G. P. Cestaro's "Queer Italia"
Queer Italia รวมบทความว่าด้วยประเด็นเพศที่สามในวรรณกรรม และภาพยนตร์อิตาลีตั้งแต่อดีตกาล (ประมาณศตวรรษที่ 13) จนถึงยุคปัจจุบัน แต่ละบทความถูกเขียนโดยแต่ละนักคิด ซึ่งจับหัวข้อที่แตกต่างกันไป (เซสทาโรเป็นเพียงบรรณาธิการเล่มเท่านั้น ไม่ได้เขียนเอง) ดังนั้นขอมุ่งเป้าไปพูดถึงบทความที่เราชอบสุดในเล่มก็แล้วกัน
Reluctantly Queer พูดถึงความยากลำบากในการเขียนนิยายเพศที่สาม โดยสรุปคือสำหรับนิยายที่มีตัวเอก หรือตัวละครเด่นเป็นเพศที่สาม (ข้อเจาะจงเฉพาะเกย์ก็แล้วกันนะ) คนเขียนไม่สามารถบรรจุผลงานของตัวเองเข้าไปยังขนบวรรณกรรมประเภทอื่นๆ แบบที่เคยเขียนกันมาก่อนได้ ศิลปะเพศที่สามจึงมีลักษณะ "แตกกระจาย" และ "แยกย่อย" ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแต่ละเล่มจะไม่ดี แต่เมื่อมองภาพรวมแล้ว เราจะได้ genre ที่อ่อนแอกว่าศิลปะแบบอื่นๆ
ศิลปะเพศที่ 3 มีลักษณะของการหยิบยืม และอิงขนบศิลปะแนวอื่นอยู่มาก อาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของภาพยนตร์ หรือนิยายเพศที่ 3 อยู่ตรงมันสามารถอิงตัวเองกับขนบ (เช่น รักแห่งสยาม) หรือฉีกตัวเองออกจากขนบ (เช่น สัตว์ประหลาด) ได้สักแค่ไหน ถ้ามองในแง่ดีคือความแปลกใหม่ การที่มันไม่มีขนบให้เกาะ นิยาย หรือภาพยนตร์เพศที่สามจึงสามารถลื่นไหล และหลุดจากกรอบต่างๆ ได้ง่าย แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถบังเกิดกรณี exploitative art ได้เช่นกัน กล่าวคือการใช้ภาพเพศที่สามในลักษณะดูถูกดูแคลน เพื่อจุดประสงค์ในการขับเคลื่อนเรื่องราว (ไม่ยกตัวอย่างแล้วกัน)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
ตอบแล้ว แวะไปดูจ้ะ
้เราเพิ่งอัพเดทเพิ่มเติมตะกี้นี้ ถ้าอ่านไปก่อนหน้านี้แล้ว ให้กลับไปอ่านใหม่อีกที เพราะเราเพิ่มมาเยอะมาก
กลับไปอ่านในช่องคอมเมนต์ของเอ็นทรี่ล่าสุดในบล็อกนั้นดูนะ เพิ่งตอบตะกี้
Post a Comment