F. Nietzsche's "Beyond Good & Evil"


หลังอ่าน Beyond Good & Evil จบ ปิดหนังสือ ถอนหายใจหนึ่งเฮือก แล้วอดไม่ได้ที่จะรำพึงรำพันกับตัวเอง "นี่แหละหนา ทำไมคนโง่ถึงไม่ควรอ่านนิทเช่"

ก่อนอธิบายสาเหตุที่เราคิดเช่นนี้ มาพูดถึงนิทเช่ และหนังสือเล่มนี้ก่อนดีกว่า ชื่อเต็มๆ ของมันคือ Beyond Good & Evil: Prelude to a Philosophy of the Future หรือ "เหนือกว่าดีและเลว: ปฐมบทปรัชญาแห่งอนาคต" หนังสือเล่มนี้บรรจุไปด้วยหลากหลายความคิดของเฟรดริช นิทเช่ ทั้งที่ต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน และที่กระจัดกระจาย จับต้นชนปลายไม่ใคร่ถูก (ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลังมากกว่า) แต่สรุปรวมๆ ก็ดังชื่อเรื่อง ว่าด้วยปรัชญายุคใหม่ ซึ่งนิทเช่ทำนายเอาไว้ว่า "จำเป็น" สำหรับศตวรรษใหม่ที่จะถึง

ที่ต้องเน้นคำว่า "จำเป็น" เพราะสมัยที่นิทเช่เขียนหนังสือเล่มนี้ (ปลายศตวรรษที่ 19) เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ในยุโรปกำลังประสบปัญหาภาวะเสื่อมถอยของความเป็นมนุษย์ อันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และบทบาทของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต มนุษย์เริ่มรู้สึกถึงความอ่อนด้อยของตัวเอง ดังนั้นนิทเช่จึงคิดค้นปรัชญาแผนใหม่เพื่อส่งเสริมคุณค่า และบทบาทของความเป็นมนุษย์ (ซึ่งเป้าหมายตรงนี้คล้ายคลึงปรัชญาคอมมิวนิสต์ของมาร์คนั่นเอง)

ปรัชญาที่ว่าคืออัตถิภาวนิยม (existentialism) สรุปสั้นๆ ประโยคเดียวคือแนวคิดซึ่งส่งเสริมให้ปัจเจคสร้างหลักประจำใจตน อัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่ปฏิเสธปรัชญาทั้งปวง และเกือบครึ่งของ "เหนือกว่าดีและเลว" คือคำประนาม ล้อเลียน และดูถูกนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ หรือใครก็ตามที่เชื่อถือในความจริงหนึ่งเดียว (universal truth) เปิดบทแรกมานิทเช่ก็ถามเลยว่าทำไมคนเราถึงได้ฝักใฝ่ความจริงนัก มันมีอะไรวิเศษวิโสกว่าความเท็จตรงไหน ปรัชญาแผนใหม่คือแนวคิดที่ว่าความดีงามนั้นอาจมีต้นกำเนิดมาจากความเลวทรามก็ได้

จากเหยื่อทั้งหมดซึ่งนิทเช่โจมตีในหนังสือเล่มนี้ พวกที่โดนหนักกว่าเพื่อนคือนักศีลธรรม นิทเช่เชื่อว่า ศีลธรรมเป็นผลพวงของคนที่พยายามสร้างโลกขึ้นมาจากความอ่อนแอของตัวเอง เอาอคติ มายาส่วนตนมาสร้างเป็นกฎเกณฑ์บังคับผู้อื่น ทั้งที่จริงกฎเกณฑ์นั้นไม่อาจใช้กับผู้ใดได้นอกจากตัวเราเอง


แต่กฏนั้นคืออะไรเล่า แน่นอนว่าบอกไม่ได้ เพราะถ้าพูดออกมาก็จะกลายเป็นหลักปรัชญา ซึ่งขัดแย้งกับอัตถิภาวนิยม นักอัตถิภาวนิยมหลายคนถึงกับบอกว่าสุดท้ายมนุษย์ไม่สามารถนิยามได้หรอกว่าอะไรคือดีงาม อะไรคือต่ำช้า แต่ต้องครุ่นคิดถึงคำถามนี้ไปชั่วชีวิต เพราะเสนอคำถามซึ่งไม่มีจุดจบเช่นนี้เอง อัตถิภาวนิยมในสายตาคนนอกถึงดูน่ารำคาญอยู่ไม่น้อย

แนวคิดนี้คล้ายคลึงสุญนิยม (nihilism) ซึ่งไม่เชื่อถือความดีงามใดๆ แม้หลายคนจะเถียงว่านิทเช่ปฏิเสธสุญนิยม แต่จริงๆ แนวคิดทั้งสองใกล้เคียงกันอยู่ไม่น้อย "คือพจนาซาราทุสซา" ประกาศออกมาโต้งๆ ว่า "พระเจ้าตายแล้ว" (หนึ่งในคำพูดที่โด่งดังที่สุดของแก) จะมีคำพูดใดอีกไหมที่เป็นสุญนิยมมากไปกว่านี้

เอาล่ะ กลับมาประโยคที่ว่า "นี่แหละหนา ทำไมคนโง่ถึงไม่ควรอ่านนิทเช่" ไม่เหมือนนักปรัชญาคนอื่นๆ หนังสือนิทเช่ "อ่านง่าย" หมายถึงจับเอาคำพูด หรือความคิดเดี่ยวๆ ออกมาใช้ได้ไม่ยาก แต่ว่าในเล่มเต็มไปด้วยความคิดซึ่งขัดแย้งกัน บางทีแกก็เขียนเสียดสี ตรงข้ามกับสิ่งที่ตัวเองต้องการจะสื่อ ดังนั้นไม่ว่าใครมีความเชื่ออะไร สามารถดึงเอาคำพูดแกไปสนับสนุนความคิดตัวเองได้ไม่ยาก อย่างฮิตเลอร์เองยังใช้หนังสือนิทเช่เป็นคัมภีร์นาซีเลย

สมัยนิทเช่ อัตถิภาวนิยม และปัจเจคชนเป็นของใหม่ ในทางประวัติศาสตร์แล้ว มนุษย์เพิ่งตื่นจากการหลับไหลปลายศตวรรษที่ 18 ก่อนหน้านั้นศาสนาเป็นทั้งบรรทัดฐาน และยานอนหลับซึ่งกล่อมเกลาชนชั้นใต้การปกครอง แต่พอมาศตวรรษที่ 20 แนวคิดเชิงปัจเจคเริ่มกลายเป็นของธรรมดา ยิ่งยุคโพสโมเดิร์นแล้ว คนโง่ที่ไหนก็ออกมาประกาศปาวๆ ว่าฉันนี้แน่ ไม่เหมือนคนอื่น ไม่เห็นต้องสนใจหนังสือ ตำรับตำราเพราะฉันจะสร้างกฎเกณฑ์ของฉันขึ้นมาเอง ซึ่งหลายความคิดของนิทเช่ก็สนับสนุนให้คนเชื่อแบบนั้น

นึกถึงคำพูดกฤษณา มูรติ "เพราะทุกคนคิดว่าตัวเองต่างจากคนอื่น ดังนั้นทุกคนเหมือนๆ กันไปหมด" บางทีต่อให้ปัจเจคบรรลุความแท้ (authentic) สุดท้ายก็กลายเป็นแค่ของเทียม (inauthentic) เป็นพฤติกรรมฝูงชนอีกแบบหนึ่งซึ่งนิทเช่ชิงชังนักหนา

6 comments:

Thosaeng said...

What a neat blog you've got going on here! I thoroughly enjoyed browsing through your old posts, and I look forward to reading some new ones in the near future.

As for this particular post, I wonder how you feel about Nietzsche's ideas? I've always found them to be very insightful and relevant even to this day. But I am not so sure about his proclamation that "God is dead." It seems to me He's alive and well since most people (not only Christians but also members of other religions if we take God here to be more universal than just the Christian God) still seem to believe in some sort of absolute truths. Or do you think Nietzsche said that more to provoke people rather than to describe what was going on at the time?

I've also wondered what it would be like if everyone realizes there is no such thing as an absolute truth, that the concept of good and evil was simply thought up by men. Do you think there would just be chaos or would people still be able to retain some sense of morality (and what would that morality look like)? It seems to me religion (which dictates what's good and evil) is being used as tools to control and manipulate people. But I wonder if that's necessary in a way for the masses. Or is it completely elitist of me to think so?

laughable-loves said...

สวัสดีครับพี่จิ๊บ

พูดถึง "God is Dead." ผมคิดว่านิชเช่หมายถึง "God is dead, relatively." หรือเปล่าครับ จริงอยู่ว่ายังมีหลายคนที่เชื่อถือในศาสนา แต่ถ้าเทียบกับยุคต้นศตวรรษที่ 19 คน เริ่มมีคนที่ปฏิเสธศาสนา และเชื่อในศีลธรรมส่วนตัวมากขึ้น

ผมเห็นด้วยกับพี่ครับว่าโลกนี้จำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์บางอย่างมาควบคุมประชาชนส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้มั้งครับผมถึงไม่ "อิน" อย่างเต็มที่กับปรัชญาของนิทเช่ เหมือนที่ผมบอกตอนแรกแหละครับว่า "คนโง่ไม่ควรอ่านนิทเช่" ยิ่งในยุคปัจจุบันที่คนเราะเอะอะอะไรก็ทำตัวเป็นกบฎมากขึ้น

ขอบคุณครับที่มาอ่าน

Thosaeng said...

Good point ka, but I find it kind of funny to think that someone can be "relatively" dead! ;) I agree with you that Nietzsche is too extreme sometimes. He seems to always want to go back to the natural state of things (e.g. relying on our instincts rather than our sense of morality etc), but I don't think something is necessarily better just because it's natural. You should read Freud next, by the way. If I remember correctly he dealt with some of these issues (e.g. what kind of needs and urges we need to suppress in order to form a civilization). I think the book is called Civilization and Its Discontents. Very interesting read.

laughable-loves said...

ขอบคุณครับที่แนะนำหนังสือ ยังไม่เคยอ่านฟรอยด์เลย สนใจมากๆ ครับ

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์ said...

อ่านนิชเช่ เสียด้วย

เล่มนี้ เพื่อนผมเคยพูดถึงบ่อยๆเมื่อหลายปีก่อน

แกมีโครงการจะแปลหนังสือคลาสสิคประมาณนี้ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นสักเล่ม

สงสัยโครงการคงล้มไปแล้ว งานระดับนี้ ใครหนอจะอ่าน อิอิ

ขอบคุณอีกที รีวิวมาให้อ่านสนุกกัน

shatot said...

w4t08e6s88 j2e03g6z09 z4o49p0s72 z4s53u9j82 c5p22m3z96 q5n19j8r01