E. Le Grand's "Kundera or The Memory of Desire"


1

ใน The Curtain กุนเดระเล่าประสบการณ์การชมละคร Antigone ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Antigone ว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างแอนธิโกเน หญิงสาวผู้เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และครีออนกษัตริย์ผู้ถือดีในหน้าที่ เนื้อเรื่องจบอย่างโศกนาฏกรรมด้วยความตายของหนุ่มสาว และความพ่ายแพ้ สูญสิ้นของคนชรา Antigoneคือหนึ่งในละครเรื่องโปรดของเด็กหนุ่ม

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กุนเดระมีโอกาสชมโศกนาฏกรรมชิ้นนี้อีกครั้ง แต่หนนี้ครีออนถูกแทนที่ด้วยอดอฟ ฮิตเลอร์ ตอนจบของ Antigone ซึ่งนำแสดงโดยผู้นำพรรคนาซีไม่อาจสร้างความโศกาได้อีกต่อไป

นี่แหละคือโศกนาฏกรรมที่แท้จริงของศตวรรษที่ 20 การจบสิ้นของโศกนาฏกรรม

(หมายเหตุ: Antigone ของกลุ่มกระจันทร์เสี้ยวที่เราเคยชม แม้ไม่ถึงขนาดเปลี่ยนครีออนเป็นทักษิณ ชินวัตร แต่ก็จับได้ว่านักแสดง และผู้กำกับตีความตัวละครตัวนี้สลับไปมา)

2

"ผม" ในเรื่องสั้นเล่าเหตุการณ์ที่ตัวเองเข้าร่วมชุมนุมประท้วงพฤษภาทมิฬให้เพื่อนชาวฝรั่งเศสฟังทางอินเตอร์เน็ต เหตุการณ์แสนเศร้าจบด้วยความตายของหญิงคนรัก กระนั้นมีอย่างหนึ่งที่เจ้าตัวลืมบอกไป ภายหลังจากคืนนั้น ขณะที่เขาร่วมรักอยู่กับรุ่นน้องในชมรม หญิงสาวคนนั้นก็ปรากฎตัวออกมา เธอรอดชีวิตจากการสังหารหมู่ และพบชายหนุ่มล่อนจ้อนอยู่กับผู้หญิงอื่น จากนิยายเพื่อชีวิตเปลี่ยนมาเป็นละครน้ำเน่าในชั่วพริบตา

กุนเดระเคยบอกว่า "Kitsch is the absolute denial of shit." แต่นิยามของเลกรานด์ที่ปรับปรุงมาจากกุนเดระอีกทีน่าจะตรงเป้ากว่า "Kitsch is the absolute forgetting of shit."

3

กุนเดระดัดแปลงปมอพอลโล และไดโอนิซุสของนิทเช่มาเป็นปมดอนฮวน และทริสแทม ดอนฮวนคือผู้ชายเจ้าชู้ โคจรจากเตียงหนึ่งไปยังอีกเตียงหนึ่ง ส่วนทริสแทมคือตัวแทนความรักยึดมั่นต่อสตรีนางเดียว (โศกนาฎกรรมระหว่างทริสแทม และไอโซดคือที่มาของโรเมโอ กับจูเลียต) นิยายของกุนเดระเล่าโศกนาฏกรรมของดอนฮวน ไม่ใช่โศกนาฏกรรมของรักแท้ที่สิ้นหวัง แต่เป็นโศกนาฏกรรมอันเกิดจากเหตุการณ์ซ้ำซาก และผู้หญิงคนแล้วคนเล่า

4

ความซ้ำในสไตล์การเขียนของกุนเดระแบ่งเป็นสองประเภทคือ variation และ polyphonic ซึ่งเป็นศัพท์ดนตรีทั้งคู่ (กุนเดระเริ่มต้นศึกษาทฤษฎีดนตรี ก่อนหันมาหาบทกวี และวรรณกรรม) โดย variation คือการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย แต่คงธีมเดิมเอาไว้ ส่วน polyphonic คือการเล่าหลายเหตุการณ์ จากหลายมุมมองโดยสลับสับเปลี่ยนลำดับเวลา

ความซ้ำยังเป็นแก่นปรัชญาของกุนเดระ ตั้งแต่ที่ประวัติศาสตร์มักจะเกิดเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนถึงการไล่ล่าผู้หญิงคนแล้วคนเล่าของดอนฮวน แม้เลกรานด์จะบอกว่าปมดอนฮวนคือการศึกษาหาความรู้ แต่ในความรู้สึกเรา ดอนฮวน น่าจะเป็นไดโอนิซุสมากกว่าอพอลโล (แม้นิทเช่จะพูดถึง "The Don Juan of knowledge" ก็ตาม แต่พออ่านข้อความนี้ใน The Dawn เต็มๆ รู้สึกเหมือนนิทเช่กำลังเสียดสีคนประเภทนี้มากกว่า)

5

ในบทบรรณาธิการหนังสือเล่มหนึ่ง ราษฎรอาวุโสแสดงความคิดเห็นต่อต้านหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ โดยเรียก สี่แผ่นดิน ว่าเป็นนิยายน้ำเน่าเต็มไปด้วยโฆษณาชวนเชื่อ อยากรู้นักว่านิยาย หรือบทกวีชิ้นไหนกันแน่ที่ท่านว่าไม่น้ำเน่า ต้องออกแนว socialist realism เท่านั้นหรือเปล่า ในโลกอันคับแคบของท่าน นักเขียนรัสเซียคงมีแต่แมกซิม กอกี้ ท่านคงไม่เคยได้ยินชื่อมายาคอฟสกี้ futurist ที่ถูกบีบบังคับให้ผลิตแต่งานรับใช้พรรคคอมมิวนิสต์ จนสุดท้ายทนความกดดันไม่ไหว ฆ่าตัวตาย หรือบูลกาคอฟ ผู้เขียน Master and Magarita นิยายเสียดสีสังคมโซเวียตซึ่งถูกห้ามตีพิมพ์

หรือถ้าท่านเคยได้ยินก็คงลืมนักเขียน และนิยายอุจจาระเหล่านั้นไปแล้ว

6

เลกรานด์วิเคราะห์ "ความบังเอิญทางเลขคณิต" ในนิยายทั้งเจ็ดเล่มของกุนเดระ (ไม่นับสามเล่มหลังซึ่งเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส) ทุกเล่มมีเจ็ดบท ตั้งแต่ Laughable Loves จนถึง Immortality (กระทั่ง The Art of Novel ซึ่งเป็นรวมบทความยังมีเจ็ดบทเลย) ยกเว้นแค่ Farwell Waltz มีห้าบท ซึ่งก็ยังถือเป็นเลขคี่อยู่ดี

เลกรานด์ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มาก แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า หรือถ้ากุนเดระตั้งใจจริง ก็คงแค่ขำๆ

7

ชีวิตเราเองก็ซ้ำซาก รู้จักผู้หญิงหลายคน หักอกไปบ้าง บางคนก็หักอกเรา คนเราคล้ายลูกเหล็กตู้เกม กระทบกระทั่งกันทั้งที่ไม่มีใครอยากเจ็บและไม่มีใครอยากทำให้ใครเจ็บ แต่เราไม่ใช่ทั้งดอนฮวน และทริสแทม โศกนาฏกรรมของเราคือการที่เรายังสามารถหัวเราะให้กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าโศกเศร้า หรือเจ็บปวดแค่ไหน

5 comments:

P.Hongsaton said...
This comment has been removed by a blog administrator.
laughable-loves said...

ที่คุณ hongsaton พูดมาก็มีเหตุผลครับ

สำหรับจุดยืนของผมที่มีต่ออาจารย์คึกฤทธิ์ อ่านได้จากโพสเก่า (ถ้ายังไม่เคยอ่านนะครับ)

http://laughable-loves.blogspot.com/2007/08/blog-post_12.html

ส่วนเรื่องวิจารณ์วรรณกรรม ยังไม่แน่ใจเหมือนกับครับว่าจะไปได้สักแค่ไหน เพราะนอกจากคุณ hongsaton ก็ยังไม่มีใครติดต่อมาเลย ถ้าคุณรู้จักใครที่สนใจ ก็ลองชักชวนกันมานะครับ

laughable-loves said...

ขอเอา โพสคุณ p.hongsoton มาแปะใหม่นะครับ

"ผมว่า จุดประสงค์ของ....แกคงไม่ได้จะกระแทกเข้าที่ "สี่แผ่นดิน" หรอกครับ แต่แกวิจารณ์หม่อมคึกฤทธิ์ในฐานะเป็น establishment มากกว่า, และด้วยการที่หม่อมแกมีเครื่องมือเป็นวรรณกรรมและการเขียน "สี่แผ่นดิน" จึงถูกควบรวมเข้าไปด้วยเป็นธรรมดา-และทั้งคุณและผมก็รู้จุดยืนของ....อยู่แล้ว ไม่ว่าหม่อมจะเขียนสี่แผ่นดิน หรือสามแผ่นดิน ก็คงจะโดนเหมือนกัน

ผม post ว่าสนใจหัวข้อการจะวิจารณ์วรรณกรรมอย่างตรงไปตรงมาไปแล้วนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีส่วนร่วมได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไรจะติดตามครับ

sorre said...

lire l'article dolabuy hermes je lisais ceci dolabuy.ru vérifiez mon blog répliques de sacs de créateurs en gros

Anonymous said...

More hints https://www.dolabuy.co right here high replica bags this article buy replica bags