E. A. Abbott's "Flatland"
Flatland เขียนเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้ว ก่อนไอนสไตน์จะคิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะรู้จัก "มิติที่สี่" ดูจากประวัติ แอบบอตเป็นหลายอย่าง ตั้งแต่นักบวช นักการศึกษา จนถึงผู้เชี่ยวชาญเชคสเปียร์ แต่ไม่เห็นมีตรงไหนบอกเลยว่าแกเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือนักคณิตศาสตร์ด้วย ยิ่งน่าทึ่งเข้าไปใหญ่ว่าความคิดที่คนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจกลับถูกคนจากศตวรรษที่ 19 หยิบยกมาใช้ได้อย่างสวยงามเช่นนี้
Flatland คือเรื่องราวของ "สี่เหลี่ยมด้านเท่า" ช่วงแรกเป็นการแนะนำคนอ่านสู่ดินแดนราบเรียบ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของสี่เหลี่ยมด้านเท่า (ที่จริงๆ แล้วมีอาชีพเป็นทนายความ) ได้รับรู้ประวัติศาสตร์ของดินแดนราบเรียบที่ฟังดูุคุ้นเคยจนน่าเกาหัว ช่วงหลังคือการผจญภัยของสี่เหลี่ยมด้านเท่า พบปะผู้คนจากมิติต่างๆ ราชาแห่งดินแดนเส้นตรง ศาสดาแห่งอวกาศ (แปลมาจาก space ซึ่งจะใช้ในความหมายว่า "โลกสามมิติ" ก็ได้) และ "จุด" ซึ่งเป็นทั้งผู้ปกครอง ผู้อยู่ใต้ปกครอง และดินแดนในขณะเดียวกัน
หนังสือเจ๋งๆ บางเล่ม อ่านจบแล้วไม่อยากพูดอะไรให้มากความเลย นอกจากเชิญชวนให้คนอื่นได้ลองอ่านมันดู หัวใจจริงๆ ของนิยายเล่มนี้คือการเปิดใจให้กว้างเพื่อยอมรับสิ่งที่อยู่นอกเหนือสามัญสำนึก แอบบอตต้องการชี้ให้เห็นว่ามันยากแค่ไหนที่จะตีฝ่าความรั้น และความเขลาของคนเรา
ขึ้นด้วยไอนสไตน์ ก็ขอจบด้วยคำพูดอมตะของไอนสไตน์แล้วกัน "สองสิ่งเท่านั้นอันไร้ที่สิ้นสุดคือจักรวาล และความเขลาของมนุษย์ พูดตรงๆ ผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าอย่างแรกใช่หรือเปล่า"
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดด
คลาส adaptation เพิ่งพูดกันถึงหนังสือเล่มนี้ วันนี้เลย
ส่งมาให้อ่านด่วน
kyrie 6 shoes
golden goose
nike air force
ferragamo belt
air jordans
coach outlet
golden gooses
kyrie 6 shoes
ferragamo belts
adidas zx flux
Post a Comment