M. Amis's "Other people"
ประโยคเด็ดจาก Other People ที่เอมิสย้ำคิดย้ำทำอยู่ตลอดทั้งเรื่องคือ "เวลาคือเงินตรา...การค้าขายอย่างเดียวที่มนุษย์เราค้ากันคือการค้าเวลา" ซึ่งก็จริงของเขา ในโลกนี้ไม่มีอะไรอีกแล้วที่มีค่าไปกว่าเวลา ถ้าใครรู้จักเอาเวลามาใช้ทำมาหากิน รับรองไม่มีวันอดตาย ขนาดเงินตราเองก็ยังไม่มีค่าเท่ากับเวลาเลย เพราะ "เราสามารถประหยัดเงินได้ด้วยการจับจ่ายใช้สอย" หากถ้าเราอยู่เฉยๆ เวลาก็มีแต่จะถูกใช้ให้หมดไปวันๆ ความคิดของเอมิสตรงนี้สะท้อนประโยคเด็ดของอัลแบร์ กามูส์จาก A Happy Death ว่า "ความสุขต้องอาศัยเวลา และถ้ามีเงินตราก็สามารถซื้อเวลาได้"
นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสอีกคนที่มีอิทธิพลกับนิยายเล่มนี้ไม่แพ้กามูส์คือซาร์ต ชื่อนิยายก็มาจากวจีอมตะของซาร์ตในบทละคร No Exit "นรกคือผู้อื่น" (Hell is other people.) เคยพูดถึงบทละครเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ให้สรุปความคิดสั้นๆ มนุษย์เรานี่แหละ มีศักยภาพที่จะทรมานกันเองไม่ว่าจะจงใจ หรือโดยบริสุทธิ์ใจ ยิ่งเสียกว่าไฟนรก น้ำกรด หรือหอกหลาวใดๆ ทั้งนั้น
ตัวเอกของ Other People คือแมรี แลมป์ หญิงสาวผู้สูญเสียความทรงจำ เมื่อเปิดนิยายมา เธอเหมือนเด็กเพิ่งเกิด ผู้ไม่รับรู้ใดๆ ทั้งนั้น ไม่รู้จักอันตราย ไม่รู้จักความปลอดภัย ไม่รู้จักกระทั่งร่างกายของตัวเอง คนรอบข้างมองว่าเธอหัวทึบ คุณสมบัติเดียวของแมรีเลยคือ "ความสวยงาม" ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันตราย ไม่ว่าแมรีจะไปแห่งหนใด เธอเหมือนเทพธิดามรณะที่นำพาความพินาศสู่คนรอบข้าง ทั้งแมรีและ “ผู้อื่น” ต่างทำร้ายกันอย่างน่าเศร้า
ทุกครั้งที่หายนะเกิดกับแมรี พรินซ์ นายตำรวจลึกลับจะปรากฎตัวขึ้นมา แมรีชิงชังพรินซ์ เพราะเธอมองเขาเป็นสัญลักษณ์ของความเจ็บปวด และล้มเหลวในชีวิตเธอ แต่ขณะเดียวกัน พรินซ์ก็เหมือนจะกุมความลับในอดีตของแมรีเอาไว้ เขาเหมือนจะรู้จักเอมี ซึ่งเป็นตัวตนของแมรี ก่อนที่เธอจะสูญเสียความทรงจำ แมรี เกรงกลัวเอมี เธอเชื่อว่าเอมีไม่ใช่ผู้หญิงที่ดีนัก และยิ่งสืบสาวหาต้นตอของตัวเองเท่าไหร่ ความเชื่อนี้ก็ยิ่งฝังใจหนักขึ้นๆ
ชอบตอนจบของบทรองสุดท้ายมาก เป็นการพบปะกันระหว่างเอมี และแมรี ซาร์ต และกามูส์ เวลา และเงินตราได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในนรกที่เกิดจาก “ผู้อื่น” เสียดายที่ Other People ลากต่อไปอีกบทหนึ่ง ซึ่งจริงๆ ก็เปิ่นแปลกดี เหมือนภาพยนตร์ของเดวิด ลินซ์ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นิยายอ่อนลงไปด้วย (อาจเป็นความจงใจของเอมิสก็ได้)
สิ่งหนึ่งที่ชอบมากในเล่มนี้คือตัวตนของ “ผู้เล่าเรื่อง” หรือ “ผม” ที่ปรากฎขึ้นมาเป็นระยะ การใส่ “ผม” ลงไปในนิยายบุรุษที่สามไม่ใช่ของง่าย ถ้าใครสักแต่ว่าทำเอากิ๋บเก๋ แล้วออกมาไม่ดี จะแลดูเสร่อมากๆ เอมิสเล่นกับการทลายกำแพงที่สี่ได้อย่างชาญฉลาด เขาไม่ใช่นักพากย์ราคาถูก ที่พยายามกลบเกลื่อนจุดอ่อนในการเล่าเรื่อง หากใช้โอกาสนี้ พูดกับคนอ่าน เพื่อเสริมเติมแต่งนิยาย (ส่วนหนึ่งเพราะช่วงแรกแมรี แลมป์ไม่มีความทรงจำด้วย ทำให้เทคนิกตรงนี้ลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่อง) ที่ชอบมากๆ คือ “ผม” ไม่เคยบอกคนอ่านโต้งๆ ว่าตัวเองเป็นคนเขียน และจวบจบหน้าสุดท้าย “ผม” กลายเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่มีเนื้อหนัง ลมหายใจ และจับต้องได้ ไม่แพ้ทั้งแมรี และเอมี
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
lebron 15 shoes
longchamp handbags
longchamp handbags
mbt
nike air max 97
nike air max 2018
louboutin shoes
supreme clothing
kd 11
nike air max 270
replica gucci bags t23 m0l43g7w79 best replica bags y16 q7p87l1s71 bags replica ysl l55 b0c28t6a33
Post a Comment