมาภาวะจิตใจที่ตกต่ำยิ่งกว่าสามัญชนเสียอีก ทุกครั้งที่เขาพบพานความสุข หรือหยิบยื่นความสุขให้แก่ผู้อื่น ไคลน์วิ่งหนีออกจากห้องพักกลางค่ำคืน หนหนึ่งเขานอนค้างกลางป่าอยู่ท่ามกลางทุ่งเบอรี อีกหนหนึ่งเขาต้องตัดสินใจว่าจะจบชีวิตตัวเองดีหรือเปล่า
เราไม่เข้าใจไคลน์ แต่เฮสเสอะบรรยายความรู้สึกตัวละครได้อย่างงดงาม ชวนติดตาม Klein and Wagner เต็มไปด้วยความฉงนอันแสนหฤหรรษ์ แม้เราจะเข้าใจตัวละครน้อยลง แต่เหมือนระหว่างที่อ่าน เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
Klingsor's Last Summer เป็นบันทึกช่วงสุดท้ายของจิตกรคลิงซอร์ผู้โด่งดัง เสียชีวิตขณะอายุเพียง 42 ปี ไม่ชอบเรื่องนี้ ดูเป็นอีกด้านของเฮสเสอะที่สนุกกับความแรนดอม เหมือนใน Journey to the East
ไม่ได้ค้นมาละเอียดว่า Klingsor's Last Summer คืออะไรกันแน่ รวมเรื่องสั้นสามเรื่องของเฮสเสอะชิ้นนี้ ถูกตีพิมพ์โดยใช้เรื่องสุดท้ายเป็นชื่อปก แต่นี่คือเรื่องที่เราชอบน้อยที่สุด อีกสองเรื่องคือ A Child's Heart และ Klein and Wagner ล้วนมีความโดดเด่นกว่ามาก
A Child's Heart เป็นการมองโลกแบบที่มีแต่เด็กเท่านั้นที่จะมองเห็น แต่ขณะเดียว วิธีนำเสนอของมัน มีแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะนำเสนอออกมาได้ เราเข้าใจสิ่งที่ตัวเอกของเรื่องต้องเผชิญ ความรู้สึกผิดกับเรื่องไร้สาระ การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และความเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทนทานความเจ็บปวดนี้ ขณะเดียวกัน ต้นเหตุของความรู้สึกนี้ช่างแสนไร้สาระ มีแต่เด็กเท่านั้นที่จะมองอะไรแบบนี้ แต่เฮสเสอะก็ช่างบรรยายทุกเม็ดความรู้สึกละเอียดยิบ จนไม่หลงเหลือน้ำเสียงความเป็นเด็กในตัวละคร ความขัดแย้งตรงนี้ทำให้เรื่องสั้น A Child's Heart น่ามหัศจรรย์เอามากๆ
ในทางตรงกันข้าม เราไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเอก ไคลน์ ใน Klein and Wagner ต้องเผชิญ ชีวิตของเขากลับไปกลับมาระหว่างสองขั้วสุดโต่ง บางช่วงขณะไคลน์อยู่กับปัจจุบันอย่างถึงที่สุด จิตใจของเขาพิสุทธิ์ใส พร้อมเปิดรับทุกอย่างในโลก (ไม่เกินเลยนัก ถ้าจะเรียกประสบการณ์ของไคลน์ช่วงนี้ว่าการ "ตรัสรู้") แต่ในวินาทีถัดมา ไคลน์กระโดดกลับลงมาภาวะจิตใจที่ตกต่ำยิ่งกว่าสามัญชนเสียอีก ทุกครั้งที่เขาพบพานความสุข หรือหยิบยื่นความสุขให้แก่ผู้อื่น ไคลน์วิ่งหนีออกจากห้องพักกลางค่ำคืน หนหนึ่งเขานอนค้างกลางป่าอยู่ท่ามกลางทุ่งเบอรี อีกหนหนึ่งเขาต้องตัดสินใจว่าจะจบชีวิตตัวเองดีหรือเปล่า
เราไม่เข้าใจไคลน์ แต่เฮสเสอะบรรยายความรู้สึกตัวละครได้อย่างงดงาม ชวนติดตาม Klein and Wagner เต็มไปด้วยความฉงนอันแสนหฤหรรษ์ แม้เราจะเข้าใจตัวละครน้อยลง แต่เหมือนระหว่างที่อ่าน เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
Klingsor's Last Summer เป็นบันทึกช่วงสุดท้ายของจิตกรคลิงซอร์ผู้โด่งดัง เสียชีวิตขณะอายุเพียง 42 ปี ไม่ชอบเรื่องนี้ ดูเป็นอีกด้านของเฮสเสอะที่สนุกกับความแรนดอม เหมือนใน Journey to the East
R. Patel's "The Value of Nothing"
ได้ข่าวว่าสำนักพิมพ์มติชนกำลังจะออก The Value of Nothing ฉบับแปลไทยปลายปีนี้ น่าตื่นเต้นจริงๆ ...ขอหลับหูหลับตา อยู่ในโลกแห่งความฝันว่า การออกหนังสือใหม่ในเมืองไทยเป็นเหตุแห่งการเฉลิมฉลอง ผู้คนจะแห่กันไปซื้อหนังสือเล่มนี้เพื่ออ่าน อ่านเสร็จแล้วก็จะมาถกกันอย่างกว้างขวาง...ช่างน่าตื่นเต้น
ก็จะไม่ให้ตื่นเต้นได้อย่างไร ท่ามกลางกีฬาสี ความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายสามารถหาอาวุธใหม่ๆ หรือข้อความที่สนับสนุนความคิดของตัวเองได้จากหนังสือเล่มนี้ด้วยกันทั้งนั้น ที่เป็นอย่างนี้เพราะพาเทลไม่ได้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์เล่มนี้โดยนึกถึงเมืองไทย เอาเข้าจริงพาเทลน่าจะแทบไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเมืองไทยเลย (นอกจากการ "บวชต้นไม้" ที่เขาเขียนอย่างชื่นชมเอาไว้ใหญ่โต) ถึงพาเทลจะเขียนหนังสือจากจุดยืนทางอุดมการณ์ แต่มันช่างเป็นอุดมการณ์ที่ตัดผ่าน ทะลุทั้งสองฝ่ายความขัดแย้งในเมืองไทยได้อย่างสวยงาม
นี่คือหนังสือ "ด่าทุนนิยม" เราอยากเสริมด้วยว่าด่าชนิดฮาร์ดคอร์เลย คือไม่ใช่แค่ว่าทุนนิยมไม่ดี เพราะคนไม่ดี เพราะนักการเมืองโกง เพราะการผูกขาดการค้า แต่สิ่งที่ผิดพลาดของทุนนิยมอยู่ที่ปรัชญาพื้นฐาน ตลาดเสรีเลย ดังนั้นไม่ต้องแก้ เพราะแก้ยังไงก็ไม่สามารถทำให้กะปิมันหอมขึ้นมาได้ (ถึงพาเทลจะแอบถอยก้าวสั้นๆ ตอนท้ายเล่มว่า เรายังไม่ควรยกเลิกระบบตลาด หรือทรัพย์สินส่วนบุคคล)
แน่นอนว่าในหนังสือที่ด่าทุนนิยมแบบนี้ คำถามที่ตามมาโดยพลันคือ "อะไรคือทางเลือกใหม่" น่าสนใจว่าพาเทลตอบมายืดยาวในครึ่งหลังของหนังสือ ด้วยการไม่ตอบอะไรเลย เขาเพียงแค่ตามไปรายงานการเคลื่อนไหวของมวลชนในสถานที่ต่างๆ เพื่อยกตัวอย่างการต่อสู้กับทุนนิยมในระดับท้องถิ่น (รวมไปถึงการบวชต้นไม้ ต้านเขื่อนในเมืองไทยด้วย) คำตอบของพาเทลคือ เราไม่สามารถสู้กับระบบทุนนิยมด้วยอีกระบบ หรืออีกทฤษฎีหนึ่ง แต่ต้องสู้ด้วยการเคลื่อนไหวท้องถิ่นที่ผันแปรไปตามสถานการณ์ (แม้แต่ศิษย์อาย แรนด์อย่างเรา ก็ยังยอมรับคำตอบกำปั้นทุบดินแบบนี้ได้ เพราะมันคือการนำความย้อนแย้ง และ paradox มาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี) พาเทลสรุปว่า มนุษย์เราต้องหนีออกจากความเป็น "มนุษย์เศรษฐศาสตร์" (ที่ถูกกำหนดโดยตลาด) มาเป็น "มนุษย์การเมือง" ที่ต่อสู้บนวิถีการเมือง เพื่อยกระดับอำนาจของตัวเอง
น่าตื่นเต้น น่าตื่นเต้นจริงๆ จะรอวันที่คนไทยหาซื้อเล่มนี้มาอ่านและถกเถียงกัน
ก็จะไม่ให้ตื่นเต้นได้อย่างไร ท่ามกลางกีฬาสี ความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายสามารถหาอาวุธใหม่ๆ หรือข้อความที่สนับสนุนความคิดของตัวเองได้จากหนังสือเล่มนี้ด้วยกันทั้งนั้น ที่เป็นอย่างนี้เพราะพาเทลไม่ได้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์เล่มนี้โดยนึกถึงเมืองไทย เอาเข้าจริงพาเทลน่าจะแทบไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเมืองไทยเลย (นอกจากการ "บวชต้นไม้" ที่เขาเขียนอย่างชื่นชมเอาไว้ใหญ่โต) ถึงพาเทลจะเขียนหนังสือจากจุดยืนทางอุดมการณ์ แต่มันช่างเป็นอุดมการณ์ที่ตัดผ่าน ทะลุทั้งสองฝ่ายความขัดแย้งในเมืองไทยได้อย่างสวยงาม
นี่คือหนังสือ "ด่าทุนนิยม" เราอยากเสริมด้วยว่าด่าชนิดฮาร์ดคอร์เลย คือไม่ใช่แค่ว่าทุนนิยมไม่ดี เพราะคนไม่ดี เพราะนักการเมืองโกง เพราะการผูกขาดการค้า แต่สิ่งที่ผิดพลาดของทุนนิยมอยู่ที่ปรัชญาพื้นฐาน ตลาดเสรีเลย ดังนั้นไม่ต้องแก้ เพราะแก้ยังไงก็ไม่สามารถทำให้กะปิมันหอมขึ้นมาได้ (ถึงพาเทลจะแอบถอยก้าวสั้นๆ ตอนท้ายเล่มว่า เรายังไม่ควรยกเลิกระบบตลาด หรือทรัพย์สินส่วนบุคคล)
แน่นอนว่าในหนังสือที่ด่าทุนนิยมแบบนี้ คำถามที่ตามมาโดยพลันคือ "อะไรคือทางเลือกใหม่" น่าสนใจว่าพาเทลตอบมายืดยาวในครึ่งหลังของหนังสือ ด้วยการไม่ตอบอะไรเลย เขาเพียงแค่ตามไปรายงานการเคลื่อนไหวของมวลชนในสถานที่ต่างๆ เพื่อยกตัวอย่างการต่อสู้กับทุนนิยมในระดับท้องถิ่น (รวมไปถึงการบวชต้นไม้ ต้านเขื่อนในเมืองไทยด้วย) คำตอบของพาเทลคือ เราไม่สามารถสู้กับระบบทุนนิยมด้วยอีกระบบ หรืออีกทฤษฎีหนึ่ง แต่ต้องสู้ด้วยการเคลื่อนไหวท้องถิ่นที่ผันแปรไปตามสถานการณ์ (แม้แต่ศิษย์อาย แรนด์อย่างเรา ก็ยังยอมรับคำตอบกำปั้นทุบดินแบบนี้ได้ เพราะมันคือการนำความย้อนแย้ง และ paradox มาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี) พาเทลสรุปว่า มนุษย์เราต้องหนีออกจากความเป็น "มนุษย์เศรษฐศาสตร์" (ที่ถูกกำหนดโดยตลาด) มาเป็น "มนุษย์การเมือง" ที่ต่อสู้บนวิถีการเมือง เพื่อยกระดับอำนาจของตัวเอง
น่าตื่นเต้น น่าตื่นเต้นจริงๆ จะรอวันที่คนไทยหาซื้อเล่มนี้มาอ่านและถกเถียงกัน
ข้าน้อยสมควรตาย!
โอ้ มายบุดดา! ลองเปิดอีเมลดูเป็นครั้งแรกในรอบครึ่งปี มีจดหมายเข้ามาเป็นภูเขาเลากา หลายฉบับส่งเรื่องสั้นมาร่วมโครงการ R.O.D. ขออภัยท่านนักเขียนทั้งหลายที่ไม่ได้อ่าน ไม่ได้วิจารณ์ ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ จะรีบทยอยจัดให้โดยพลัน
เนื่องจากรักชวนหัวไม่ได้เช็คอีเมลแอคเคาต์นี้เป็นประจำ สำหรับคนที่ส่งอีเมลมา กรุณาโพสบอกในบลอคด้วย (กระทู้ล่าสุดก็ได้) *และ* ช่วยกรุณาใส่ "ชื่อ" ของท่านด้วย (ชื่อปลอมก็ได้) เพราะถ้าโพสเป็น anonymous มันจะส่งเข้า spam ทันที
ตั้งแต่เริ่มวิจารณ์เรื่องสั้นชิงซีไรต์ มีหลายคนเขียนมาถามว่าเล่มไหนเป็นเล่มไหนบ้าง (รวมไปถึงตัวนักเขียนเองด้วย!) ต้องขออภัยจริงๆ ที่บอกไม่ได้ เป็นนโยบายเพื่อ "ความสนุก" ของเกล้ากระหม่อมเองที่จะวิจารณ์ได้เต็มปากเต็มคำ กราบขออภัยมา ณ ที่นี้
เนื่องจากรักชวนหัวไม่ได้เช็คอีเมลแอคเคาต์นี้เป็นประจำ สำหรับคนที่ส่งอีเมลมา กรุณาโพสบอกในบลอคด้วย (กระทู้ล่าสุดก็ได้) *และ* ช่วยกรุณาใส่ "ชื่อ" ของท่านด้วย (ชื่อปลอมก็ได้) เพราะถ้าโพสเป็น anonymous มันจะส่งเข้า spam ทันที
ตั้งแต่เริ่มวิจารณ์เรื่องสั้นชิงซีไรต์ มีหลายคนเขียนมาถามว่าเล่มไหนเป็นเล่มไหนบ้าง (รวมไปถึงตัวนักเขียนเองด้วย!) ต้องขออภัยจริงๆ ที่บอกไม่ได้ เป็นนโยบายเพื่อ "ความสนุก" ของเกล้ากระหม่อมเองที่จะวิจารณ์ได้เต็มปากเต็มคำ กราบขออภัยมา ณ ที่นี้
Subscribe to:
Posts (Atom)