J. Joyce's "Ulysses"
ถ้าเชื่อตามที่ซาร์ตบอก ความแตกต่างระหว่างงานเขียนประเภทร้อยแก้ว และร้อยกรองคือ ร้อยแก้วเป็นศิลปะที่สร้างมาจากคำ และร้อยกรองคือศิลปะที่สร้างมาจากความ แต่ก็มีงานเขียนอีกประเภทที่ไม่ได้สร้างมาจากทั้งคำ และความ นั่นคืองานเขียนแนวทดลอง งานเขียนแนวทดลอง ในความเห็นเรา คือศิลปะที่สร้างมาจากสไตล์ สไตล์คือวิธีนำเสนอ หรือรูปแบบการเขียนที่คนอ่านมักไปจับคู่กับสานส์ชนิดต่างๆ ในแง่หนึ่งก็เหมือนการโกงไพ่ หรือเล่นมายากล งานเขียนที่เล่นกับสไตล์จะอิงความคาดหวังของผู้อ่าน ผู้เขียนได้ตรึกตรองว่าคนอ่านคาดหวังอะไรจากสไตล์ หรือชุดความหนึ่งๆ แล้วเล่นกับความคาดหวังตรงนี้
ฉากหนึ่งซึ่งเราชอบมากใน Ulysses โคตรนิยายของเจม จอยซ์คือ ตอนที่ผู้เขียนเล่าเรื่องผ่านสายตาตัวประกอบสาว เกอตี้ ขณะที่หนังสือทั้งเล่มใช้ภาษาอ่านยาก ประโยคแตก ความไม่ครบถ้วน นี่คือช่วงที่อ่านเข้าใจรู้เรื่องสุด เกอตี้รู้สึกถึงสายตาของลีโอโพล บลูม ชายหนุ่มแปลกหน้า ตัวเอกของนิยาย ที่เฝ้ามองเธอ เธอรู้ว่าตัวเองเป็นคนสวย และขณะที่ถูกเฝ้ามอง เธอก็แอบส่งสายตาหยอกล้อชายหนุ่มไปด้วย ทันทีที่นิยายโยนกลับไปหามุมมองของบลูม พร้อมกับพลุบนฟ้าระเบิดเป้งป้าง ภาษาเปลี่ยนมาแตกกระจายอีกครั้ง และเราก็ได้รับรู้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับเกอตี้ ซึ่งมีแต่คนนอกเท่านั้นจะสังเกตเข้ามาได้ ฉากนี้เป็นฉากที่เจ๋งมาก เป็นการทดลองทางภาษา ที่เล่นกับความคาดหวังของคนอ่านได้อย่างอยู่หมัด
ตัวเอกหลักของ Ulysses คือลีโอโพล บลูม เป็นชาวยิวที่อาศัยอยู่ในไอร์แลนด์ บลูมเป็นผู้ชายมากปัญหานารี มีภรรยา และมีลูกสาวแล้ว แต่ก็ยังเจ้าชู้ ออกไปหาบ้านเล็กบ้านน้อย และสุดท้ายก็(เหมือนจะ) ถูกภรรยานอกใจ (ต้องใส่ เหมือนจะ ในวงเล็บ เพราะไม่แน่ใจว่าฉากดังกล่าวเป็นจินตนาการของเจ้าตัวเองหรือเปล่า) โคตรนิยายเล่มนี้ยาว 700 หน้า แต่เอาเข้าจริง ก็เหมือนเหตุการณ์ทั้งหมดจะเกิดขึ้นแค่ภายในวันเดียว ตั้งแต่บลูมเดินออกจากบ้านตอนเช้า พบกับสตีเฟน เดดาลัส ตัวเอกของ The Portrait of Artist as a Young Man และตัวละครเด่นอีกตัวในเรื่อง ก่อนจะกลับบ้านไปพบกับภรรยา
Ulysses แบ่งย่อยเป็นทั้งหมด 18 บท แต่ละบทก็มีการทดลองกับสไตล์ที่แตกต่างกัน อย่างเบสิคสุดก็คือเล่าเรื่องผ่านสายตาตัวประกอบหลายๆ ตัวที่เดินผ่านไปมา อีกบทหนึ่งเขียนเป็นละคร อีกบทเขียนเป็นถามตอบปัญหา อีกบทเขียนเป็นประโยคยาวๆ โดยไม่ใช้เครื่องหมายฟุลสตอป หรือคอมมาร์เลย ส่วนบางบทก็เขียนหอกอะไร อ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าเปิดวิกิพีเดีย จะพบว่าแต่ละบทตั้งชื่อตามการผจญภัยของยูลิซิส ในมหากาพย์ของโฮเมอร์ คนอ่านจะสัมผัสได้ถึงอิทธิพลของวรรณกรรม และวัฒนธรรมคลาสสิค กรีก โรมัน ส่วนการเดินทางของบลูมจากบ้าน และกลับไปหาภรรยา ก็คล้ายๆ กับการเดินทางของยูลิซิส
บทที่เราชอบสุดคือ Circe เป็นบทที่ยาวสุด 200 หน้า แต่นั่นก็เพราะเขียนเป็นบทละคร เวลาก็ใช้เวลาไม่นาน ใน This Side of Paradise ฟิทเจอร์ราล์ดก็ทดลองเอาบทละครมาใช้เล่าเรื่องเหมือนกัน แต่ไม่สุดขีดเหมือนจอยซ์ Circe ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นบทละครด้วยซ้ำ เพราะมันไม่สามารถจับมาสร้างบทเวทีได้ ตัวละครผลุบๆ โผล่ๆ ฉากก็เปลี่ยนแปลงไปมาไม่แน่ไม่นอน ตัวละครเดี๋ยวก็สลับเพศชายหญิง มีตัวละครเพี้ยนๆ พวกนามธรรมออกมาเต็มไปหมด ขณะเดียวกัน การที่มันถูกเล่าในลักษณะบทละคร จึงเกิดบรรยากาศสมจริง หรือพยายามสมจริง บท Circe จึงออกมาย่ำกลางระหว่างมายา และสัจนิยมได้อย่างน่าสนใจ
พูดถึงการเมืองในนิยายเล่มนี้หน่อยก็แล้ว ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่น่าสนใจมาก ก่อนอื่นเลย นี่ไม่ใช่ประเทศที่เจริญ หรือพัฒนาแล้ว เนื่องจากมันอยู่ติดอังกฤษ และตั้งแต่อดีต ประเทศอังกฤษก็เอารัดเอาเปรียบไอร์แลนด์อยู่เสมอ คนไอริชมีภาษาของตัวเอง แต่ไม่มีใครพูดกัน เดี๋ยวนี้ก็ใช้แต่ภาษาอังกฤษ ประเทศนี้เคยประสบปัญหาความอดอยากแร้นแค้น เนื่องจากอาหาร พืชพันธุ์ถูกส่งออกไปเลี้ยงประเทศอังกฤษเสียหมด ปมหนึ่งของชาวไอริชซึ่งจอยซ์สื่อออกมาได้ดีมากๆ ใน Ulysses คือความขัดแย้งระหว่างชาตินิยมไอร์แลนด์ และความนิยมมหาอำนาจที่เจริญกว่าอย่างอังกฤษ เช่นเชคสเปียร์เป็นหนึ่งในกวีที่ชาวไอริชศึกษา และรู้สึกภาคภูมิใจ แต่ขณะเดียวกันเชคสเปียร์ก็เป็นมหากวีของอังกฤษ ประเทศที่กดขี่ข่มเห่งไอร์แลนด์ตลอดมา มีความพยายามจะปลุกผีภาษาประจำชาติ แต่ขณะเดียวกัน ภาษาที่สมัยนี้ไม่มีใครพูดกันแล้ว จะปลุกขึ้นมาทำซากอะไร พวกนักคิดชาวไอริชพยายามสร้างทฤษฎีวรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองนานา แต่เอาเข้าจริงก็เหลวเป๋ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบการศึกษาไม่ได้เอื้อให้เกิดปราชญ์แบบประเทศอังกฤษ
หลายจุดตรงนี้คล้ายคลึงกับเมืองไทย ตั้งแต่เปิดประเทศ เปิดวัฒนธรรมกับชาติตะวันตกมาจะสอง สามร้อยปีแล้ว ประเทศเราก็ยังปลงไม่ตกว่าเราจะยอมรับความเจริญก้าวหน้าของตะวันตกสักแค่ไหน โดยไม่ "เสียหน้า" ไม่ขัดกับความรู้สึกชาตินิยมที่เราอยากๆ ปลูกฝังกัน คนไทยก็เลยออกมาทวิมาตรฐานตลกๆ เช่น ว่า ถ้าเราทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ที่ให้ฝรั่งยอมรับได้ จะปลื้มไปเจ็ดวัน เจ็ดคืน แต่เวลาฝรั่งเตือนอะไรเรามา จะชอบทำปิดหู ไม่ฟังเขาท่าเดียว
กลับมาเรื่องงานเขียนแนวทดลอง พักหนึ่งก็เหมือนคนไทยเราจะฮิตๆ กัน แต่เดี๋ยวนี้ก็ซาไปมากแล้ว น่าเสียดายเหมือนกัน งานเขียนแนวทดลอง ก็เหมือนคำว่า "post-modern" มันมีลึกซึ้งกว่าแค่ "แฟชั่น" แต่คนไทยดันไปรับมันเข้ามาเหมือนเป็นเสื้อสายเดี่ยว หรือชาไข่มุก ก็หวังว่า งานเขียนอย่าง Ulysses ในประเทศเราจะค่อยๆ หยั่งรากมันลงไปอย่างมั่นใจ สุดท้ายแล้วน่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรๆ ในแวดวงวรรณกรรมได้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
5 comments:
ชอบมากครับ
เล็งมานานแล้วว่าจะอ่านเรื่องนี้ แต่ยังไม่กล้าอ่านสักที
รู้สึก "ปิติ" มากๆ ที่มีคนไทยเขียนถึงเรื่องนี้
ผมขออนุญาตนำไปอ้างอิงในเว็บผมนะครับ
http://www.siamintelligence.com/bookshop-and-inspiration/#comment-2479
(อยู่ในความเห็นที่ 2 เมื่อพูดถึง Joyce ครับ)
ขอบคุณมากๆ
ขอฝากให้เขียนถึง Goethe, Proust, Kafka, Shakespeare, Ibsen, Tolstoy ด้วยนะครับ
จะติดตามอ่าน
สาธุ
เสียดายครับที่เรื่องนี้ถ้าแปลออกมาเป็นภาษาไทย คงแปลยากมากๆ เพราะมันเต็มไปด้วยการทดลองทางภาษาของจอยซ์
เคยอ่าน Wurther, the trial และ anna karenina แล้วเหมือนกัน แต่ตอนนั้นก่อนจะเริ่มเขียนบลอค ก็เลยไม่ได้โพสเอาไว้ ตั้งใจมากๆ ว่าจะต้องอ่าน Swan's Way ให้ได้ครับ ชอบมากเหมือนกันทั้งเชคสเปียร์ และก็อิปเซน แต่ถ้าถามถึงนักเขียนบทละครในดวงใจ ยังไงก็หนีไม่พ้นเทนเนซซี วิลเลียมส์
high quality designer replica replica bags china high quality replica handbags
other useful link go to my blog try this out click here to investigate gucci replica
i loved this z5f93f4d47 Ysl replica replica bags in pakistan v4s30f5l00 replica bags in dubai replica gucci bags m1p01g9u15 replica bags turkey replica bags in uk this article z1j71u3m74 replica bags ru
Post a Comment