W. Empson's "7 Types of Ambiguity"


การไปอยู่เมืองนอกมา 12 ปี อาจช่วยให้คุณอ่านมหากาพย์ 600 หน้าของเจม จอยซ์ได้ แต่คุณก็อาจจอดสนิทเมื่อมาเจอกับซอนเนท 14 บรรทัดของเชคสเปียร์ นี่คือสิ่งที่เราเรียนรู้จากการอ่าน 7 Types of Ambiguity หนังสือยาว 300 หน้าของเอมสัน

นี่อาจเป็นหนที่ 5 แล้วกระมัง ที่เราหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน หยิบแล้วก็วาง หยิบแล้วก็วางอยู่แบบนี้ ไม่ใช่ว่าอ่านไม่รู้เรื่อง แต่รู้เรื่องเหมือนเวลาอ่านตำราอาหาร คือไม่มีความเข้าใจมา 8 เปื้อนสมองแม้แต่น้อย

รักชวนหัวไม่ได้อยากตั้งตัวเป็นไม้เบื่อไม้เมากับบทกวี เรามีความเชื่อมาตลอดว่า เพื่อความ 9 หน้าทางสติปัญญา อะไรที่ยิ่งไม่ชอบก็ยิ่งต้องรับประทานเข้าไปเป็นยาขม จริงๆ 7 Types of Ambiguity จำเป็นมากๆ กับเมืองไทยในปัจจุบัน เมื่อกลอนเปล่าได้รางวัลซีไรต์ นี่จะเป็นสัญญาณหรือเปล่าว่าอีกไม่น่าคนจะแห่ไปเขียนกลอนเปล่า เช่นนั้น เราจะเอาอะไรไปตัดสินความงามของบทกวีที่ไม่มีฉันทลักษณ์

เอมสันเสนอว่า "ความคลุมเครือ" นี่ต่างหาก ฉันทลักษณ์ของกลอนเปล่า และเป็นสิ่งที่สร้างความไพเราะให้กับการอ่าน โดยเขากำหนดความคลุมเครือขึ้นมา 7 ชนิด (ทำไมต้อง 7 ด้วย จงใจเพราะเลขสวยหรือบังเอิญ) ฝรั่งน่าจะเชี่ยวชาญเรื่องแบบนี้ เพราะเขาเขียน เขาอ่านกลอนเปล่ากันมานานกว่าคนไทย (กลอนฉันทลักษณ์ของฝรั่ง เผลอๆ บางทีจะ "เปล่า" เสียยิ่งกว่ากลอนเปล่าของไทยอีก)

อ่านๆ ไป ก็พลอยสงสัยว่า ถ้าคนไทยหันมาเขียนมาอ่านกลอนเปล่าจริง แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่สักวันจะเกิด Cult of Pure Sound ขึ้นในโลกตะวันตก คืออ่านแค่เอาเสียง เอาความพอใจ เนื้อหาสาระอะไรโยนทิ้งให้หมด เพราะ "อารมณ์และความรู้สึกนี่แหละ เป็นพลังทางปัญญาอย่างหนึ่งของมนุษย์"

น่าจะยากนะ น่าจะยากชิมิ

No comments: