M. Foucault's "Discipline & Punish"


ส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบประวัติศาสตร์ รู้สึกว่าการมองวิชาใดวิชาหนึ่งโดยจับไปอ้างอิงกับประวัติศาสตร์นั้น เป็นวิธีมองที่ง่ายดายที่สุด ด้วยเหตุนี้ มิเชล ฟูคัลท์ถึงได้เป็นนักปรัชญาในดวงใจเรา แตกต่างจากเล่มอื่นๆ หนังสือของเขาอธิบายหัวเรื่องเรื่องหนึ่งตามลำดับเวลา ไล่ตั้งแต่เก่าแก่ จนถึงช่วงที่ใกล้เคียงปัจจุบันสุด จนหลายครั้งอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมคนเรียกฟูคัลท์ว่านักปรัชญา แทนที่จะเป็นนักประวัติศาสตร์

"ฝึกฝน และลงโทษ" หรือชือเต็มๆ คือ "Discipline & Punish: The Birth of the Prison" คือหนังสือว่าด้วยประวัติและปรัชญาของการลงทัณฑ์ โดยมีจุดมุ่งหมายคืออธิบายกำเนิดคุก ซึ่งปัจจุบันถือเป็นวิธีการลงโทษที่เป็นมาตรฐานสุด

ในอดีต ฟูคัลท์บอกว่าประเพณีการทรมาน และลงทัณฑ์ที่อาศัยความรุนแรง และกระทำต่อหน้าสาธารณชนมีเป้าหมายคือตอกย้ำอำนาจของกษัตริย์ และความอสมมาตรของ "พลัง" ไม่ว่าอาชญากรจะกระทำผิดร้ายแรงแค่ไหน แต่ "พลัง" ของเขาย่อมไม่อาจเทียบเท่ากษัตริย์ ซึ่งประหนึ่งเป็นพระเจ้า เมื่อพระเจ้าคิดกำราบมนุษย์ ย่อมกำราบกันอย่างเอิกเกริก ชนิดที่ว่าฆ่าทิ้งอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องควักตับไตไส้พุงมาเสียบประจานด้วย

ปลายศตวรรษที่ 17 เมื่อกษัตริย์ถูกลดความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบกับอำนาจรวมศูนย์ไม่อาจนำมาซึ่งความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และทั่วถึง เริ่มมีนักกฎหมาย นักปรัชญามองหาวิธีลงโทษรูปแบบใหม่ๆ เช่น "สวนแห่งกฎหมาย" พิพิธภัณฑ์ที่ปล่อยให้ประชาชนเข้าไปชมนักโทษรับการทรมาน เป้าหมายของมันคือเชื่อมต่อทัณฑ์ และอาญชาในกระแสสำนึกสังคม คนที่ขโมยของถูกลงโทษด้วยการตัดมือ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีคนคิดกระทำผิดโดยการใช้มือขโมยของ ภาพนักโทษถูกตัดมือจะผุดขึ้นมาในหัวเขาทันที เป็นกลไกลดการกระทำผิดรูปแบบหนึ่ง

สวนแห่งกฎหมายไม่ได้แพร่นัก เพราะมันถูกแทนที่ด้วยปรัชญาการลงโทษรูปแบบใหม่ ซึ่งก็คือ "การฝึกฝน" สำหรับคนปัจจุบัน สิ่งนี้อาจฟังดูน่าเหลือเชื่อ แต่แนวคิดเรื่องการฝึกฝน และเรียนรู้เพิ่งมีมาในโลกไม่กี่ร้อยปีที่แล้วเอง ก่อนศตวรรษที่ 18 ร่างกายมนุษย์ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสร้างความเจ็บปวดให้กับเจ้าของ ตัวกลางถูกนำไปใช้ในการลงทัณฑ์ แต่เมื่อคนเปิดรับ "การฝึกฝน" มากขึ้น ร่ายกายถูกมองใหม่ว่าเป็นทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ คนเลว คนขี้เกียจ คนคดโกงสามารถจับมา "ฝึกฝน" ดัดสันดานให้กลายเป็นเครื่องไม้เครื่องมืออันมีประโยชน์ของสังคมได้

ระบบการลงโทษรูปแบบใหม่จึงถูกคิดค้นขึ้นมาโดยมีเป้าหมายคือสร้างแรงงานในสังคม "ถ้าการรวมศูนย์ทุนคือแนวคิดเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ การรวมศูนย์แรงงานก็คือแนวคิดการเมืองยุคใหม่เช่นกัน"


การเมืองในความหมายของฟูคัลท์คือศาสตร์แห่งอำนาจ ฟูคัลท์ยังบอกอีกด้วยว่าอำนาจมาจากการ "เฝ้าสังเกต" ผู้อยู่ใต้อำนาจ เขายกตัวอย่าง Panopticon สิ่งก่อสร้างในจินตนาการที่ "ผู้อยู่ใต้อำนาจ" ถูกจับขังในห้องสี่เหลี่ยม แต่ละห้องไม่เปิดถึงกัน แต่เปิดไปหอกลาง อันเป็นที่อยู่ของ "ผู้เฝ้าสังเกต" หรือ "ผู้มีอำนาจ" (Panopticon ปรากฎในนิยายเรื่อง "ค่ำคืนละครสัตว์" ของแองเจลิน่า คาร์เตอด้วย) (พยายามอ่านอยู่เหมือนกันว่าทำไมฟูคัลท์ถึงคิดว่า "การสังเกต" คือกลไกแห่งอำนาจ เพราะเราไม่เห็นมันจะเกี่ยวข้องกันตรงไหน)

แน่นอนว่าจนบัดนี้ Panopticon ก็ไม่มีให้เห็นจริงๆ แต่สังคมยุคใหม่ถูกออกแบบมาให้เป็น Panopticon ในเชิงโครงสร้าง เช่นเราถูกแบ่งวรรณะตามหน้าที่ อาชีพ และรายได้ เช่นเดียวกับ "ผู้อยู่ใต้อำนาจ" ใน Panopticon รัฐบาลมองเห็นและควบคุมการกระทำทุกอย่างของประชาชน การที่ไม่มีประตู หน้าต่างเชื่อมระหว่างห้องก็เหมือนที่คนเรานับว่าจะยิ่งอยู่กับโลกแคบๆ ส่วนตัว เราสนใจข่าวดาราดัง หรือผู้คนสาธารณะมากเสียยิ่งกว่าเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันอีก เช่นเดียวกับ "ผู้อยู่ใต้อำนาจ" ที่วันๆ ได้แต่นั่งมองหอกลาง

บทสุดท้ายฟูคัลท์พูดถึงกำเนิดคุก ซึ่งเป็นระบบการลงโทษที่ได้รับการยอมรับสุด ประการแรก การจำกัดอิสรภาพคือการลงโทษอันเท่าเทียมสำหรับคนทุกระดับชั้น (ไม่เหมือนกับการจ่ายค่าปรับ) ประการที่สอง วิธีนี้มีมนุษยธรรมยิ่งกว่าการทรมาน และการประหารอย่างรุนแรง ที่สำคัญ การขังคุกไม่ทำให้ผู้ร้ายกลายเป็นวีรบุรุษ ผู้กระทำผิดไม่อาจเรียกร้องความเห็นใจได้มากเท่ากับการลงโทษต่อหน้าสาธารณชน (ซึ่งในอดีตถือเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจกษัตริย์อย่างรุนแรง)

กระนั้นถ้าเอาสถิติมาวัดจะพบว่าคุกเป็นระบบการลงโทษที่ไร้ประสิทธิภาพสิ้นดี อย่างแรกมันไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรม คนที่เข้าคุกไปแล้วหนหนึ่ง มีโอกาสกระทำผิด และกลับเข้าไปใหม่มากกว่าคนธรรมดา มิหนำซ้ำการเอาผู้กระทำผิดมาอยู่ร่วมกันมากๆ ไม่มีใครรู้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนมองด้วยซ้ำว่าคุกคือโรงเรียนสำหรับอาชญากร ให้หน้าใหม่ได้พบ และศึกษาจากรุ่นพี่ในวงการ

คำถามต่อไปก็คือถ้าคุกไม่ช่วยป้องกันอาชญากรรม เหตุใดมันถึงเป็นระบบการลงโทษที่อยู่ยืนยงมาจนทุกวันนี้ ฟูคัลท์ให้เหตุผลว่าคุกช่วยแบ่งประเภทความผิดระหว่าง illigality และ delinquency โดยประการหลังคือการกระทำผิดอันเกิดจากความยากจน ไร้การศึกษา หรือไม่มีโอกาส เป็นความผิดที่ไม่ต้องรับการลงโทษ ช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ประชาชนเริ่มถามไถ่กันมากขึ้นว่ากฎหมายถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใคร เพื่อชนชั้นปกครอง หรือเพื่อทุกคนในสังคมกันแน่ ถ้าประการหลังจริง ทำไมถึงมีแต่คนจนที่กระทำผิดกฎหมาย ในแง่นี้ คุกนิยาม delinquency ขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกความผิดทั้งสองประเภท คนยากคนจนสามารถกระทำ delinquency ต่อไปได้ ตราบใดที่เขายังไม่กระทำ illigality ก็ไม่ถือเป็นหน่วยที่ต้องถูกจับไปดัดสันดานในคุก

6 comments:

Thosaeng said...
This comment has been removed by the author.
Thosaeng said...

Oops...here's the comment I accidentally deleted:
I like Foucault (pronounced foo-co) a lot too, although some of his writings can be very difficult. It's been a while since I read Discipline and Punish, but I think observation lends power to the observer because it gives him an insight into or a knowledge of the observed, and for Foucault knowledge is power. In the disciplinary context, for example, knowledge of the observed enables the observer to transform/normalize him.
I didn't really understand your last paragraph. Maybe you could clarify the role of prison in relation to delinquency? Does Foucault mean only people who commit illegalities are supposed to be jailed and those who only commit delinquencies are not? What are we supposed to do with delinquents then?
From what I remember, Foucault said prison is not meant to eliminate illegalities but to regulate them. It does so by allowing authorities to supervise individuals not only when they are actually in jail but also when they're out. This kind of control prevents released prisoners from committing serious crimes and only limit them to petty ones. Thus, the function of prison is not the elimination but actually the reproduction of illegalities.
Does that sound right or did I totally make that up? :P And how does delinquence fit into that picture?

laughable-loves said...

สวัสดีครับพี่จิ๊บ

อันนี้ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะครับ ฟูโคท์บอกว่าหน้าที่ของคุกคือนิยามความผิดแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือ delinquency ซึ่งแยกออกมาจาก illegality delinquency คือความผิดที่บางครั้งคนจนไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่กระทำได้ เป็น illegality อย่างอ่อน

ถ้าปล่อยให้คนยากคนจนเข้าใจว่าตัวเองกำลังกระทำ illegality อยู่ ไม่นานความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจะค่อยๆ ลดลง สุดท้ายพวกเขาจะเริ่มก่อ illegality ชนิดที่รุนแรงขึ้น สู้ให้พวกเขาเข้าใจดีกว่าว่าความผิดของตัวเองคือ delinquency ซึ่งแตกต่างจาก illegality โดยสิ้นเชิง

อันนี้คือความเข้าใจของผมนะครับ แต่ก็ยอมรับ ว่าพอถึงบทหลังๆ เริ่มงงๆ ถั่วๆ แล้ว บางช่วงของฟูโคท์ก็อ่านย๊ากยาก แต่โดยรวมๆ ผมยังรู้สึกว่าพอรับมือกับมันได้มากกว่าหนังสือของคนอื่นๆ ครับ

Thosaeng said...

I'll take your word for it ka. And I look forward to your future posts!

yanmaneee said...

supreme clothing
nike shox for men
calvin klein outlet
adidas yeezy
michael jordan shoes
off white hoodie
moncler outlet
vans shoes
jordan retro
calvin klein underwear

lakyd said...

official statement replica gucci navigate to these guys replica designer bags you can try this out replica ysl handbags