"ชาติไทย" ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า (โสภา ชานะมูล)


ปัจจุบันเป็นยุคแห่งสื่อ ถ้ามีคำหนึ่งซึ่งนักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์ชอบใช้บ่อยๆ คำนั้นก็จะมีชีวิตขึ้นมา ทุกครั้งที่มันถูกใช้ในบทความหนึ่ง ความหมายจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย นักเขียนสมัยนี้จึงไม่ใช่หยิบจับแต่ละคำมา โดยอ้างอิงแค่พจนานุกรม แต่ยังต้องเข้าใจความหมายในเชิงบริบททางสังคมด้วย ปัจจุบันนักนิรุกติศาสตร์คงไม่ต้องลำบากลำบนค้นหาต้นกำเนิดคำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพียงแค่ศึกษา "ชีวิต" ของคำยอดฮิต ผ่านหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ แค่นั้นก็เรียนรู้อะไรได้หลายแล้ว

คำที่เราสนใจมากๆ เลยก็คือ "ปัญญาชน" (intelligentsia) ใครคือปัญญาชน ต้องมี requisite แค่ไหน ระดับการศึกษาละ คนทำงานศิลปะควรถูกจัดว่าเป็นปัญญาชนหรือเปล่า

อ่าน "ชาติไทย" ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า จบก็อดสงสัยไม่ได้ว่าอาจารย์โสภาใช้นิยามข้อไหนมากำหนดว่าใครเป็น หรือไม่เป็นปัญญาชน อย่างแรกต้องชมอาจารย์ ที่มีความเป็นกลางพอจะรวบรวมมาหมดตั้งแต่ปัญญาชนหัวก้าวหน้า อนุรักษนิยม กระทั่งบางบทยังพูดถึงปัญญาชนทหาร สรุปคือ ใครที่ออกมาแสดงความคิดทางหน้าหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ ก็คงจัดเป็นปัญญาชนได้ทั้งนั้น ซึ่งก็ไม่แปลก เอาเข้าจริง เมื่อก่อนอาจไม่ได้มีนิตยสาร หนังสือพิมพ์เกลื่อนบ้านเกลื่อนเมืองเหมือนสมัยนี้

อาจารย์โสภาไม่ได้แบ่งปัญญาชนตามระดับการศึกษา นักคิดที่ถูกยกมาใน "ชาติไทย" ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า ไม่ได้จบสูง หรือจบเมืองนอกเมืองนา มองในแง่ดีก็คือพวกเขาถูกประเมิณด้วยคุณวุฒิ ไม่ใช่เพียงวุฒิการศึกษา แต่ปัจจุบันยังจะยึดหลักอะไรแบบนี้ได้อยู่หรือเปล่า เพราะคนไทยรู้สึกว่าปัญญาชนไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง เพียงแค่ขยันออกมาพูดอะไรในที่สาธารณะ ก็เลยเกิดเป็นค่านิยมขำๆ คือยกย่องคนที่การศึกษาไม่ค่อยสูง แต่กล้าออกมาแสดงความคิดเห็นอยู่เป็นประจำ และ(เหมือนกับ)รู้อะไรดีกว่าคนปกติ

ต้องเข้าใจว่าห้าสิบปีโลกมันเปลี่ยนแปลงไปไหนต่อไหน ในทางวิทยาศาสตร์ เป็นไม่ได้อีกแล้ว จะมีอัศวินม้าขาวผู้อยู่ดีๆ ค้นพบสูตรลับ หรือยาวิเศษด้วยตัวเอง เดี๋ยวนี้การค้นพบทุกอย่างออกมาจากหลังรั้วมหาวิทยาลัย คนสาธารณะบางคน ถ้าเขามีชีวิตอยู่เมื่อสมัยก่อนอาจถูกเรียกได้ว่าเป็น "ปัญญาชน" แต่ในสมัยนี้เรายังควรยกย่องเขาด้วยคำคำนี้หรือเปล่า ค่านิยมเช่นนี้ส่งผลได้ ผลเสียอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่าง คนทุกคนมีสิทธิพูดจู่โจมระบบทุนนิยม และตีความมันไปต่างๆ นานา (ยิ่งในโลกปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วย "เวที" เสียด้วย) แต่ปัญญาชนซึ่งสังคมควรจะรับฟังคือใครกันแน่

ไม่มีคำตอบง่ายๆ นะครับ คำถามนี้

5 comments:

Anonymous said...

เมื่อยุคสมัย 2516-2519 ปัญญาชนสมัยนั้นไม่มีการจำกัดวุฒิ บรรพชนบางคนจบการศึกษา ป.4 ก็ยังถูกยกย่องเชิดชู

ผ่านไปหลายปี เมื่อฉันเข้ามหาวิทยาลัยได้ กลับพบว่านักศึกษาที่ ent ติดด้วยกันจนถึงรุ่นพี่ กลับยึดถือในสถาบันเกินเหตุ อันเป็นผลทำให้ฉันเกิดอาการค่อนข้างอึ้งๆ หลอนๆ กับค่านิยมที่เขาแสดงออก

ตอนนี้คิดอยู่อย่างเดียวค่ะ

ปัญญาชน ยังมีเหลืออยู่เท่าไหร่

Anonymous said...

จากปี 2508-2553 ประเทศไทยมีอะไร? คนในแผ่นดิน? ชนนั้น?การแย่งชิงทรัพยากรไม่เป็นธรรม?ศักดินาสามานย์ ?เนื้อในเหมือนเดิมเปลี่ยนเพียงรูปแบบ?หากตนหัวก้าวหน้า?ปัญญาชนผู้เกิดบนแผ่นดินผ่านยุคสมัย ช่วยcomment ขอโทษ? วิจารณ์หน่อย?ผมลูกชาวนาเพื่อนพ้องเลือดเนื้อเชื้อไขวงศ์วานว่านเครือกรรมกร รับจ้าง,ทำนา,ฯลฯต้องอยู่อย่างนี้ต่อไป? วิจารณ์หน่อย?อยากรับฟัง { เฉพาะท่านที่รู้ว่าตนเองก้าวหน้าฯ ปัญญาชน ครับ}

yanmaneee said...

westbrook shoes
kd 12 shoes
kd 12
timberland
air max 90
off white nike
yeezy shoes
nike air max 95
christian louboutin
coach outlet

yanmaneee said...

air jordan
vapormax
nike air max
hermes belt
yeezy boost 500
nike huarache
nike air max 97
nike react
yeezy shoes
moncler jackets

tuge said...

Find Out More dolabuy louis vuitton web dolabuy ysl try these out dolabuy.ru