J. K. Rowling's "Harry Potter and the Deathly Hallows"


อ่านครับ ไม่ใช่ไม่อ่าน

สังเกตว่าเวลาคนพูดถึงแฮรี่เล่ม 7 เล่มจบนี้ จะชอบหรือไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับว่าบทสรุปของเรื่องตรงใจเขา เธอหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ จะว่าไปมันคงละเรื่องกันนะกับหนังสือดีหรือไม่ ตั้งแต่หยิบแฮรี่เล่มนี้ขึ้นมา สัญญากับตัวเองว่าต่อให้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่คาด ตัวละครที่เราเชียร์ เกิดตายโง่ๆ ก็จะไม่ลงเอากับหนังสือ ดูกันที่เนื้อผ้าว่างั้น ส่วนฝีเย็บเป็นยังไง ปล่อยให้แฟนๆ เถียงกันเอง

ในส่วนการเขียนแล้ว นี่คือแฮรี่พอตเตอร์เล่มที่ดีที่สุด และแล้วโรลลิ่งก็สามารถสื่อสารให้เรารู้ถึงอารมณ์ตัวละครมากไปกว่าใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหน สังเกตมานานแล้วว่าซีรีส์นี้ และตัวผู้เขียนเองคงมีความผูกพันบางอย่างกับหิมะ ฉากที่ดีๆ หลายอย่าง ทั้งในฉบับภาพยนตร์ และหนังสือ มักเกิดท่ามกลางความขาวโพลนของทัศนียภาพ ในเล่มนี้โรลลิ่งใช้หิมะสื่อสารความปล่าวเปลี่ยว อับจนหนทาง แฝงบรรยากาศเงียบๆ เหงาๆ แต่ก็สวยจับใจ บทที่ชอบที่สุดคือบทที่ 16 ตอนที่แฮรี่กลับไปเยี่ยมสุสานของพ่อและแม่ในคืนวันคริสมาสต์ เป็นครั้งแรกที่เห็น layer ทางภาษาที่พยายามสื่อหลายๆ สารเข้ามาพร้อมกัน อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสภาพการเหยียดเลือดในโลกพ่อมดแม่มด ซึ่งชัดเจนว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเยอรมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรลลิ่งประสบความสำเร็จในการวาดภาพสังคม น่าเสียดายที่มันไม่ได้ต่อไปไหน โผล่ๆ มาช่วงต้นๆ เล่มแล้วก็หาย

ใครดูภาพยนตร์ภาค 5 จะพบว่าไอ้หนังสือยาวกว่าพันหน้านี่ก็สามารถย่นย่อให้เหลือหนังสองชั่วโมงกว่าๆ ได้แฮะ ปัญหาของโรลลิ่งคือคุณเธอชอบใส่รายละเอียดตรงนู้นตรงนั้น ซึ่งเราก็ได้ประจักษ์กันเสียทีว่ามันฟุ่มเฟือยขนาดไหน (หลายอย่างที่ผู้เขียนพูดถึงในเล่มหลังๆ แทบไม่ได้เอามาต่อเติมหรือใช้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน) ในทางกลับกันเล่ม 7 นี่เนื้อๆ ทั้งนั้น ยังคิดไม่ออกเลยว่าเอามาแปลงเป็นภาพยนตร์ได้อย่างไร ในเมื่อทุกอย่างมันสำคัญไปหมด ถ้าจะติอย่างเดียวก็คือการดำเนินเรื่องค่อนข้างซ้ำซาก แต่เราโทษเล่ม 5 เล่ม 6 มากกว่าที่ยืดเรื่องมาจนถึงภาคนี้ ถ้าแม่คุณเปิดฉาก horcrux ตั้งแต่เล่ม 5 แล้วให้ค่อยๆ ไล่ล่ากันตั้งแต่เล่ม 6 เล่มนี้ก็คงไม่ต้องหนาปึก

อ๋อ เล่มนี้แฮรี่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนแล้วนะครับ จริงๆ โรลลิ่งน่าจะให้แฮรี่ออกมาจากฮอคเวิร์ตได้ตั้งนานแล้ว ถึงแม้ว่าจุดเด่นของซีรีส์นี้จะอยู่ที่การผนวกโรงเรียน และคาถาเข้าด้วยกัน กระนั้นตั้งแต่เล่มหลังๆ เป็นต้นมา เริ่มชัดเจนแล้วว่าข้อจำกัดตรงนี้ส่งผลแง่ลบแค่ไหนบ้างกับการดำเนินเรื่อง อีกจุดที่ชอบมากคือความ mystical เคยคุยกับเพื่อนนานแล้วว่าโรงลิ่งเป็นนักเขียนแฟนตาซีที่จืดชืดที่สุด เธอสร้างโลกพ่อมด แม่มดที่ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลอง กฎเกณฑ์ ไม่มีตำนาน ไม่มีความเชื่อใดๆ ทั้งสิ้น อะไรที่คุณเห็น ก็เป็นเช่นนั้นแหละ ในเล่มนี้โรลลิ่งใส่ตำนาน deathly hallows ลงไปซึ่งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศมนตราให้กับหนังสือเวทมนตร์ ถือเป็นการปิดฉากอย่างสวยงามให้กับการผจญภัยมโหฬารเรื่องนี้

โลกในดวงตาข้าพเจ้า (มนตรี ศรียงค์)


ถ้าให้จำกัดความความรู้สึกเราที่มีต่อ โลกในดวงตาข้าพเจ้า คงไม่ถึงกับชอบเสียทีเดียว ใกล้เคียงกับคำว่า "น่าเอ็นดู" มากกว่า รู้สึกแปลกๆ ที่จะเรียกผลงานชิ้นนี้ว่า "น่าเอ็นดู" อย่างแรกก็คือมันไม่ใช่บทกวีสำหรับเด็ก และตัวผู้เขียนก็อายุมากกว่าเราเกือบรอบกว่า แต่ก็คิดคำอื่นไม่ออกจริงๆ

ผลงานชิงซีไรต์ของคุณมนตรีเล่มนี้เต็มไปด้วย "ความก้ำกึ่งอันน่าเอ็นดู" ความก้ำกึ่งในที่นี้เริ่มตั้งแต่กลวิธีนำเสนอ อยู่ตรงกลางระหว่างฉันทลักษณ์ และกลอนเปล่า ซึ่งเราชอบ ชอบที่มันอ่านง่าย อะไรที่คุณมนตรีต้องการบอกผู้อ่าน แกสื่อสารตรงไปตรงมา ไม่ต้องมาดัดแปลงวลี คำ ภาษาให้เข้ากรอบ และไปๆ มาๆ กลับกลายเป็นว่าสัมผัสสระ พยัญชนะถูกขับให้โดดเด่นขึ้น เพราะมันมาแบบเหนือคาดคิด ยกตัวอย่าง "ดูเหมือนว่า / ดวงตาอ้างว้างเราว่างเปล่า / เสียงผิวปากเรียกนกให้ผกเงา / ส่อชัดความเศร้าของเงาตา" เป็นกลอนอ่านแล้วสะดุดกึกกัก ชวนให้สนุกสนานไปอีกแบบ ถ้าพูดถึงเฉพาะฉันทลักษณ์ บทที่เราชอบสุดคือ มะลิลา ส่วนที่สอง คุณมนตรีใช้คำซ้ำขับจุดเด่นท่วงจังหวะ ทำนองกลอนได้อย่างดี

ความก้ำกึ่งอีกประการคือในเชิงความคิด ปรัชญา หลายบทกลอนของ โลกในดวงตาข้าพเจ้า เกิดจากการที่คุณมนตรีเฝ้าสังเกตสิ่งแวดล้อม ปลุกปล้ำความรู้สึกตัวเองบนหน้ากระดาษ จนเกิดเป็นความคิดอ่านบางประการ ซึ่งแม้ไม่ได้หลักแหลม แต่ก็กระตุ้นเตือนให้ผู้อ่านสนุกคิดไปกับแก ตรงนี้เป็นเส้นบางๆ เลย เพราะถ้าผู้เขียนปลี่ยน "ความคิดอ่านบางประการ" ให้กลายเป็น "ข้อสรุป" เราจะมองกลอนด้วยสายตาติดลบขึ้นมาทันที ชายคนรักของช่างเสริมสวย คือตัวอย่างที่ดีของสารแบบเปิดกว้าง

ที่มันน่าเอ็นดู เพราะบางครั้งก็เหมือนคุณมนตรีหยอกล้อตัวเอง และผู้อ่าน อย่างกลอนชุดคาวบอย ซึ่งเป็นซีรีติดกันกันสี่ห้าบท อะไรจะขนาดนั้นกับตัวละครตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งในสังคมเมือง หรือ เงาสะท้อนบนประตูกระจก ที่อดขำไม่ได้ว่า จะเกินไปหน่อยแล้ว กะอีแค่เห็นเงาตัวเองนี่นะ แต่เพราะความทีเล่นทีจริงของมัน ทำให้รู้สึกเอ็นดู แทนที่จะต่อต้าน อย่าง นิพพานในร้านหมี่เป็ดศิริวัฒน์ ก็จบได้ผ่างถึงใจว่า "วันเป็นวันเดือนเป็นเดือนปีเป็นปี / คนขายหมี่จะไปนิพพานแล้ว!"

แวนโก๊ะ แก้วกาญจน์

เปลี่ยนบรรยากาศบ้างครับ

...ฉันค้นคว้าหาคำตอบ เท่าไหร่ไม่เจอ เพราะอะไรเหตุใดถึงไม่ลืมเธอสักที...หรือต้องรอให้เธอบอก ฉันเป็นส่วนเกิน ที่บังเอิญผ่านมาแล้วทำให้เธอกับเขาวุ่นวาย...

...เธอจะร้ายเพียงใด อดทนไว้เข้าใจโดยดี เคืองไม่มี ยังภัคดี โดยไม่เคยเปลี่ยนแปลง...

...อยากแสดงให้เธอ รู้ซึ้งถึงความจริงจังจริงใจ ด้วยยังหวังซักวัน ฟ้ารู้ถึงคำรำพันของฉันเมื่อไหร่ สะกิดใจบอกเธอ ให้ช่วยพิจารณา...

...ฉันไม่เคยคิดแข็งข้อ หรือบังอาจขอ เพราะยังเจียม และเตรียมและหัวใจของคนส่วนเกิน...คบฉันไว้เหมือนเป็นเพื่อน ช่วยเตือนเพศภัย ทุกเมื่อไหร่ปลอบใจ ร้องไห้คราใดจะขอเช็ดน้ำตา...

...ปรารถนาเวียนวน ตามประสาของคนเคยเคียง จึงร้องเรียน เวียนแวะวน ทนแม้จะถูกหยาม...

...จะพยายามให้เธอ เว้นที่ภายในดวงใจของเธอให้กับฉัน ได้ยืน รกร้างเยือกเย็นเดียวดายเจียนตายไม่หวั่น จะทำใจแบ่งใจ ให้ฉันนิดหนึ่งพอ...แบ่งใจให้ฉัน...นิดหนึ่งพอ

เผอิญ af สัปดาห์ที่ผ่านมาเอา จิ๊บรด มาร้องก็เลยอดนึกถึงพี่แจ้ไม่ได้ ทั้งที่จริงๆ เพลง จิ๊บรด เป็นของวงพลอยนะครับ อันที่จริงเราก็เข้าใจมาตลอดว่า รักเก่าๆ ต้นฉบับคือแกรนเอกซ์ ก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าแกรนเอกซ์ไปคอฟเวอร์สามหน่อมาอีกที เพลง นิดหนึ่งพอ นี่เถียงกับเพื่อนมาไม่รู้กี่คนแล้วว่า "ไม่ใช่ของฟรายเดย์นะ ของพี่แจ้ต่างหาก"

เกร็ดนิดหนึ่ง ฟังมาจากคอนเสิร์ตพี่แจ้ คนแต่งทำนอง นิดหนึ่งพอ คือพี่โอม ชาตรี (music director คนปัจจุบันของ af) พี่โอมมาขอให้พี่แจ้แต่งเนื้อ พี่แจ้ก็เลยพยายามแต่งโดยใส่คำว่า "ฟ้า" ลงไป เพราะเป็นชื่อแฟนของพี่โอม เพลงนี้ไม่มีเนื้อซ้ำครับ ถือเป็นเพลงไทยป๊อปที่สวยงาม สมบูรณ์แบบที่สุดเพลงหนึ่ง

หมู่บ้านในแสงเงา (โกสินทร์ ขาวงาม)


อืม...ดอกคูนนี่ก็สวยเหมือนกันแฮะ สังเกตว่าดอกไม้ไทย ต่างจากดอกไม้ฝรั่งตรงที่มันจะสวยสุด เวลาอยู่รวมกันเป็นช่อ เหมือนบทกวีไทย จะอ่านให้ได้อรรถรสสุด คงต้องอ่านกันเป็นเล่ม นี่!

สารภาพเลยว่าไม่ใช่คนอ่านกลอน หนังสือรวมบทกวีส่วนใหญ่ที่ซื้อมาจะวางทิ้งไว้ในห้องน้ำ (ไม่ใช่ด้วยความไม่เคารพนะครับ แต่รู้สึกว่าขนาดความยาว และเวลาที่ใช้อ่านแต่ละบท มันเหมาะจะเอาไปวางไว้ตรงนั้น) พอปีนี้ซีไรต์เป็นกวี ก็ตั้งใจไว้ว่าจะร่วมสนุก อ่านทุกเล่มให้จบก่อนประกาศ แล้วทายผล ขอบคุณร้านหนังสือดอกหญ้า la ที่อุตส่าห์สั่งซื้อมาจากเมืองไทย ไม่อย่างนั้นก็คงหมดโอกาสแล้ว ย้ำอีกครั้งว่าไม่ใช่คนอ่านกลอน ถ้าจะเขียนถึง หมู่บ้านในแสงเงา ก็คงต้องเขียนอย่างงูๆ ปลาๆ เท่านั้นแหละ

ก่อนอื่นก็เหมือนกับที่เกริ่นไว้แหละ เวลาอ่านรวมบทกวี อ่านเป็นเล่มนี้ได้ใจกว่าอ่านแยกจริงๆ ด้วย รู้สึกเหมือนแต่ละบทมันช่างส่งเสริมอารมณ์กัน หมู่บ้านในแสงเงา ก็เหมือนกับชื่อเรื่องนั่นเอง คือเป็นกลอนเกี่ยวกับวิถีชีวิตชนบท ที่แทรกเอาความทันสมัยเข้าไป เฉกเช่นเดียวกับบทกวีของคุณโกสินทร์ที่มีคำฝรั่งแทรกเอาไปให้เราอมยิ้มมุมปาก ถึงรูปลักษณ์จะดูเหมือนเชยๆ (พูดถึงเด็ก คนชรา ชาวนา และท้องทุ่ง) แต่เนื้อหาทันสมัยไม่เลว คุณโกสินทร์ใส่ความคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระยะๆ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ปฏิเสธ ความศิวิไลซ์ วัฒนธรรมตะวันตก หรือก่นด่าทุนนิยมเหมือนนักคิดรุ่นก่อน (อย่าง ภรรยาของชาวต่างประเทศ ก็ให้ฝรั่งจอห์นเป็นพระเอกเต็มๆ เลย) ไม่ได้มีกลอนแม่สายประเภทน้องนางบ้านนาเข้าไปขายตัวในเมืองกรุง สรุปก็คือเป็นการมองชนบทด้วยสายตาศิลปินรุ่นใหม่จริงๆ คือหลุดจากกรอบความคิดเมืองล้างป่า ป่าผลาญเมืองอะไรเทือกนั้น

สองบทที่ตรึงใจกว่าเพื่อนคือ มีเธอในชีวิต และ ดอกคูนสีชมพู เรื่องแรกพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน และสิ่งแวดล้อม อ่านแล้วอิน ส่วนเรื่องหลังจะว่าเป็นกลอนหนุ่มสาวธรรมดาก็ได้ แต่อารมณ์ของเรื่องถึง อ่านไปก็เลยยิ้มไป

ขอชมสำนักพิมพ์เครือข่ายนักเขียนแห่งประเทศไทยหน่อย (เป็นสำนักพิมพ์หรือเปล่า) จัดวางรูปเล่มได้สวยงาม กระดาษถนอมสายตาอ่านง่าย ปกจากฝีมือสีน้ำอาจารย์เทพศิริ และรูปประกอบในเล่มของคุณโกสินทร์เอง ซึ่งส่งเสริมอารมณ์กลอนได้เป็นอย่างดี ถ้าจะแอบตินิดหนึ่งคือมีการใช้รูปซ้ำ ไม่รู้ตั้งใจหรือเปล่า แต่ถ้าไม่มีรูปเหลือจริงๆ ไม่ใส่เลยดีกว่าไหม

T. Williams's "27 Wagons Full of Cotton and Other Plays"


จำไม่ได้แล้วแฮะ ตอนที่อ่านบันทึกความทรงจำ วิลเลียมส์พูดถึงภาพยนตร์เรื่อง Baby Doll ว่าอย่างไร คุ้นๆ ว่าแกค่อนข้างพอใจในระดับหนึ่ง แต่ก็อดจิกไม่ได้ว่าถ้าได้แบรนโดมาเล่นบทนำ ภาพยนตร์เรื่องนี้คงออกมาดีกว่านี้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะ Baby Doll ซึ่งสร้างมาจากบทละครสั้น 27 Wagons Full of Cotton มีหลายอย่างชวนให้นึกถึง The Streetcar Named Desire เอาเข้าจริงๆ คือบทที่วิลเลียมส์อยากให้แบรนโดเล่นใน Baby Doll แทบจะเป็นบทเดียวกันเลยด้วยซ้ำ ผู้ชายที่ใช้ความป่าเถื่อนของเพศผู้หยอกเย้ายั่วผู้หญิงให้มาเป็นของตัว ไม่เคยดู Baby Doll ก็ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าคาซานดัดแปลงบทละครสั้นๆ อย่าง 27 Wagons Full of Cotton มาเป็นหนังยาวได้อย่างไร

นอกจากประเด็นเรื่องเพศแล้ว หลายบทละครใน 27 Wagons Full of Cotton ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับ The Streetcar Named Desire วิลเลียมส์ชอบเล่นกับตัวละครซึ่งหลงวนเวียนในอดีต หรือวิมานอากาศ เกือบครึ่งของละครสั้นเป็นดังที่ว่า The Lady of Larkspur Lotion, Portrait of Madonna, และ Hello from Bertha แทบจะเป็นเรื่องเดียวกันก็ว่าได้ ส่วน The Last of My Solid Gold Watches แค่เปลี่ยนเพศตัวเอกจากผู้หญิง เป็นผู้ชาย และ Something Unspoken แทรกประเด็นการเมืองเข้ามา

ถามว่าน่าเบื่อไหม แปลกที่ช่วงแรกเหมือนจะน่าเบื่อ แต่พอยิ่งอ่าน กลับยิ่งเสพเสน่ห์มากขึ้น เหมือนพอรู้ว่าวิลเลียมส์กำลังจะพูดเรื่องอะไร เราก็เอาสมาธิไปจดจ่อกับวิธีนำเสนอแทน ยิ่งพอมีฉากที่เรารู้สึกว่าเป็นเขามากๆ ก็ยิ่งรู้สึกดี เหมือนความสนุกในความคุ้นเคย สองเรื่องสไตล์นี้ที่ชอบสุดคือ Lord Byron's Love Letter และ This Property is Condemned โดยดัดแปลงวิธีนำเสนอนิดหน่อย เรื่องแรกอาศัยบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อย่างลอร์ดไบรอน ผูกเข้ากับงานมาดิกราส์ในนิวออลีน ออกมาเป็นตอนจบที่น่าจดจำ เรื่องที่สองลดอายุตัวละครหลักเป็นเด็กหญิง ถือเป็นการชิ่งสองต่อ ควบสองประเด็นเข้าด้วยกันคือความบริสุทธิ์ของวัยเยาว์ และความเบาหวิวว่างเปล่าของความเพ้อฝัน

บทละครอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่น The Strangest Kind of Romance เรื่องรักโรแมนติกระหว่างคนกับแมว บทละครซึ่งประเด็นน้อยมากๆ ไม่น่าจะเวิร์ค แต่ก็ยังเวิร์คได้ ส่วน Auto Da Fe ว่าด้วยสองแม่ลูกคลั่งศาสนา แปลกดีที่วิลเลียมส์สามารถสร้างความขัดแย้งจากสองตัวละครที่นิสัยเหมือนๆ กันได้ อีกเรื่องหนึ่งที่ดังไม่แพ้ 27 Wagons Full of Cotton คือ The Purification เพราะเป็นบทละครเรื่องเดียวในรูปแบบกลอน

R. Carver's "Cathedral"


อ่านรวมเรื่องสั้น Cathedral แล้วก็อดสงสัยไม่ได้จริงๆ ว่า short-storyist ฝรั่งอย่างคาร์เวอร์มีหลักเกณฑ์ในการรวมเรื่องสั้นอย่างไร เหมือนคนไทยหรือเปล่าที่พอเขียนครบ "กติกา" ก็ตัดเอารวมเล่มทีหนึ่ง (เท่าที่นึกออกมีแต่คุณวินทร์กระมังที่พยายามสร้างธีมให้กับหนังสือของตัวเอง) ที่สงสัยอย่างนี้ไม่ใช่อะไรหรอก แต่ตอนที่คาร์เวอร์เลือกเรื่องสั้นมาลง Cathedral แกจงใจโละทิ้งเรื่องที่อ่อนสุดของแกหรือเปล่า อ่านรวมเรื่องสั้นมาสามเล่มแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเล่มนี้แพ้อีกสองเล่มกระจัดกระจาย

สำหรับนักเขียนที่เราชื่นชอบ การได้อ่านรวมเรื่องสั้นซึ่งด้อยกว่าปรกติของเขา ชวนให้ฉงน และน่าคิดว่าอะไรกันแน่เป็นสาเหตุให้คุณภาพตก ตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าแต่ละเรื่องสั้นใน Cathedral ยาวๆ ทั้งนั้น เคยพูดไปแล้ว จุดเด่นของคาร์เวอร์คือการใช้สัญลักษณ์ ภาษาสื่อสารกับคนอ่านพร้อมๆ กันหลายระดับ หลายใจความ แต่พอมาเป็นเรื่องยาวๆ เลยเหมือนกับคราวนี้แกอาศัยกระแสการเล่าเรื่อง (narrative flow) มากเกินไป ซึ่งไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่ก็ต้องยอมรับว่าคาร์เวอร์ไม่ใช่นักแต่งเรื่อง

อีกปัญหาคือพอเรื่องสั้นมันไม่ปึก ทำให้เราได้เห็นจุดอ่อนอื่นๆ เช่น ความซ้ำซากของประเด็น ตัวละคร และสถานการณ์ มีนักวิจารณ์อเมริกันบอกว่าเรื่องสั้นคาร์เวอร์เกี่ยวกับความฝันสิ้นสลาย ซึ่งก็จริงเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของครอบครัวแตกแยก สามี ภรรยาทะเลาะเบาะแว้งหรือแยกทาง พ่อ แม่ ทะเลาะกับลูก ตั้งแต่อ่านคาร์เวอร์มาเป็นสิบๆ เรื่อง ยังไม่เจอเรื่องไหนเลยที่ไม่มีฉากในบ้าน และมีแต่ตัวละครที่เป็นโสด

(นอกเรื่องนิดหนึ่ง คนที่เขียนเรื่องสั้นสไตล์คาร์เวอร์ และสามารถเขียนได้ยาวคือ Jane Bowles ลองกลับไปอ่านบลอคเก่าๆ ดู โบลเลสสามารถไหลตัวเองไปกับกระแสของการเล่าเรื่อง พร้อมๆ กับใส่อิมเมจต่างๆ เข้ามาให้หัวผู้อ่านได้ The Compartment คือเรื่องสั้นใน Cathedral ที่ได้กลิ่นโบลเลสมากๆ )

จริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีทุกเรื่อง อย่าง Cathedral เรื่องเอกของหนังสือก็ต้องยอมรับแหละว่าเจ๋ง เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกที่เราอ่าน จำไม่ได้แล้วว่าอาจารย์วิชาอะไรแยกออกมา Chef's House และ Careful ก็ไม่เลว โดยเฉพาะเรื่องหลัง เล่นกับความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจ เมื่อมีวัตถุแหลมๆ แหย่เข้าไปในรูหู เรื่องสั้นคาร์เวอร์ก็ยังดีแบบคาร์เวอร์คือใช้แง่มุมภาษา เล่ห์กลจิตวิทยา แม้ความยาว และส่วนเกินของมันจะทำให้แต่ละเรื่องดูเกะกะก็ตาม

ที่น่าสนใจคือ A Small, Good Thing ไม่ใช่ว่ามันดีหรอกนะ แต่ครึ่งแรกเหมือนกันเปี๊ยบกับอีกเรื่อง (ขออนุญาตขี้เกียจค้นชื่อแล้วกันนะครับ) เรื่องของพ่อและแม่ที่ลูกชายถูกรถชน อยากรู้มากว่าคาร์เวอร์คิดยังไง แกไม่พอใจกับเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เลยเขียนอีกเรื่องขึ้นมา (เรื่องไหน?) แกลืมไปแล้ว เลยเผลอเขียนซ้ำ (อันนี้คงยาก) หรือว่าจงใจเล่นกันง่ายๆ เอาเรื่องเก่ามาดัดแปลง อย่างไรก็ดี ชอบอีกเรื่องหนึ่งที่ตอนนี้จำชื่อไม่ได้มาก ได้อ่าน A Small, Good Thing ก็เหมือนได้เห็นอีกแง่มุมของเรื่องนั้น ช่วยให้เราเข้าใจตอนจบมากขึ้น

ถึงโดยรวมจะผิดหวัง แต่ Cathedral เป็นผลงานที่เหมาะสมสำหรับให้ใครที่ไม่เคยอ่านคาร์เวอร์ได้ลองมาสัมผัสดู พอเน้นการเล่าเรื่องก็เข้าถึงคนอ่านกลุ่มใหญ่ได้ง่ายกว่า

บ้านริมทะเล (อัศศิริ ธรรมโชติ)


เหมือนว่างเลยเนอะ อัพเดทบลอคแทบทุกวันเนี่ย

อืม...ไม่รู้จะแสดงความคิดเห็นยังไงดีกับ บ้านริมทะเล ถึงหน้าปกจั่วหัวว่าเป็นรวมเรื่องสั้น แต่เอาเข้าจริงๆ เหมือนบันทึกย้อนอดีตมากกว่า คุณอัศศิริเองก็เขียนท้ายปกว่า "ผมต้องการรวมรวมคนรู้จักเอาไว้เพื่อเป็นการรำลึก ต้องการให้เห็นว่า ชีวิตคนพวกนี้เป็นชีวิตสามัญธรรมดา แต่มีความสำคัญ...นักเขียนควรจะหยิบชีวิตที่คนส่วนใหญ่มองข้ามมาเขียน" ในแง่หนึ่งนี่เป็นหนังสือที่อ่านเพลินๆ เพราะบรรดา "คนธรรมดา" ของคุณอัศศิริที่ตบเท้าเข้ามาใน บ้านริมทะเล ล้วนแล้วแต่ไม่ธรรมดาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพี่เห ที่ริส่งจดหมายรักจีบสาว แต่เขียน และอ่านหนังสือเองไม่เป็น ทอมมี่ผู้หลงใหลรถไฟ ทหารแตรขวัญใจเด็กๆ และอื่นๆ

แต่ถ้าถามว่าแต่ละเรื่องมีความสมบูรณ์ในแง่เรื่องสั้นไหม ก็คงตอบว่าไม่ บางทีเหมือนคุณอัศศิริจงใจทิ้งเรื่องราวให้ค้างๆ คาๆ หรือด้วยมุมมองที่จำกัด (เพราะผ่านสายตาเด็กชาย ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นตัวคุณอัศศิริเอง) ทำให้เราได้แค่สัมผัสเหตุการณ์เพียงผิวเผิน แต่กลายเป็นว่าความไม่สมบูรณ์ตรงนี้กลับช่วยเสริมเสน่ห์ให้ บ้านริมทะเล ทำให้หนังสือบางๆ เล็กๆ เล่มนี้เสมือนกล่องของขวัญอันมีคุณค่า ยิ่งบวกกับภาษาสวยงาม ชวนฝันของมันด้วยแล้ว

ตามชื่อเรื่องบอกนั่นแหละ ฉากในเรื่องพัวพันกับท้องทะเล ค่ายทหาร และหมู่บ้านริมฝั่ง คุณอัศศิริ เหมือนคุณประชาคมคือต่างเป็นนักเขียนลูกน้ำเค็มโดยแท้ แม้ว่าอารมณ์คุณอัศศิริจะออกแนว ประมงน้ำตื้นริมฝั่ง ส่วนคุณประชาคมหนักไปทางเรือหาปลาก็ตาม คุณอัศศิริเขียนถึงทะเลได้ดี เป็นสถานที่ซึ่งแฝงความเศร้า เต็มไปด้วยการพัดพราก ความโหดร้าย แต่บางขณะก็สวยงามจนแทบลืมหายใจ เฉกเช่นเดียวกับชีวิต

จริงๆ อยากเปรียบเทียบหนังสือเล่มนี้กับผลงานที่โด่งดังสุดของคุณอัศศิริ ขุนทอง แต่เล่มนั้นอ่านเมื่อปีมะโว้ ลืมไปแล้วว่าเป็นยังไง แต่ก็เชื่อว่าต้องเป็นผลงานที่ดีไม่แพ้ บ้านริมทะเล แน่ๆ อยากพูดอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ แต่คิดไม่ออกจริงๆ เอาเป็นว่านี่คือหนังสือเล่มเล็กที่น่าอ่าน และคงใช้เวลาอ่านจบได้ไม่เกินหนึ่งชั่วนั่งร้านกาแฟ ขอแนะนำครับ

R. Davies's "High Spirits"


เคยตอบคุณสายฝนฯ ในบลอค 10 นักเขียนในดวงใจว่าลำดับนั้นจัดตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว จวบจนบัดนี้ได้อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ถ้าให้จัดใหม่ คงได้มีการเปลี่ยนแปลงแน่ๆ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ว่าก็คงเป็นโรเบิร์ตสัน เดวีส์ผู้นี้แหละ เพราะยิ่งอ่านงานแกเท่าไหร่ ก็ยิ่งโดนเท่านั้น

แค่คอนเซปของ High Spirits ก็ว้าวไม่รู้จะว้าวยังไงแล้ว นี่คือรวมเรื่องผี ตลอดช่วงสิบแปดปีที่เดวีส์เป็นครูใหญ่วิทยาลัยมัสเสย์ ทุกงานเลี้ยงคริสมาสต์อาจารย์แต่ละคนผลัดกันขึ้นไปให้ความบันเทิง เล่นดนตรี อ่านบทกวี สิ่งที่เดวีส์แสดงคือเล่าเรื่องผี โดยมีจุดมุ่งหมายคือ "ให้ยารักษาแก่มัสเสย์ เพื่อต่อต้านโรคระบาดยุคใหม่ นั่นคือความมีเหตุมีผล" และ High Spirits คือการรวบรวมเรื่องเล่าดังกล่าว ทุกเรื่องมีมัสเสย์เป็นฉากหลัง โดยแกขึ้นต้นเรื่องทำนองว่า "...ผมกังวลใจยิ่งนักที่มหาวิทยาลัยเรา บ้านแห่งความรู้ กลับกลายเป็นที่หลอกหลอนของหมู่วิญญาณ..." หรือ "...มีคนถามผมว่าทำไมไม่เล่าเรื่องผีคนจน ผีนักวิทยาศาสตร์ หรือผีเครื่องจักรบ้าง ผมตอบคนเหล่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าปีนี้วิญญาณชนิดไหนที่มาเยี่ยมเยีอน..." หรือ "...ปีนี้ยังไม่เจอผีเลย แล้วจะเอาอะไรมาเล่าให้พวกคุณฟังดี..."

ตอนที่รู้ว่า High Spirits เป็นรวมเรื่องสั้นผีสาง สนอกสนใจว่านักเขียนเก่งๆ เขาแต่งเรื่องผีกันยังไง เรื่องผีเป็นหนึ่งใน genre ที่เขียนยากสุด ปัญหาคือความซ้ำซาก สมัยเด็กๆ เราเป็นแฟนต่วยตูน ประสบการณ์ปีศาจ แต่พออ่านไปได้สักสอง สามเล่มก็เริ่มเบื่อ เพราะทุกเรื่องมีสูตรตายตัว ไอ้ที่น่ากลัวหรือไม่น่ากลัว ขึ้นกับว่าปีศาจตนใดจะหาวิธีหลอกได้เอิกเกริกกว่ากัน เดวีส์คงตระหนักจุดนี้ เรื่องผีแกเลยไม่ได้มีเป้าหมายหลอกให้คนฟังกลัว หลายเรื่องก็ออกจะน่าขบขันด้วยซ้ำ

เดวีส์เขียนเรื่องผีแบบโกธิค หลายเรื่องได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายโกธิคดังๆ เช่น When Satan Goes Home for Christmas ก็มาจาก Young Goodman Brown ของฮอว์ธอร์น การเผชิญหน้าระหว่างผู้เขียน และซาตานในคืนคริสมาสต์ หรือ The Cat That Went to Trinity ดัดแปลงแฟรงเกนสไตน์ เรื่องของแฟรงค์ ไอนสไตน์ญาติอัลเบิร์ต ไอนสไตน์เรียนชีววิทยา แล้วต้องการประยุกต์ความรู้นั้นมาสร้างสุดยอดแมวให้มัสเสย์ เดวีส์เข้าใจใส่มุกตลกหยอกล้อกับ genre ที่ตัวเองเขียน เช่น "...เมื่อไหร่ที่คนเราเจอเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ จะเกิดแรงบันดาลใจให้พูดภาษากอธิค (หมายถึงภาษาโบราณ คำศัพท์เชยๆ ) ขนาดแฟรงค์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ยังหนีอิทธิพลตรงนี้ไม่พ้น..."

หลายเรื่องสั้นถูกแต่งเพื่อเสียดสีสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น เช่น The Kiss of Khrushchev คือเจ้าชายกบ ที่หยิบประเด็นคอมมิวนิสต์เข้ามาผสม หรือ The Ugly Spectre of Sexism เข้าใจว่าตอนนั้นมัสเสย์คงถูกหนังสือพิมพ์โจมตีประเด็นเหยียดเพศ เดวีส์เลยให้วิญญาณสิทธิสตรีประกอบไปด้วยเศษหนังสือพิมพ์เก่าๆ ส่วนวิญญาณเหยียดเพศคือกระทิงยักษ์ สัญลักษณ์ของวิทยาลัย (ตอนที่ทั้งสองฝ่ายสู้กันในลีลามาธาดอร์ เดวีส์อุทานออกมาว่า "เฮมมิงเวย์ช่วยด้วย!") บางเรื่องก็เต็มไปด้วยมุกตลกใน จับอาจารย์คนนู้นคนนี้มาแซว มาเป็นตัวละคร

เคยบอกว่าเราไม่เข้าใจโรเบิร์ตสัน เดวีส์อย่างน้อยการได้ High Spirits ก็เหมือนเราเข้าใจอัจฉริยะของนักเขียนแคนาดาผู้นี้เข้าไปอีกก้าว

S. Bedbury's "A New Brand World"


ขอสานต่อประเด็น "นาครนิยม" จากบลอคที่แล้ว ถ้ามีคนถามเราว่าภาพไหนของกรุงเทพซึ่งติดตรึงความทรงจำสุด คงตอบว่าทิวทัศน์จากสถานีรถไฟฟ้าสยามสแควร์ เมื่อประมาณห้า หกปีก่อน สมัยมองไปทางมาบุญครองแล้วเห็นป้ายโฆษณา orange ผู้หญิงผู้ชายอยู่คนละห้อง ต่างฝ่ายต่างใช้แก้วแนบกำแพง พยายามแอบฟังว่าเกิดอะไรขึ้นอีกฝั่ง ชอบภาพนี้ โดยเฉพาะคำโปรย "พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น" ไม่ว่า orange จะ (ถูกหาว่า) พยายามขายมือถือ หรือหลอกลวงผู้บริโภคขนาดไหน ไม่มีใครปฏิเสธประโยคนี้ได้ "พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น"

ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ในเมืองใหญ่ก็คือพวกป้ายโฆษณา และสโลแกนคำขวัญขายสินค้าพวกนี้เอง กุนเดระเคยตั้งข้อสังเกตอย่างชาญฉลาด (เช่นเคย) ใน Identity ว่าคำขวัญโฆษณาคือยุคใหม่ของวรรณกรรม ไม่บ่อยหรอกที่นักเขียนระดับนี้จะพูดอะไรยกย่องอาชีพคู่แข่งอย่าง copywriter ยอมรับว่าตอนที่อ่านข้อความนี้ครั้งแรก ยังไม่ค่อยเข้าใจมันดีนัก จนได้อ่าน A New Brand World ของเบดเบอรีถึงได้ตระหนักว่า เออจริง ในยุคที่ผู้คนมีเวลาอ่านหนังสือน้อยลง โฆษณาคือวรรณกรรมในยุคปัจจุบัน (แน่นอนไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็คงไม่มีใครเขียนคำขวัญให้เป็น Anna Karenina ได้ แต่อย่างน้อยประโยคสั้นๆ "พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น" ก็มีคุณค่ากว่านิยายบางเล่มด้วยซ้ำ) เบดเบอรีใช้ประสบการณ์สมัยเป็นผู้บริหารยี่ห้อให้กับไนกี้และสตาบัคส์เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ บอกก่อนว่าจุดประสงค์ และสิ่งที่เราได้จากหนังสือเล่มนี้ อาจต่างจากที่ผู้เขียนตั้งใจ เบดเบอรี่เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นฮาวทู ทำยังไงคุณถึงจะสร้างยี่ห้อสินค้าติดตลาดเหมือนสองบริษัทนั้นได้ แต่สำหรับเรา นี่คือคู่มือการอ่านเมือง ผ่านป้ายโฆษณา

ประเด็นหลักของ A New Brand World คือเป้าหมายการโฆษณาไม่ใช่อย่างที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่เพียงสร้าง Brand Awareness ให้ผู้บริโภครับรู้ว่ามีสินค้าคุณอยู่ในตลาด กระทั่งคุณสมบัติความดีงามของสินค้า ก็เป็นเพียงเป้าหมายรองๆ การโฆษณา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับยี่ห้อ คือการส่งข้อความระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค คุณต้องการสื่อสารว่ายี่ห้อสินค้าคุณ transcend ไปหาอะไร (ตรงนี้เองที่ใกล้เคียงกับวรรณกรรมมากๆ ) อย่างสัญลักษณ์นางเงือกข้างบน ที่เมืองไทยอาจไม่ชัดเจนนัก แต่สำหรับที่อเมริกา นี่ไม่ใช่แค่กาแฟ แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งความผ่อนคลาย สถานที่สะอาดๆ ให้เข้าไปนั่งอ่านหนังสือได้นานตามสะดวก แลกกับราคากาแฟหนึ่งแก้ว คำพูดสั้นๆ ที่พยายามสื่อออกมาคือ "ยินดีต้อนรับ"

ถ้าเราแยกออกระหว่างเป้าหมายเพื่อการขายสินค้า และอะไรดีๆ ซึ่งซ่อนอยู่ อยากสรุปว่าส่วนหนึ่งซึ่งทำให้ประสบการณ์เมืองน่ารื่นรมก็คือป้ายโฆษณาเหล่านี้เอง MK ไม่ได้แค่พยายามบอกเราว่า "มากินร้านฉันสิ" แต่ความหมายลึกๆ ของ "กินอะไร...กินอะไร..." คือการใช้เวลาอยู่กับเพื่อน และคนที่คุณรัก โฆษณาคลาสสิกของมาม่า "เสียงอะไร...เสียงหมูสับ" หมายถึงการผจญภัย โลกอันน่าตื่นเต้นซึ่งรอคุณออกไปค้นหาทุกวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ "ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ" คือความเอาใจใส่ของทิฟฟี่ต่อคนไทย

ถึงตอนนี้เราจะยังอ่าน A New Brand World อย่างผู้บริโภค แต่สักวันเราก็ต้องก้าวขึ้นไปเป็นผู้ผลิต เมื่อนั้นหนังสือเล่มนี้จะแสดงคุณค่าของมันอีกครั้ง เป็นหนังสือแนะนำสำหรับพ่อค้า แม่ขาย และผู้ผลิตทุกท่านที่ต้องการสร้างยี่ห้อของตัวเองขึ้นมา

I. Calvino's "Hermit in Paris"


มีศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งที่อยากให้มีแปลเป็นภาษาไทยมากๆ คือ urbanist ที่ใกล้เคียงสุดตอนนี้ก็คง "นักวางแปลงเมือง" แต่เรียกแบบนี้แล้วฟังครอบคลุมแค่แง่มุมทางวิศวกรรมเท่านั้น (เช่นต้องต่อท่อประปา สายไฟฟ้า วางสี่แยกจราจรตรงไหน) urbanist ไม่ได้เป็นแค่วิศวกร แต่ยังเป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ และที่สำคัญผู้ที่นิยม และเข้าใจความสวยงามของเมือง (ว่าแล้วเราก็ขอบัญญัติศัพท์ "นาครนิยม" มาใช้ชั่วคราว ณ ที่นี้)

คนไทยชอบมีความคิดผิดๆ ขึ้นชื่อว่าเมืองแล้วต้องอัปลักษณ์ ต้องแออัด น่าเกลียด ชนบท หรือบ้านนอกสิคือความสวยงาม จริงๆ ใครจะรัก จะชอบอยู่เมือง หรืออยู่ต่างจังหวัด ก็เป็นสิทธิของเขา แต่ปัญหาคือเมื่อเราไม่มีศัพท์ urbanism หรือ นาครนิยม คนก็เลยเข้าใจว่าต้องตจวนิยมกันทั้งประเทศ ผลก็คือไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่าเมืองแบบไหนน่าอยู่ ต้องทำกรุงเทพ หรือเชียงใหม่ให้มีลักษณะไหน เพราะเล่นสมมติฐานกันไปก่อนแล้วว่าเมืองไม่มีสวยหรอก

เราอาจแปะฉลากให้คาลวิโนได้มากมาย กวี นักเขียนเรื่องแฟนตาซี นักเล่านิทาน คอมมิวนิสต์ในผ้าคลุม รวมไปถึงนักนาครนิยมโดยแก่นแท้ หนึ่งในประเด็นที่ปรากฎซ้ำแล้วซ้ำเล่าใน Hermit in Paris รวมบทความกึ่งอัตชีวประวัติคือ เมืองนี่สิคือความสวยงามของแท้ จริงๆ ประเด็นนี้ต่อให้ไม่ต้องอ่านชีวประวัติ ก็พอบอกได้จากงานเขียนหลายเล่มเช่น Marcovaldo หรือหนังสือบทกวี Invisible Cities

พูดถึงอีกฉลากหนึ่งดีกว่า "คอมมิวนิสต์ในผ้าคลุม" ("Cloven Communist" มาจากชื่อนิยายอีกเล่มหนึ่งของแก The Cloven Viscount) ประเด็นนี้ถ้าไม่อ่าน Hermit in Paris คงจับไม่ได้แน่ๆ ถึงอิทธิพลการเมืองต่อชีวิตคาลวิโน เพราะตะแกเล่นเขียนแต่เรื่องแนวแฟนตาซี หรือนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ ความจริงแล้ว คาลวิโนมีอุดมคติทางการเมืองที่แรงมากๆ สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แกเป็นหนึ่งในนักรบใต้ดิน ขณะพ่อแม่ถูกจับเป็นตัวประกัน โดนนาซีขู่ฆ่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า สมัยเรียนหนังสือ แรกสุดอยู่คณะเกษตรศาสตร์ ตอนหลังที่ย้ายมาเรียนวรรณกรรม ไม่ใช่เพราะชอบหนังสือ แต่เนื่องจากสมัยนั้น งานเขียน งานหนังสือพิมพ์เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ในบลอค The Path to Spiders' Nest เคยพูดว่ามองไม่ออกจริงๆ คาลวิโนเป็นคอมมิวนิสต์กับเขาด้วย อ่าน Hermit in Paris จบก็ยังมองไม่ออก และก็เชื่อว่าคาลวิโนก็คงมองตัวเองไม่ออกเหมือนกัน ถ้าให้ประเมินจากอัตชีวประวัติ จะบอกว่าแกมีความเป็นนักปฏิบัติเกินกว่าจะอยู่เฉยๆ เลยต้องลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล ชูธงสังคมนิยมหรือทำอะไรสักอย่าง แต่คาลวิโนก็ ฉลาด เกินกว่าจะอุทิศกายใจให้กับคอมมิวนิสต์ (นึกถึงคำพูดอาจารย์ไทยคนหนึ่ง "ถ้าคุณอายุยี่สิบ แล้วไม่หัวเอียงซ้าย คุณไม่มีหัวใจ ถ้าคุณอายุห้าสิบ แล้วยังหัวเอียงซ้าย คุณไม่มีสมอง")

รู้สึกเหมือนได้เปิดโลกการอ่านแห่งใหม่ให้ตัวเอง Hermit in Paris ทำให้อยากลองอ่านชีวประวัตินักเขียนคนอื่นๆ ที่เราชื่นชอบบ้าง

Bakery & I (กมล สุโกศล แคลปป์/พีรภัทร โพธิสารัตนะ)


Bakery & I เป็นหนังสือที่อ่านแล้วมีความสุขมากๆ ระหว่างอ่านไป ยิ้มไปให้กับภาพอดีตอันหวานชื่น ช่วงที่เบเกอรี่ก่อตั้งใหม่ๆ ตรงกับชีวิตมัธยมปลาย ซึ่งจนบัดนี้ ก็ยังถือเป็นช่วงเวลาที่เรามีความสุขที่สุด

คงพูดเต็มปากไม่ได้ว่าติดตามเบเกอรี่มาตั้งแต่ year 1 เพราะเราไม่ฟัง modern dog แต่จำได้ว่าไปเรียนพิเศษที่คณะวิทยาศาสตร์จุฬา เห็นรุ่นพี่นักศึกษาที่เพิ่งออกจากห้องสอบเล่นกีต้าคลายเครียด หนึ่งในเพลงที่พวกเขาเล่นคือ ก่อน จนบัดนี้ก็ยังรู้สึกว่า ก่อน เวอชั่นนิรนามนั่นแหละสุดแสนจะไพเราะ ถึงจะยืดอดไม่ได้ว่าเป็นแฟนเบเกอรี่ year 1 แต่เราก็เป็นหนึ่งในไม่มีคนที่ซื้อซิงเกิล รักคุณเข้าแล้ว และ รักเธอไม่มีหมด ครั้งแรกที่ฟัง รักเธอไม่มีหมด ขมวดคิ้ว ส่ายหน้า คิดในใจว่าเพลงบ้าอะไรโหวกเหวกอยู่ได้ มาบัดนี้โจอี้บอยกลับกลายเป็นหนึ่งในศิลปินไทยที่เราชอบที่สุด

ส่วนซิงเกิ้ล รักคุณเข้าแล้ว เพลงที่ถูกใจสุดคือ ลมหายใจ เวอร์ชั่นคุณรัดเกล้าซึ่งใส่เข้ามาเป็นเดโมเฉยๆ พูดถึงเพลงนี้ ลมหายใจ ฉบับสมเกียรติ/ป๊อดเป็นธีมประจำตัวเรา จำได้ว่าตอนอ่านหนังสือสอบเข้าเตรียม ฟังอยู่นั่นแหละไอ้อัลบั้ม z-myx พอสอบติดไปแล้ว ถ้าเพื่อนในห้องคนไหนจับกีต้า แล้วเรานั่งอยู่แถวนั้นต้องขอให้มันเล่น ชอบถึงขนาดแปลงเป็นภาษาอังกฤษ (ร้องได้) ส่วน ลมหายใจ ฉบับพี่ต๊งเหน่ง ซื้อ Rhythm & Boyd มาเพื่อจะฟังเพลงนี้โดยเฉพาะ ปรากฏว่าผิดหวัง! รู้สึกเดโมเพราะกว่า แต่โดยรวม Rhythm & Boyd ก็ยังถือเป็นอัลบั้มที่ฟังได้เพลินๆ

ถามว่าตัวเองเริ่มเป็นแฟนเบเกอรี่ตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอบไม่ได้ มันค่อยๆ เข้ามาทีละนิด สมัยนั้นติดรถพ่อไปโรงเรียน แต่บางทีพ่อมีผ่าตัดตอนเช้า เลยต้องไปนั่งอยู่ใต้ถุนตึกตั้งแต่ตอนตีสี่ ตีห้าครึ่ง เคยนั่งดูพระอาทิตย์ขึ้นสนามหญ้าโรงเรียนเตรียม ระหว่างฟัง Tea for Three อัลบั้ม clear หรือระหว่างอยู่ค่าย นั่งรถตู้ไปมหิดล ได้นั่งหน้าเป็นดีเจ เราเอาเทป Soul After Six เปิดให้คนอื่นฟัง ช่วงแรกด่ากันทั้งรถ แต่ไปๆ มาๆ เริ่มมีคนฮัมตาม จนมาถึงเพลง ก้อนหินละเมอ ที่ชนะใจผู้ฟังทั้งเบาะหน้า เบาะหลัง หรือจะเป็นตอนอ่านหนังสือหนักมากจนเจ็บตา ทำอะไรไม่ได้นอกจากนอนเฉยๆ พักสายตา วันนั้น Simplified เพิ่งออกเป็นวันแรก อุตส่าห์ไปซื้อมา บอดๆ ควานหาในกระเป๋า เสียบหูฟังซาวอะเบาต์ สักพักก็ได้ยินเสียงพี่ป๊อดร้องเพลง ห่างไกลเหลือเกิน หรือตอนทะเลาะกับพ่อ ปิดไฟในห้องมืดๆ แล้วฟังเพลง กลัว จากอับลั้ม Fun Fun Fun

แต่ถ้าให้เดาจริงๆ น่าจะเป็นตอนอกหักครั้งแรก เปิดวิทยุแล้วได้ยินเสียงพี่นภ

"คงจะเป็นฝัน เป็นได้แค่นั้น ที่ฉันและเธอนั้นรักกัน มีแต่ความหวาน ในคืนแห่งความฝัน ที่ฉันต้องการเก็บไว้...ความเป็นจริงที่เจอนั้น เธอมีคนที่รู้ใจอยู่ข้างเธอ...อยากหลับตา แล้วนอนหลับชั่วนิรันดร เพื่อจะสานต่อเรื่องราวความฝัน ที่สวยงาม ของหัวใจ...อยากพบเจอเธอ แม้จะเป็นแค่เพียงในฝัน ตราบใดที่ยังมีเธอ ฉันจึงขอนอนอยู่อย่างนั้นเอง"

พูดมาตั้งยาวเหยียดเกี่ยวอะไรไหมกับหนังสือ Bakery & I สาบานได้เลยว่าเกี่ยว นี่คือหนังสือประวัติศาสตร์วงการเพลงไทยที่นานๆ ทีจะมีให้อ่านสักเล่ม ลงท้ายนี้ขอบคุณพี่สุกี้ พี่บอย และพี่สมเกียรติ พลังเด็กของพวกพี่ๆ ไม่ใช่แค่พลิกโฉมวงการเพลง แต่พวกพี่รู้ตัวหรือเปล่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยน้ำมือของพวกพี่ๆ

J. Bowles's "Plain Pleasures"


หมายเหตุ: เคยพูดถึงเจน โบลเลส สตรีนิรนาม ผู้เป็นนักเขียนในดวงใจของเพื่อนนักเขียนหลายคนไว้แล้วในบลอค Two Serious Ladies กลับไปอ่านแนะนำประวัติเธอกันเอาเองนะครับ

ถ้าให้ใช้คำคำเดียวสรุปธีมของเรื่องสั้นต่างๆ ใน Plain Pleasures คำคำนั้นคือ "การผจญภัย" ซึ่งถ้าใครได้ลองอ่านรวมเรื่องสั้นชุดนี้จริง ก็คงอดแปลกใจไม่ได้ว่ามันผจญภัยตรงไหนกัน ไม่เห็นมีล่าสมบัติ เผชิญเหล่าร้าย หรือท่องโลกกว้าง ก็เห็นจะมีแต่ผู้หญิง ชนชั้นกลาง เดินเข้าตรอกออกประตูบ้านคนนู้นคนนี้

ตอนที่พูดถึง Two Serious Ladies เกริ่นไว้ว่างานเขียนของโบลเลสชวนให้เรานึกถึงการ์ตูนของมิยาซากิ ซึ่งแม้ความรู้สึกนี้จะไม่รุนแรงเท่าตอนอ่าน Plain Pleasures แต่ก็ช่วยให้เราบอกได้ว่าตรงไหนกันของโบลเลสที่เหมือนงานของมิยาซากิ นั่นคือจิตวิญญาณของการผจญภัย การที่เราไม่รู้ชะตากรรมดี หรือร้าย อันใดรอคอยตัวละครหลักในเรื่อง

อย่าง Plain Pleasures ตัวเองของเรื่องคือผู้หญิงลึกลับ ซึ่งคนอ่านไม่ได้คุ้ยเคยเบื้องหลังเธอเท่าไหร่ ออกไปทานอาหารค่ำกับเพื่อนบ้านชาย ผู้ซึ่งเรายิ่งไม่รู้จักเขา สุดท้ายดื่มเมามาย จนต้องขอนอนในห้องส่วนตัวเจ้าของภัตตาคาร ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวประกอบที่เพิ่งโผล่มาหน้าสุดท้าย เขายังแสดงเจตจำนงเล็กๆ ที่จะเอารัดเอาเปรียบหญิงสาวไม่ได้สติผู้นี้ ความไม่รู้ซ้อนทับความไม่รู้นี้เอง ทำให้ความรู้สึกเวลาอ่านนิยายของโบลเลสเหมือนเฝ้ามองกระดาษขาวปลิวว่อนในสายลม

Camp Cataract เป็นเรื่องสั้นซึ่งคาโปตชอบมากๆ ว่าด้วยเรื่องพี่น้องสามสาว ซึ่งมีความเพี้ยน ความบ้าในลักษณะที่แตกต่างกัน แฮเรียต พี่สาวคนโตหนีครอบครัวมาอยู่กลางธรรมชาติ ซาดีน แม่บ้านอยากให้พวกเธอทั้งสามกลับมาอยู่ด้วยกัน ส่วนเอวี น้องสาวคนเล็กเป็นคนเดียวที่แต่งงานแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนพยายามบอกคือ "ไม่ใช่ใครก็ได้ที่มีจิตวิญญาณของการผจญภัญอยู่ในตัว" หลังจาก set คาแรกเตอร์สามพี่น้อง ก่อนจะถึงไคลแมกซ์ท้ายเรื่อง คนอ่านจะต้องถามตัวเองซ้ำว่า "ใครกันแน่ๆ " เป็นอีกเรื่องสั้นที่เรายอมรับ

H. Lee's "To Kill a Mockingbird"


พอพูดถึง To Kill a Mockingbird คนส่วนใหญ่มักนึกถึงรูปภาพข้างบน จากภาพยนตร์ปี 1962 ฉากที่เกรเกอรี่ เปกแก้ต่างให้คนดำผู้ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนผู้หญิงผิวขาว ทั้งที่จริงๆ To Kill a Mockingbird ไม่ใช่หนังสือดรามาในศาล เหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะเป็นจุดไคลแมกของเรื่อง แต่ก็เป็นแค่หนึ่งในหลายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในนิยาย และเปกก็ไม่ใช่ตัวเอก To Kill a Mockingbird ว่าด้วยฤดูร้อนปีหนึ่งกับการเจริญเติบโตของเด็กหญิง และเด็กชาย ซึ่งเป็นลูกของเปก พ่อม่าย ทนายความอีกที

พยายามหาคำแปล coming-of-age เป็นภาษาไทย แต่นึกยังไงก็นึกไม่ออก จึงตระหนักว่ามีแต่คนอเมริกันเท่านั้นแหละที่ชอบชื่นนิยายแนวนี้เสียเหลือเกิน ทั้งที่ต้นกำเนิดนิยายมันมาจาก bildungsroman ของประเทศเยอรมันแท้ๆ อีกเรื่องที่โด่งดังมากๆ ก็คือ Catcher in the Rye, Stand by Me รวมไปถึง The Adventure of Tom Sawyer และอื่นๆ อีกมากมาย

ขณะที่นิยายสำหรับเด็ก หรือวัยรุ่นที่นิยมอ่านในประเทศเอเชีย หรือยุโรปเข้าทำนองความงดงาม จินตนาการอันใสซื่อของวัยเด็กซึ่งน่าเสียดายหากถูกความเป็นผู้ใหญ่เข้าครอบงำ (ตัวอย่างไล่กันมาตั้งแต่ เจ้าชายน้อย, ต้นส้มแสนรัก, โต๊ะโต๊ะจัง, หรือล่าสุดก็นี่เลย ความสุขของกะทิ) นิยายแนว coming-of-age เน้นการที่เด็กเรียนรู้โลกของผู้ใหญ่ ซึ่งหลักๆ ก็คือความอยุติธรรมนั่นเอง

To Kill a Mockingbird คือนิยายที่วนเวียนอยู่กับความอยุติธรรม ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ซึ่งมาจากสิ่งที่พ่อสอนลูกๆ ทั้งสอง หลังจากซื้อปืนลมเป็นของขวัญว่า “จะยิงนกบลูเจย์ทั้งหมดเลยก็ได้ ถ้าลูกทำได้ แต่จำไว้นะมันบาปมากที่จะฆ่านกมอคคิ่งเบิร์ดซักตัว” เพราะฝรั่งถือว่ามอคคิ่งเบิร์ดเป็นนกร้องเพลงที่มีประโยชน์ ขณะบลูเจย์ก่อให้เกิดความรำคาญมากกว่า ในแง่หนึ่งจะมองว่าเป็นการไม่ยุติธรรมเอาเสียเลยกับนกบลูเจย์ก็ได้ (หมายเหตุ: ฉบับแปลไทย ผู้บริสุทธิ์ ของศาสนิก ความหมายประโยคนี้ผิดไปเล็กน้อยครับ)

แต่ความอยุติธรรมอย่างยิ่งยวดคือสิ่งซึ่งมนุษย์กระทำต่อกัน โดยใช้ความแตกต่างเรื่องสีผิวเป็นข้ออ้าง ในทีนี้คือคดีข่มขืนทำร้ายร่างกายซึ่งเป็นศูนย์กลางของเรื่อง โจทก์เป็นคนดำ แค่เพียงเท่านี้ต่อให้มี หรือไม่มีการไต่สวน ลูกขุนก็พร้อมจะลงความเห็นแล้วว่าผิดจริง ระหว่างที่เด็กสองคนเฝ้าดูพ่อพวกเขา ซึ่งเป็นคนขาวคนเดียวที่พร้อมจะลุกขึ้น ปกป้องเหยื่ออคติ ทั้งคู่ได้เรียนรู้โลกของผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ทนายความแอคติคัสเป็นตัวละครที่น่าสนใจ ในแง่หนึ่งเขาก็แบนๆ ตามแบบฮีโร่อเมริกัน แต่เมื่อคนตรงอย่างเขาอยู่ในสังคมบิดๆ เบี้ยวๆ คนอ่านก็อดลุ้นไม่ได้ว่าชายผู้นี้จะรับมือกับอุปสรรคซึ่งผ่านเข้าออกชีวิตเขายังไง

To Kill a Mockingbird เป็นหนังสือที่ดี ถ้าจะแอบติดส่งท้าย คงต้องบอกว่าบางช่วงน้ำเสียงฮาเปอร์ ลีออกแนวเทศนาจนเกินไป อย่างฉากที่เด็กหญิงเปรียบเทียบการเหยียดผิวของผู้คนในเมืองที่เธออาศัยอยู่ กับนโยบายของฮิตเลอร์ในประเทศเยอรมัน แต่ก็เข้าใจได้ สำหรับนิยายปี 60 การเหยียดผิวคงเป็นเรื่องที่ยังพบเห็นได้ตามท้องถนน ดังนั้นถ้าจะเทศนาสั่งสอนกันบ้าง ก็น่าจะเหมาะสมแล้ว

M. Amis's "The Information"


The Information ช่วยให้เราเข้าใจกฎฟิสิกส์ข้อที่ว่าด้วยความเฉื่อย กรณีที่แรงสองแรงกระทำต่อวัตถุในทิศตรงกันข้าม ไม่ว่าสองแรงนั้นจะมากมายแค่ไหน หากหักล้างกันพอดี วัตถุจะคงสภาพการเคลื่อนไหวเดิม ถ้าหยุดนิ่ง ก็จะอยู่กับที่ต่อไป ถ้าเคลื่อนไหว ก็จะมีความเร็วคงที่ กรณีหลังค่อนข้างน่าอัศจรรย์ เพราะคงไม่มีใครคิดว่าวัตถุสามารถเคลื่อนที่โดยปราศจากแรงรวมได้ ทั้งที่ทั้งนั้นเพราะในโลกแห่งความจริง สำหรับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ สภาพไร้แรงรวมแทบไม่ปรากฏให้เห็น

พูดมายาวเหยียดเพราะจะบอกว่าเราเองระหว่างอ่าน The Information ก็คือวัตถุก้อนนั้น สองแรงกระทำโต้ตอบไปกลับ แรงชนิดแรกแทบฉุดหนังสือจากมือ เหวี่ยงทิ้ง ส่วนแรงชนิดหลัง พาให้เราอยากอ่านเร่งอ่านมากขึ้น และเร็วขึ้น สรุปคือสุดท้ายอ่านต่อไปได้เรื่อยๆ ด้วยความเฉื่อยนั่นเอง พูดถึงแรงอย่างหลังก่อนแล้วกัน The Information เป็นหนังสือที่น่าสนใจ ตั้งแต่หัวข้อเรื่องที่โดนใจมากๆ เสียดสีตีแผ่แวดวงวรรณกรรม เนื้อเรื่องก็จ๊าบสุดๆ ตัวเอกของเรื่องริชาร์ด ทัล เป็นนักเขียนผู้อิจฉาริษยาเพื่อนร่วมงานที่ประสบความสำเร็จกว่า สุดท้ายจึงวางแผนทำลายชีวิตอีกฝ่าย

อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพแปลกประหลาด เพราะงานเขียนคือศิลปะที่ตัดสินถูกผิดไม่ได้ บางครั้งอะไรที่โง่งมสุดๆ กลับได้รับการตอบรับจากตลาด และนักวิจารณ์เป็นอย่างดี ขณะที่ภาพยนตร์ ดนตรียังพอหาสูตรสำเร็จ แต่การจะเกิด หรือดับของหนังสือเป็นเรื่องไม่อาจคาดเดา มิหนำซ้ำนักเขียนคนดังยังมาพร้อมกับภาพพจน์ว่าต้องเป็นคนฉลาด (ทั้งที่จริงๆ นักเขียนหลายคนก็ไม่ได้มีการศึกษาสูงๆ หรือก็ไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจอะไรดีกว่าไปกว่าคนเดินถนน) เหล่านี้ทำให้นักเขียนเป็นหนึ่งในอาชีพที่น่าขบขันที่สุดในโลก

เคยมีคนบอกว่าแค่ประสบความสำเร็จยังไม่พอ แต่ต้องให้คู่แข่งเราล้มเหลวด้วย ประโยคนี้ใช้อธิบายอาชีพนักเขียนได้ดีมากๆ เอมิสเข้าใจธรรมชาติ และอัตตาของคนในวงการเป็นอย่างดี พลอตตอนหนึ่งซึ่งได้ใจสุดๆ คือริชาร์ดส่งหนังสือพิมพ์หนาๆ ไปให้เพื่อนโดยบอกว่ามีข่าวเกี่ยวกับตัวเขา แต่ไม่ยอมบอกว่าหน้าไหน โดยหวังว่าอีกฝ่ายจะเสียเวลานั่งค้น โดยไม่เป็นอันทำงานทำการ ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ตอนหลังปรากฏว่ามีข่าวเกี่ยวกับเพื่อนคนนั้นจริงๆ เลยกลายเป็นริชาร์ดต่างหากที่ต้องมานั่งเสียเวลาค้นเอง

พูดถึงแรงกระตุ้นให้อ่านไปแล้ว ส่วนแรงกระตุ้นที่อยากเขวี้ยงหนังสือทิ้งคือ สไตล์ของ The Information เป็นแบบ post modern ที่เราเกลียดสุดๆ ในแง่หนึ่ง พลอตหลักของนิยายก็เกี่ยวกับ "ข้อมูล" ตามชื่อเรื่องนั่นแหละ แต่ขณะเดียวกันเอมิสพยายามใช้ "ข้อมูล" มาสร้างความเท่ให้กับหนังสือ เช่นใส่รายละเอียดเกี่ยวกับดาราศาสตร์ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องลงไป การดำเนินเรื่องที่ดูมั่วๆ ไม่มีโครงสร้าง จริงๆ ของแบบนี้ถ้าสั้นไม่เกินสองร้อย สามร้อยหน้าก็คงพออ่านไหวหรอก ถามว่าขำไหม ก็ขำในระดับหนึ่ง (มีอยู่ฉากหนึ่งที่เล่นเอาเราหัวเราะออกมาดังๆ เลย) แต่พอมันปาเข้าไปสี่ร้อยหน้าก็อดคิดไม่ได้ว่ามันช่างไร้สาระ และไม่ชวนอ่านเสียนี่กระไร

ถึงจะชอบภาษาตรงนี้ตรงนี้ และคิดว่าคงติดตามผลงานเล่มอื่นของเอมิส แต่ยังยืนยันว่าหนังสือไม่ใช่ passive art ที่สามารถโยนนู่น โยนนี่เข้าใส่คนอ่านได้แบบภาพยนตร์ หนังสือคือ active art ที่ต้องอาศัยการร่วมมือของคนอ่านด้วย ดังนั้นถ้าผู้เขียนไม่ช่วย หรือไม่ทำให้คนอ่านอยากร่วมมือ ต่อให้แก่นความคิดดีแค่ไหน นี่ก็เป็นผลงานที่ล้มเหลว

10 นักเขียนในดวงใจ

ตัดแปะมาจากที่เคยโพสในเวบบอร์ดเมืองนอก โทษทีครับที่เป็นภาษาอังกฤษ สักวันหนึ่งถ้ามีพลัง จะลองเขียนฉบับภาษาไทยดู

10. Karen Blixen / Isak Dinesen

Toughest choice to make here. Thus far I have read only three. They're all somewhat banal. The most beautiful things about her work are stories within her stories, that is, anecdotes or tales characters told one another. Think of her work as caskets of jewelries. Some're simply breath-taking, like the tale of a blindfold rope-dancer and two philosophies in the first Gothic tale. Ironically I don't think she invented those herself. Perhaps they're what she heard while traveling to all exotic locations. In a way, she is like a grand collector of really good bedtime stories.

Then again those tales by themselves might not amount to much. How she embedded them within her stories -- like a ring-smith crowning his masterwork -- makes them gems. Her prose is hyponotic. Among a few successful who blend fantasy with reality. I always find a novel is not magical by its dreamlike elements, but by the realistic told in a dreamlike fashion. Hardly anyone equals Blixen in the task.

The novels

Out of Africa: her most popular work. A very inspring piece. Regardless of its memo-like horbgorble, the book is wonderfully capturing.

The Winter's Tales: A collection of short stories. My favorite of hers. As said, the stories themselves do not matter as much as what's inside. The Young Man with a Carnation, the first one, contains The Blue Jar, one of the most beautiful short stories ever. Interesting enough, long time ago I read an anthology of short literatures of which only The Blue Jar is compiled by not the whole The Young Man With a Carnation. Am not sure which way I like it better.

Seven Gothic Tales: My least favorite. Some stories are pretty bland. Yet certain ones are quite haunting.

Famous Quotations

"The earth was made round so we would not see too far down the road."

"The cure for anything is saltwater--sweat, tears, or the sea."

***************************************************************

9. Thomas Mann

Can you judge a man reading only his two books? Perhaps not. Yet Buddenbrooks and Doctor Faustus leave a strong enough impression on me to include him in the list. Yes, I have yet read Death in Venice, Magic Mountain, or Felix Krull which, from what I heard, should only strenghten the said impression.

Mann is a strange choice compared to others. Critics say Mann's work is too devoid of scientific reasoning, like a game of bumblepuppy, I beg to differ. His proses are far from magical; in fact they grounds so deep into reality I can't help but admire. Mann wrote with a strong command of story telling. Many authors always rush to the good parts. Mann really knew how to manage time and pages. His novels are huge but never boring. They might took forever building up details, but the results sure are satisfying.

If reading is like walking in a park, most writers concern themselves with million ways to dazzle us -- showing them trees, rocks, bridges, and all those good stuffs. Not Mann. He simply laids down bricks, building a road so solid it's nothing but a comfort to walk on.

The novels

Buddenbrooks: a bourgeoisy, European-to-the-extreme novel, and I love every minute of it! This is an Austen's with a sense of decaying moral and value.

Doctor Faustus: yet another retelling of Faust. This one is a piano composer. The first world war and the German psyche actually add interesting spins to the legend. In addition, reading about classical music always gives me joy.

Famous Quotations

"No man remains quite what he was when he recognizes himself."

"War is a cowardly escape from the problems of peace."

***************************************************************

8. Herman Hesse

Finally a writer whom I feel I've read enough to be authoritative about.

Hesse is perhaps the most wildly read Nobel Laureate asides from Kipling. During the course of my life, I've met three people who claimed him as their favorite authors and read all of his work -- which isn't true by the way. Except for The Glassbeads Game, Hesse's books are meritted from being short. They are also fairly digestible, and have a lot of appeal to teenagers.

His perpetual theme is coming-of-age. Most of his books're about a young man braving the world in seach for truth, beauty, and the meaning of life. He is an anti-institutional, both in academic and romance. Yet not against mentorship system. His characters always find a sage of the wilderness to be pass on knowledge and philosophy. Full of innocence, the novels ring a good bell inside younsters of any era.

Do I always agree with what he said? Actually no. I enjoy the spirit of his books more than their actual contends. Nothing is as intoxicating as youth sometimes.

The Novels

From my favorite to least.

Steppenwolf: A rather strange piece. The central character is an old man. Still the central theme is about discovering life. The sage appears in a form of a mysterious, young girl who might or might not be his long-lost male friend. I always appreciate any book that teaches people the joy of dancing. The last thirty pages contain some weird stuffs, unlike anything I've ever read from him.

Siddhartha: A retelling of the Buddha legend. Siddhartha is the young man, and the sage is a boat rower. The book is a par excellence of Hesse's obsession with eastern philosophies.

Narcissus and Goldmund: His darkest piece. Written after the first world war. The only time, I guess, Hesse started to doubt if this world is worth exploring after all.

Knulp: His most beautiful novels. Optimistic, yet quaint with touchs of sadness. Knulp is the young man, and the sage is perhaps God himself.

Gertrude: Hesse's attempt in writing about music. A rare chance I find the book's short length doesn't do justice to its contend.

Damien: The most Hessest of all Hesse's. Not for a non-believer.

Rosshalde: Based on Hesse's own unhappy household.

Beneath the Wheel: A good example of his anti-institutional idea. The ending is quite out of nowhere.

Famous Quotations

"There is no reality except the one contained within us. That is why so many people live such an unreal life. They take the images outside them for reality and never allow the world within to assert itself."

"Flower send out their scent and their seeds, because they would like to go to each other; but a flower can't do anything to make a seed go to its right place; the wind does that, and the wind comes and goes where it pleases."

***************************************************************

7. Italo Calvino

Calvino, like Hesse, belongs to authors I admire their oeuvre more than any single book. He might not be the greatest writer in this list, but he sure is the most fun.

Take The Castle of Crossed Destinies. Name me one book more imaginative than this in which travelers spending a night at an old castle fell under the spell of silence. They thus relived and told their adventures through the series of tarot cards. The pictorial tales are laid down on a table, forming a big rectangle of which any line and row tells particular story.

Indeed, I know a more imaginative book. It's called If on a Winter's Night a Traveler about "you" in search of the true book of If on a Winter's Night a Traveler, the new novel by Italo Calvino. It's easier to read than to explain.

Calvino is a book lover. He takes texts and pages not as a media, but as an art form by themselves. Remind me of those 18th century printers who always invented an original way to make, bind, and print a new book. Calvino doesn't make a book; he pens it with child-like glee, and the result's full of excitement and innovation. It's not in any way experimental or undecipherable. He writes to be understood; his prose is straight forward. A book, to him, is a playground, and readers can feel him hopping, climbing, having fun with us.


The Novels

From my favorite to least

Our Ancesters: A collection of three novella. Calvino's most straight forward work. A blend of fairy tale and history. With a bit of existentialism, but that philosophy never get as interesting as it is here.

The Castle of Crossed Destinies: An imaginative exercise in story telling. He probably has more fun writing it than us reading it. Still the work is so good you will allow him to have that piece of joy.

If on a Winter's Night a Traveler: Calvino's most famous work. Recommended for a newcomer.

Malcovaldo: A collection of beautiful, short tales about life in a big city.

The Watchers: Calvino's most serious work, and perhaps among his lesser. The concept is quite interesting though, about a guy who is in charge of patients' voting inside an asylum during one local election.

Mr. Palomar: Another short pieces about a man and science.

Invisible Cities: More like a collection of poem than a novel.

Famous Quotations

"A classic is a book that has never finished saying what it has to say."

"Revolutionaries are more formalistic than conservatives."

***************************************************************

6. Angela Carter

After an Italian legend and two German nobel laureates, isn't it a bit digressing to mention this British lady? Definitely not. I have to admit my reading might not cover enough of her work to put me in a judging position. Yet from what I've read, there is no question she is among the contemporary masters of English language. After all she is among the only two on this list whose native language is English.

How to describe Angela Carter? Let's say she is a Fellini of books. There is an obsession with circus and clown, best depicted in Nights at the Circus. And like Fellini's, reading her novels is not too different from paving your way through a labyrinth of erotic dream. Surreal, symbolic, but never pretends to be anything above her readers.

Carter always introduce new characters in every chapter of her novels. Most of the time they are more fun to read about than the protagonists themselves. The style might be too episodic for some who only used to stories with economic characters.

The Novels

Bloody Chamber: A collection of short stories among which include In the Company of Wolves. Admittedly I've never watched the movie, but the story is as scary and erotic as any piece of writing can be.

Heroes and Villains: Her most popular work. Ironically it's my least favorite. I find the book plauged with symbols, and not that rewarding. It's pretty short though, so might be a good introductory piece. Contain an erotic scene featuring plants.

Nights at Circus: A brilliant book with a slightly unsatisfying ending. Contain an erotic scene featuring a tiger, a muscle man, a chimp trainer, and a young reporter.

The Infernal Desire Machine of Doctor Hoffman: I have read only four books by Carter, and they all rank from poor to masterpiece, so why do I put her above Hesse or Mann? Seven words. The Infernal Desire Machine of Doctor Hoffman. I love love love this book. A classic story of good vs evil, or in the language of Desirio, the protagonist, dream vs reality. With a bit of Faust mixing in. It's also a tragic love story with a breath-taking climax (or anti-climax). Contain erotic scenes featuring a girl gangbanged by horses, and a guy by a bunch of Arab acrobats.

Famous Quotations

"Comedy is tragedy that happens to other people."

"I think the adjective "post-modernist" really means "mannerist." Books about books is fun but frivolous."

"Midnight, and the clock strikes. It is Christmas Day, the werewolves birthday, the door of the solstice still wide enough open to let them all slink through."

***************************************************************

5. Fyodor Dostoevsky

Here come the big D. With Dostoevsky, I should first explain why he is not any higher. The answer is simply I've only read Crime and Punishment and The Idiot, gorgeous gorgeous books, definitely among the best ten.

Strictly speaking, Dostoevsky is a nineteenth century writer, and according to the rule, I should only stick to the twentieth. I make an exception here, because his work is thoroughly modern. It weds the traditional story telling of Dicken, Bronte, and Austen, with a more contemplative nature of twentieth century.

A quality I find unmatched in Dostoevsky is his theatrical sense. I love how he construct scenes that stand up and speak for themselves. If you ask me to rank top ten moments from books, the first five are definitely belong to his. Something tells me the man is going to really enjoy cinema as a medium.

The Novels

Crime and Punishment: Dostoevsky's first major novel, and perhaps the most widely read. It's even mentioned in Stranger than Fiction as a book one should finish before one dies. The book features a horde of memorable characters. Scratch that, every major character is well written. I love the crazy aristocratic Katerina and her good-for-nothing husband. Rodya, the theoretical murderer, and Svidrigilov, his sister's admirer/employer. Is there any supporting character more complex than Svidrigailov? He is freakish and threatening, but his end is also heart-breaking. And, yes, Sonya the saint. Speaking of which, how come all Russian names are so freaking cool?

The Idiot: The story of a beautiful person was, contradictory, written almost at the same time as of the guilty. Crime and Punishment might be Dostoevsky's most famous book, but Prince Myshkin is his best known character. Justifiably so, since The Idiot is Myshkin's showcase. Not to say, there is no other good character. Rogozhin, Myshkin's evil opposite and Hippolite, his intellectual opposite. Myshkind's two loves, Nastassya Filippovna, the pitiful beauty who famously flees the altar, and Aglaya his actual true love. The books features scenes such as Hippolite's speech and his subsequent "suicide", the mentioned fleeing the altar, and my personal favorite, Myshkin and the vase incident.

Famous Quotations

"One can know a man from his laugh, and if you like a man's laugh before you know anything of him, you may confidently say that he is a good man."

"The greatest happiness is to know the source of unhappiness."

***************************************************************

4. Gu Long


Gu Long is unique to the list in many ways. The only non-european, the only genre writer, and the only one whose work I've read not in English translation.

Praised as among the grand tripod of modern Wuxia. I'm not too familiar with Liang Yusheng, but will duel to death with anyone who claim Jinyong is greater than Gu Long. Different from his predecessors, Gu Long is a scholar of western literatures, a great admirer of Fleming, Maugham, Hemmingway, Steinbeck, and Puzo. His novels are melting pots of western and Wuxia elements.

And yet, the reason I put him over Nobel Laureates and great European thinkers is Gu Long's the Wuxia writer who truly understand Chinese philosophy. Jinyong can quote all Confucius that he remembers, but Gu Long is the one who inaugurates Zen into storylines and swordplays.

My first Gu Long's is Red Snow. Red Snow was a great swordsman. A bad guy wanted to off him. What did he do? Sent henchmen, weaved elaborate plot -- admittedly to the point of being ridiculous -- not to physically harm Red Snow, but to weaken him emotionally. Amid all bloodbaths and plot twists, the novel is essentially a story of conflicts within a man.

Many time Gu Long has been emulated, but yet never equal. People are caught up by the fighting, the double-crossing, and the freak characters -- his novels also work as fantasy -- but Gu Long's greatest adventure always lies in the chambers of human heart.

The Novels

I have read more than twenty, most of which I don't know original Chinese or English title. I'll only list those that I can find online.

Chu Liu Xiang Xi Lie: The Chu Liu Xiang Series: an equivalent to James Bond. About a great thief who can break into any man's house and any girl's heart.

Duo Qing Jian Ke Wu Qing Jian: Sentimental Swordsman, Ruthless Sword: Who could have believed a book with a title this dumb can be among the great pieces of modern literature. It's a dumb name for one thing, the main character does not use sword. I prefer an alternative Flying Knife of Little Li. Little Li is the mightiest fighter of all Wuxia universe. His knife-throwing skill's second-to-none. Not a flashy, but essentially useless, style audiences are treated in House of Flying Daggers. We're talking about the guy whose knife is so fast it is compared to a meteor, and he never miss. This novel is actually the first of a quadrulogy of which only the first and the last are worth reading. The aforementioned Red Snow is the last in the series.

Jue Dai Shuang Jiao: The Legendary Twins A novel so long that it features some really good along with quite stupid stuffs.

Liu Xiao Feng Xi Lie: The Liu Xiao Feng Series Nicknamed series of the freaks, since they contain so many. The third book though is among Gu Long's top novels.

Famous Quotations

I can't find any English translation, and I don't want to butcher his saying by translating them myself. I'll give you one.

"Men are like porcupines. No matter how cold it is, we cannot hold without hurting each other.

***************************************************************

3. Umberto Eco

To be honour among the top three, it's not enough that an author wrote one or two really good books, or has a solid oeuvre. Umberto Eco, for example, pens The Name of the Rose which easily is among the three best books I've ever read. Foucault's Pendulum, which I consider his weakest, is still a masterpiece by its own right.

Eco is a reason I have never gotten into fantasy genre. Who care about Middle Earth, when there are guys like Eco who can present medieval Europe to be as colorful and imaginative as any other-worldliness, granted he sometimes cross those fine lines devided history, folklore, and mythology. His novels are playgrounds where historical figures run amok, create mayhem, but never wander too far from their real-life characters.

Interesting enough, Eco tries as much to base his tale on reality. If there are fantasy elements, he leaves possibility those might be lies, parts of hallucination, or crank theories. Sometimes that a character -- or readers -- believes in something is enough for those to become real. I used to read an essay where Eco quotes folklores and old wives' tales, once enough people in believe them, gain significant momentum and become as forceful to the flow of history as any factuals.

Eco is also a real scholar. His work is as educative as it's interesting. While many people learn about the Knights of Templar from Da Vinci's Code, Eco approches the same topic in Foucault's Pendulum with much more elegant and responsible manner.

The Novels

The Name of the Rose: No one can praise this book enough. A medieval murder mystery, a discourse on Chirstian philosophy, and a fantastic tale that will chill your spine. A Sherlock Holme-like monk investigates the death in a monastery; and what's a monastery! There is this library that seemingly contain all knowledge ever conceived by mankind.

The Mystic Flame of Queen Llorona: This is the coolest book ever! In fact, it's so cool that I don't even know a book can be this cool. It's a pictorial novel about an amnesian trying to construct the lost memory of his childhool. And you know what? The pictures are all in freaking color. How's about that!

Foucault's Pendulum: A series of crank theories, one after the other. It's often regarded as Eco's second best, although I do not recommend it unless you already are a fan.

Baudolino: A laugh-riot, semi-historical, semi-fantastical tales about a group of adventures looking for the lost kingdom of Christianity. My second Eco's, and also my second favorite. Humour is always a charmful seasoning in all his writing, but Baudolino demonstrates what a funny guy this semiotic professor can be.

The Island of the Day Before: A weird novel of which more than 200 pages absolutely nothing happens. Yet it's anything but boring. The topic is about how medieval philosophers combine science and religion.

Famous Quotations

"But now I have come to believe that the whole world is an enigma, a harmless enigma that is made terrible by our own mad attempt to interpret it as though it had an underlying truth."

"The real hero is always a hero by mistake; he dreams of being an honest coward like everybody else."

"The comic is the perception of the opposite; humor is the feeling of it."

***************************************************************

2. Iris Murdoch

Here is a nice piece of story. The person who introduced me to Dame Murdoch is none other thant Roger Ebert himself. One day I checked out reviews of Iris and found that Ebert was among the few who gave this movie a rotten. His reasoning is that it does not do justice to the life of one of his favorite authors. This makes me very curious since at that point I have never heard of this Murdoch before. So, I read The Sea, The Sea which according to Ebert is a good introduction to her work.

my. oh. my.

The Sea, The Sea is the second most devastating experience I've ever had with book. (The most is Lolita.) The book is not tragic. We are introduced to a protagonist who is not easy to root for with a much less than honorable aim. Yet how much we want him to succeed. As much as we want the aged knight to bring down an indestructible windmill.

If you are not familiar with her work, think skeptic Jane Austen. My definitive Murdoch moment comes when in one of her novel, a certain character dies. He is well loved, and seemingly all are going to mourn his death til the back cover, right? wrong. Instead they come to a conclusion that his death benefits those around him. Thus we are left with a cold, reasonable yet nonsensical world in which human are non-stereotypical. Murdoch's specialty is to make characters so clear and exact you can understand -- but not predict -- how they are going to respond to certain situations.

Ebert describes Murdoch as a "writing machine." This is both to and against her credit. For all these years, I have nailed three or four of her novels every year -- they are hugh -- and even now, I only finished half of the auteur. The work ranks from masterpiece to a load of crab.

The Novels

Under the Net: A terrific first novel. Very different from what to follow. For some reason, it's quite famous, so I suggest it as a good introduction due to its short length.

The Sandcastle: The third novel in which you start to discern her particular genius for character study and drama.

An Unofficial Rose: A book with a very good idea. Yet failed execution.

A Fairly Honourable Defeat: Perhaps my second or third favorite. If you like Rohmer, this book is definitely for you. Simply reading the philosophical exchange between characters put a smile on my face.

The Sacred and Profane Love Machine: My least favorite. Although up til the last hundred pages, it has a chance to be her best work. During the third act, Murdoch (intentionally?) screw up the story so much that it's almost another kind of fun to read.

The Sea, the Sea: I am very related to this book personally. I can see myself grow old and become like Charles Arrowby, the protagonist, an aged famous director who is going to employ all his charm, intellect, and pull to win the lost love of his life.

Nuns and Soldiers: A really good book that is way too long.

The Good Apprentice: Vying for the second favorite spot, this book is a perfect blend between magic and psyche. The first half is very idyllic, comparable to the opening of Goethe's Werther or Melville's Pierre.

The Book and the Brotherhood: Another really good book that's way too long. The last chapter is a waste.

The Green Knight: Ok, I lied. This is her worst novel. So bad that I can't even finish it. The book has more endings than what is good, and by the time I came to the fourth fake ending, I just had it.

Jackson's Dilemma: A book that has a potential to be great, but cut short perhaps by her illness. It's interesting for you can really see the nut and bolt of how she constructs her work. Good for scholars.

Famous Quotations

"A bad review is even less important than whether it is raining in Patagonia."

"Every man needs two women: a quiet home-maker, and a thrilling nymph."

"Human affairs are not serious, but they have to be taken seriously."

"People from a planet without flowers would think we must be mad with joy the whole time to have such things about us."

"The absolute yearning of one human body for another particular body and its indifference to substitutes is one of life's major mysteries."

***************************************************************

1. Milan Kundera

You cannot overstate the influence of Milan Kundera in my life, as an individual, a scholar, a writer, or a sexual being. Kundera is such a strong presence, so strong in fact that I cannot imagine how I "think" before reading The Unbearable Lightness of Being half a decade ago.

Once, like many people, I adhered to the "one writer one book" rule, and it had taken me quite a while before I actually read my second Kundera's -- which is actually the first one he'd ever written -- The Joke. 'tis wonderful, and that's the end of the stupid rule.

Kundera is an unconventional choice for this spot since his work seems to rub many people the wrong way. He is more of a self-proclaimed philosopher than a writer. In his book, he just presents the idea; he does not believe in those bullshits about having the readers conclude the moral by themselves. It is, for him, tell not show. At the end, how receptive you are is how much you believe his craps. I just happen to think he is the wisest guy in the history of mankind second only to Buddha.

Kundera is the only author whose entire repertoire I finish, fiction and non-fiction alike, with the only exception of Curtain his most recent collect of essays, and Farewell Waltz only because I am not sure I can live in a world without unread Kundera's novel.

The Novels

The Joke: People always start from The Unbearable Lightness of Being which, I think, is a wrong approach. The Joke is Kundera's most accessible, and what else, also his second best. Very similar in theme to Koestler's Darkness at Noon. Yet his purpose is more to ridicule than to antagonist. Communism is not this big bad labyrinthian thing. It's just hilarious as hell, and it does not even know that. Precisely the first novel you can expect from a guy who was born on April's fool.

Laughable Loves: His only collect of short stories -- we will come to this when we discuss the "sequel." Some are obviously written before The Joke. My least favorite of his.

Life is Elsewhere: Although seduction is an ubiquitous topic in The Joke, it's not until Life is Elsewhere that Kundera earns his fame as an erotic writer. A story about an artist who sells his life and soul to the party.

The Book of Laughter and Forgetting: A sequel to Laughable Loves. It is a novel of some sort. With different stories and characters handling the same theme over and over from the simplest to most complicated of idea. A Thema con Variation. Perhaps the only experimental book that I deem successful in its being an experiment.

Jacques and His Master: A play. A retelling of Diderot's. A collector piece. My most treasured book since I stumble on it in a second-handed book shop in Bangkok.

The Unbearable Lightness of Being: Ah...his most influential...

Immortality: His second most influential. I actually find it a bit overrated, although the idea of "projecting one's immortality" really captures me. It's a more intellectual version of Haneke's Code Unknown which in turn is a thinking men's Crash. I don't recommend it to a beginner, since aside from The Book of Laughter and Forgetting, it's his weirdest, and I don't think the experiment is that successful.

Slowness: A big piece of nothing for your entertainment, as Kundera himself call it. A work that's so short it hardly leaves any impression on you.

Identity: Kundera's least kunderian piece. More storytelling than others. The novel builds on the seduction/deception theme of Life is Elsewhere and many others.

Ignorance: His latest work. Somewhat middle-of-the-road. A good mixture of his wit and unique style. Another good place to start. The last three novels are written after the fall of Berlin Wall, so in a way, this signifies an end of the ongoing war between him and communism. And how appropriate that the motive of this novel revolves around Odyssey.

Famous Quotations

"Nothing is more repugnant to me than brotherly feelings grounded in the common baseness people see in one another."

"No great movement designed to change the world can bear to be laughed at or belittled. Mockery is a rust that corrodes all it touches."

"People are always shouting they want to create a better future. It's not true. The future is an apathetic void of no interest to anyone. The past is full of life, eager to irritate us, provoke and insult us, tempt us to destroy or repaint it. The only reason people want to be masters of the future is to change the past. They are fighting for access to the laboratories where photographs are retouched and biographies and histories rewritten."

"And what can life be worth if the first rehearsal for life is life itself?"

"Love begins at the point when a woman enters her first word into our poetic memory."