J. J. Saer's "The Investigation"
รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเป็นคนแนะนำ The Investigation ให้เราอ่าน เคยพุดคุยกับพี่จิ๊บหลายครั้ง พอจะจับรสนิยมแกได้ว่าหนังสือประเภทไหนแกน่าจะชอบ พออ่านเล่มนี้จบ พูดกับตัวเองว่า "เออ...มิน่าล่ะ"
จะอ่าน The Investigation ให้อินจริงๆ ต้องเก็บรายละเอียดทุกหน่วยทุกเม็ด ถ้าทำ close reading ได้จะยิ่งประเสริฐ เป็นหนังสือที่เหมาะแก่การมาศึกษา มากกว่าอ่านเพื่อความบันเทิง จุดเด่นของเซเออร์อยู่ที่ภาษา การเลือกใช้คำเสมือนโยนผู้อ่านเข้าไปยังวงกตแห่งฝันร้าย โดยสุดปลายของมันไม่ใช่ทางออก หากเป็นก้นบึ้งอันไร้ขอบเขต
มอร์วันเป็นหัวหน้าหน่วยสืบสวนตามจับฆาตกรโรคจิตซึ่งไล่สังหารหญิงชรามาแล้วถึง 27 ศพใช่ช่วงเก้าเดือน นอกจากไล่ล่าฆาตกรโหดแล้ว มอร์วันยังต้องรับมือกับฝันร้าย ซึ่งเกี่ยวพันสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก เช่นซิลล่า ปีศาจทะเลในรูปข้างบน (เข้าใจว่าเป็นแรงบันดาลใจให้เดวี่ โจนส์ใน Pirate of the Carribbean)
ที่จริงเหตุการณ์สืบสวนสอบสวนซึ่งเป็นจุดหลักของหนังสือ คือเรื่องราวที่นักวิเคราะห์วรรณกรรมคนหนึ่งเล่าให้เพื่อนอีกสองคนฟัง ไม่มีใครรู้ว่านี่เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องแต่ง ทั้งสามกำลังเดินทางไปตรวจสอบต้นฉบับลึกลับของอดีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ โดยล่องเรือผ่านไปตามลำน้ำแห่งอาเจนติน่า ระหว่างทางพวกเขาพบกับการอพยพของฝูงผีเสื้อ
เซเออร์พยายามร้อยเรียงเหตุการณ์สองอย่าง ซึ่งเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง ให้มีความสัมพันธ์กัน แต่สารภาพว่าจนแล้วจนรอด ก็ยังงงอยู่ดีว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง สไตล์การเขียนได้กลิ่นละตินอเมริกาโชยมาเลย และชวนให้นึกถึง ร้อยปีแห่งความเดียวดาย อยู่ไม่น้อย เป็นหนังสือซึ่งอาศัยสัญลักษณ์ และการตีความอย่างละเอียดค่อนข้างมาก ยอมรับว่าเป็นแนวที่ไม่ถนัดนัก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
I'm glad you finally got a chance to read The Investigation. I really think it's one of the best crime novels I've read. I am not 100% sure what the connection between the two subplots is either. But as I told you in our conversation today, I think one of the things that connects the two is the fact that they are both searches for the "author" whether it's the author of the crimes or the author of the anonymous literary work. Saer even portrays the serial murderer as an artist figure and describes his crimes/crime scenes almost as if they were a work of art.
I also think the other subplot directly comments on the crime subplot albeit in a subtle manner. You seem to believe, for example, that we know by the end of the novel, who the serial murderer is. But there is a scene where Pigeon lets go of a butterfly, and Tomatis tells him it's not the right/same one, but Pigeon says one never really knows anyway. I think this episode applies to the crime subplot and the identity of the serial murderer, i.e. we don't know whether it's Morvan or Lautret.
The relationship between these two characters is also more complicated than it seems. L'autre means "the Other" in French, so Lautret is arguably Morvan's other/double. You should note, for example, that Lautret has an affair with Morvan's wife after they divorced, making Morvan feel like Lautret is taking over his life and identity.
So anyway, I agree with you that there's a lot one can do with the novel in terms of close reading and analysis, but I think it's also a fun read. I've also read another novel by Saer called The Witness but wasn't as impressed with that one.
Post a Comment