ที่อื่น (กิตติพล สารัคคานนท์)
ไม่บ่อยนะที่เราอ่านหนังสือนักเขียนโนเนมแล้วพลิกไปดูหน้าปก พลางอุทานออกมาว่า “หมอนี่ใครวะ!” จำได้ว่าเป็นอย่างนี้ครั้งแรกคือตอนอ่าน H2O ของพี่อนุสรณ์ อีกครั้งหนึ่งก็หนนี้แหละกับ ที่อื่น กิตติพล สรัคคานนท์ ท่านทั้งหลายจำชื่อนี้ไว้ให้ดี ถ้าวันข้างหน้าไม่ติดปากประชาชี ถือว่าเทพอักษรไม่มีจริง
ไม่รู้จะเริ่มชมยังไง เอาเป็นว่า เราอ่านหนังสือมาเยอะ ทั้งไทย ทั้งเทศ แต่ลายมือแบบคุณกิตติพลนี่ แทบไม่เคยประสบ ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ ดำเนินเรื่องด้วยบรรยายโวหาร ส่วนบทสนทนาและเครื่องหมายอัญประกาศแทบนับตัวได้ และไม่ใช่บรรยายเลอะเทอะกะสร้างบรรยายกาศอย่างเดียว แต่ผู้เขียนผสานฉากเข้ากับตัวละครได้อย่างงดงาม สำหรับคนที่บรรยายไม่เก่งอย่างเรา ต้องขอยกนิ้วให้ด้วยความทึ่ง
ถอยหลังนิดหนึ่ง ก่อนพูดถึงสไตล์มาดูเนื้อหาดีกว่า ถ้าให้จำกัดความเรื่องสั้นของคุณกิตติพล ต้องบอกว่านี่คือ “การมาเยือน และจากไปของคนแปลกหน้า” อย่าง เข้าเมือง ซึ่งเราชอบสุดในเล่ม ไม่มีอะไรนอกจากตัวละคร “เขา” ซึ่งคนอ่านไม่รู้จัก และคนเขียนก็ไม่ได้ให้ข้อมูลมากมาย เดินชมฉากอุบัติเหตุน่าสยดสยอง ก่อนจากไปในบรรทัดสุดท้าย ไม่ได้ก่อ conflict หรือมีปฏิสัมพัทธ์กับผู้คน ต้องขอชมเลยว่าผู้เขียนกล้ามากที่ดำเนินเรื่องราวไปอย่างเรียบๆ และจบลงโดยไม่มีบทสรุป หรือไคลแมกซ์ ซึ่งไปๆ มาๆ สำหรับงานแนวนี้ยิ่งเรื่องน้อยยิ่งดี มีหลายบทที่คุณกิตติพลพยายามใส่เรื่องเข้าไป แต่กลับกลายเป็นบทที่อ่อนสุดในเล่ม
ที่อื่น คือรวมเรื่องสั้นที่อ่านทั้งเล่มได้อารมณ์กว่าอ่านแยก ตรงนี้จะมองว่าเป็นข้อเสียก็ได้ แต่ละเรื่องไม่ได้โดดเด่นขนาดดึงออกมาต่างหากแล้วยังน่าอ่าน ขนาดอ่านจบหมาดๆ ย้อนกลับไปดูสารบัญ เรายังบอกไม่ได้เลยว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องไหน ในทางตรงข้าม ทุกเรื่องช่างส่งเสริมกันและกัน จนรู้สึกว่าข้อเสียตรงนี้น่าให้อภัย ประเด็นที่คุณกิตติพลชอบพูดถึง (อย่างน้อยในเล่มนี้) คือความตาย ซึ่งแทรกอยู่แทบทุกบท ทุกบรรทัด ยิ่งทำให้นักเขียนคนนี้น่าสนใจเข้าไปใหญ่ เขาเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ทำไมถึงได้หมกมุ่นกับความตายขนาดนี้ การมีธีมร่วมนั้นดีเพราะสร้างเอกภาพให้หนังสือ แต่ก็กลับมาข้อเสียเดิมคือแต่ละเรื่องดูเหมือนๆ กันไปหมด
ที่ต้องติจริงๆ คือ ประเด็นกึ่งหักมุม ประเภทตัวละครสองบุคลิก ไอ้มุขจำพวกนี้โดยตัวมันเองก็เชยจะแย่แล้ว คุณกิตติพลยังใช้มันกับเรื่องสั้นมากกว่าหนึ่งเรื่อง ขอพูดถึงปกด้วยว่า ท่าทางสำนักพิมพ์ Shine จะเอาดี เน้นปกขาวโล่งโจ้ง (เพราะหนังสืออีกสองเล่มของคุณวาด รวีก็ออกแนวนี้) ซึ่งสวยก็สวยดี แต่มันสกปรกง่าย นี่เลือกอยู่ในร้านหนังสือตั้งนานกว่าจะหากอปปี้ดีๆ ได้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
จะไปหามาอ่านบ้างค่ะ
เพราะ..ทั้งสนใจในเนื้อหาของหนังสือและสนใจในความคิดเห็นของคุณ
ขอบคุณค่ะที่เขียนอะไรดีๆ ให้อ่านเสมอ
มาอ่านประจำค่ะ
กรี๊ด ชอบคุณกิตติพลมากๆค่ะตอนที่เขาเคยเขียนงานวิจารณ์หนังเมื่อราว 5 ปีก่อน เพิ่งรู้จากบล็อกของน้องนี่แหละค่ะว่าเขาเขียนเรื่องสั้นด้วย
Some trivia about Kittiphol Sarakkhanon
1.I always feel grateful for him, because when I went to see a German film called LUDWIG – REQUIEM FOR A VIRGIN KING (1972, Hans-Juergen Syberberg, A+), I didn’t understand many things in the film. But Kittiphol helped clarifying many things in this film for me. He has some knowledge about German history and some German famous people in the past. This knowledge is always useful when you see a film by Hans-Juergen Syberberg. I agree with him that in a way Syberberg’s films are more difficult than Jean-Luc Godard’s.
2.Kittiphol used to work in the production team of a film called PIPOP BUNTOON พิภพบรรฑูรย์ (2001, Utis Hemamul, 25 min, A+). Utis is also a film critic and a fiction writer.
3.Kittiphol wrote a great review of THE BIRTH OF LOVE (Philippe Garrel, A+) a few years ago to publish in a now-defunct website. I love this review very very very much.
4.Kittiphol wrote at least three great film articles in THAI FILM QUATERLY magazine.
4.1 In THAI FILM QUATERLY Volume 9, Jan-Mar 2001, he wrote an article about the comparison between BLOW UP (Michelangelo Antonioni), BLOW OUT (Brian de Palma), THE CONVERSATION (Francis Ford Coppola), and THE TERRORIZER (Edward Yang).
4.2 In THAI FILM QUATERLY Volume 10, he wrote an article about film and reality. The article talks about many things, including Jean Vigo, Henri Bergson, Dziga Vertov, Jean Rouch, and Paul Virilio.
4.3 In THAI FILM QUATERLY, Volume 11, he wrote an article about the films THE CRUELTY AND THE SOY-SAUCE MAN (Paisit Panprugschart), MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (Apichatpong Weerasethakul), and EVERYTHING WILL FLOW (2000, Punlop Horharin).
Post a Comment