2006: The Year in Denial (หลายคนเขียน)


หมายเหตุ: ชื่อจริงๆ ของหนังสือเล่มนี้คือ "รัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ได้สื่ออะไร (เฉกเช่นเดียวกับกับชื่อของคณะรัฐประหารซึ่งก็ไม่ได้สื่ออะไรเช่นกัน) เป็นรวมบทความต่อต้านรัฐประหารของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน โดยมีนักวิชาการต่างสาขา ต่างวัยวุฒิ และต่างคุณวุฒิอุทิศบทความ

ก่อนอื่นปกหนังสือเล่มนี้เด็ดโคตร เป็นการเอารูป The Treason of Image ของมากริต ดาวพลูโต และรถถังจับมาวางไว้ด้วยกัน โดยมีข้อความสั้นๆ ใต้แต่ละรูปว่า This is not a pipe. This is not a planet. และ This is not a coup. ก่อนปิดท้ายด้วยคำโปรย 2006: the Year in Denial ใครคิดปกนี้ รีบวิ่งมาเอารางวัลได้เลย

อย่างที่อธิบายนั่นแหละ ถ้าสนใจบทวิเคราะห์การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์แบบถึงกึ๋น เล่มนี้ไม่ควรพลาด โดยเฉพาะงานเขียนของอาจารย์นิธิ อาจารย์ธงชัย อาจารย์ศิโรฒม์ อาจารย์ชัยวัฒน์ อาจารย์ธเนศ และอีกหลายคนซึ่งถ้าใครอ่านหนังสือพิมพ์บ่อยๆ คงคุ้นเคยชื่อ หรือได้เห็นผ่านๆ ตามาบ้าง ถ้าจะติสำนักพิมพ์อย่างหนึ่ง ก็คือท้ายเล่มควรมีสรุปหน่อยว่าใครเป็นใครมาจากไหน เหมือนกับ anthology ฝรั่งที่ขนาดเอานักเขียนรางวัลโนเบลมา ยังต้องบอกท้ายเล่มเลยว่าเขาเป็นใคร

ไม่ขอพูดถึงแต่ละบทความในรายละเอียด แต่จะจับประเด็นสำคัญจากแต่ละบทความมาเล่าสู่ให้ฟังสั้นๆ ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งซึ่งต่อต้านรัฐประหารมาตั้งแต่ day one

ประเด็นแรกที่พูดถึงตั้งแต่ในบทความอาจารย์นิธิคือประชาธิปไตยเป็นระบบซึ่งแก้ไขตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพิงอำนาจมืด อำนาจกระบอกปืน ตัวอย่างน่าสนใจ ซึ่งเราเคยอ่านมาจากหนังสือพิมพ์มติชนคือคดี privatization บริษัทน้ำมัน และการไฟฟ้าของรัฐบาลทักษิณ สุดท้ายถูกศาลตัดสินว่ากฎหมายตัวนี้ใช้ไม่ได้ ประเด็นนี้ถูกขบวนการสนธิหยิบยกมาโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่พอถึงวันประกาศคำตัดสิน ในบรรดาสื่อมวลชน และผู้ให้คนสนใจที่มายืนรอหน้าศาล กลับไม่มีคนจากกลุ่มพันธมิตร

ในหนังสือยังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองสนธิ ซึ่งเรายอมรับว่าหลักฐานส่วนใหญ่ยังเป็นแค่หลักฐานสภาพแวดล้อม (คำซุบซิบนินทา) ถึงจะยังสรุปความจริงไม่ได้ แต่ก็ชวนให้ขบคิดไม่น้อย ว่าอะไรกันแน่เป็นต้นเหตุของ "ภาพลวงตาแห่งทางตัน" ซึ่งเกิดขึ้นก่อนรัฐประหาร


อีกประเด็นคือการใช้ "ความรุนแรง" มาเป็นเงื่อนไขของรัฐประหาร ตั้งแต่ต้นแล้วคณะรัฐประหารบอกว่าที่ออกมากระทำการเพื่อป้องกันความรุนแรงระหว่างผู้เข้าชุมนุม และฝ่ายรัฐบาล (ซึ่งน่าฉงนเพราะ ตั้งแต่ต้นอดีตนายกทักษิณซึ่งเป็นพ่อค้าก็ไม่เคยแสดงท่าทีจะใช้กองทัพ) พอกระทำรัฐประหารสำเร็จ ก็เอาข้ออ้างว่าที่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะประชาชนยอมรับรัฐประหาร (ทั้งที่ถ้าขุดในประวัติศาสตร์จริง ตั้งแต่สมัยจอมพลฯ คนนั้นคนนี้ เวลาทำรัฐประหาร ก็แทบไม่เคยมีความรุนแรงมาเกี่ยวข้อง ความรุนแรงในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเกิดขึ้นมาจากการต่อต้านรัฐบาลทหารต่างหาก) ตั้งแต่เมื่อไหร่กันที่ความรุนแรงกลายมาเป็นมิติทางการเมือง ประหนึ่งว่าถ้าชาวอิรักยอมให้อเมริการุกรานโดยไม่ต่อต้าน นโยบายต่างประเทศของบุชจะกลายเป็นสิ่งถูกต้องขึ้นมาทันที

หนังสือยังพูดถึงคำว่า "ระบอบทักษิณ" (ขอรวมคำว่า "ทักษิโณมิกส์" ไปด้วย) ว่าเป็นกลไกโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ทำประหนึ่งว่านายกทักษิณได้เปลี่ยนประชาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบอื่น และทางเดียวที่จะล้มอำนาจเก่าลงได้คือต้องโค่นมันทั้งระบบ ทั้งที่จริงๆ ทักษิณก็เป็นเพียงปลาอันธพาลที่ว่ายวนในโถ ถ้าจะตักปลาเหล่านี้ทิ้งทีละตัวสองตัว แน่นอนว่าเราอาจไม่มีวันกำจัดพวกมันได้หมด แต่นี่จะบอกว่าให้ทุบทั้งโถทิ้งเชียวหรือ

ก่อนจะจบดื้อๆ ประเด็นรัฐประหารนี้ชี้ให้เห็นบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ของนักวิชาการในสังคมไทย คนเหล่านี้คิดดูก็น่าเห็นใจ เพราะเมื่อสถานการณ์การเมืองเป็นสีเทา ผู้คนไม่รู้ควรตัดสินใจเลือกทางไหน ก็ต้องหันหน้าเข้าหาพวกเขา รู้สึกว่านักวิชาการก็เหมือนนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ที่บางทีพอดูหนังจบใหม่ๆ ไม่รู้กระแสสังคมจะเป็นอย่างไร ก็อาจต้องพูดอะไรที่ทำให้พวกเขาเสียใจในภายหลัง

ไม่เป็นไรนะครับ คนเราผิดก็ยอมรับกันไป อย่างอาจารย์นิธิ ถ้ามานั่งไล่อ่านคำสัมภาษณ์แกดีๆ จะพบว่าช่วงต้นปี 2549 จนถึงตอนนี้ความคิดแกแปรเปลี่ยนไปไม่น้อย (แต่แกเป็นผู้ใหญ่จะให้มายอมรับโต้งๆ ว่า "ผมเปลี่ยนใจแล้ว" ก็คงจะไม่งาม) อย่างน้อยแกก็ยังมีวิญญาณความเป็นนักวิชาการอย่างแท้จริง ว่ากันไปตามหลักฐาน และสภาพแวดล้อม

7 comments:

Anonymous said...

จริงๆคุณนิธิไม่ได้เปลี่ยนความคิดจากที่ผิดเป็นถูกหรอกครับ เขาแค่เปลี่ยนความคิดจากที่ตรงข้ามกับคุณมาเหมือนคุณเท่านั้นเอง

Anonymous said...

buy bactrim es online without prescription buy bactrim without prescription buy bactrim f buy bactrim without a prescription overnight buy bactrim online buy bactrim
[url=http://bactrim.eventbrite.com/]buy bactrim without prescription [/url]
buy bactrim f
glucophage for pcos glucophage package insert glucophage and estrogen glucophage online pharmacy alcohol glucophage glucophage dosage glucophage and pcos
[url=http://takeglucophage.eventbrite.com/]glucophage xl [/url]
benefit of glucophage
muscle atrophy proscar side effects libido proscar peronies psa proscar canine proscar average cost of proscar proscar and flomax taken together proscar spermatogenesis
[url=http://proscar.eventbrite.com/]proscar [/url]
proscar and propecia
buy cheap levitra online buy levitra online uprima impotence drug impotence solutions levitra online levitra lowest price
[url=http://virb.com/yalevi]cheap levitra [/url]
levitra sale
zithromax medicine zithromax 500 mg zithromax tri pack zithromax oral suspension zithromax tablets zithromax antibiotic zithromax dosage
[url=http://virb.com/bono]zithromax z pak [/url]
zithromax treatment
-------------------------------------------------------------------
[url=http://fotak.ru/stats.php?r=laughable-loves.blogspot.com]my blog[/url]
blog my

Anonymous said...

I read this article fully cοnсerning the comparison
of most гecent аnԁ prеvіous technologies, it's remarkable article.

Look at my webpage ... Www.Paydayloansonlinet3.Com
Here is my page :: Payday Loans

Anonymous said...

I am sure this paragraph has touched all the internet
visitors, its really really good paragraph on building up new website.


Here is my website Payday Loans Online

Anonymous said...

If you wish for to obtain a good deal from this piece of writing then you have to apply these techniques to your won webpage.


my web-site: insanejournal.com

Anonymous said...

Hi there! Quick question that's entirely off topic. Do you know how to make your site mobile friendly? My website looks weird when viewing from my iphone4. I'm
trying to find a theme or plugin that might be
able to fix this issue. If you have any suggestions, please share.
Appreciate it!

Here is my blog post :: click for source

Anonymous said...

Thanks а bunch for ѕhaгіng this wіth
all fοlκs you actually realize what
you aге tаlking approximately! Booκmarked.
Please alѕо talk οver wіth my ωebѕite =).
We сould hаve a lіnk exchange agreement among


My website - claimfreemicrosoftpoints.webs.com