ตึงไป หย่อนไป
เพิ่งอ่านและผิดหวังกับนิยายเพื่อชีวิตเล่มหนึ่ง ท่ามกลางจุดเด่นและจุดด้อย ข้อเสียอย่างรุนแรงสุดของมันคือการปฏิเสธประวัติศาสตร์ ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องปรกติสำหรับแวดวงวรรณกรรมไทย แต่ที่ความล้มเหลวนี้มัน spectacular เอามากๆ เพราะคนเขียนตั้งใจให้ผลงานชิ้นนี้เป็นปากเป็นเสียงให้กับประวัติศาสตร์ (มีการกล่าวโทษนักการเมือง ผู้หลักผู้ใหญ่ และคนรุ่นใหม่ที่บิดเบือนหรือไม่สนใจประวัติศาสตร์) จนเราอดคิดไม่ได้ หรือว่าบางที ภายใต้กรอบเพื่อชีวิต นิยายประวัติศาสตร์ดีๆ ไม่อาจถูกเขียนขึ้นมาได้
เป็นความไร้เดียงสามากๆ ถ้าเราเชื่อว่าการบิดเบือนประวัติศาสตร์ เพียงแค่เกิดจากอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งออกมาพูดว่า "เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มีผู้เสียชีวิตแค่คนเดียว" (และเมื่อพูดเสร็จก็โดนคนด่ากันทั้งเมือง) โดยไม่สนใจเลยว่าพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวรรณกรรมเพื่อชีวิตมากี่ทศวรรษแล้ว
ทีแรกตั้งใจจะวิเคราะห์ประเด็นนี้ยาวๆ แต่ขี้เกียจ (เพราะเขียนถึงออกจะบ่อย) นักเขียนไทยชอบมองเหตุการณ์ดังกล่าวแยกเฉพาะบริบทของเมืองไทย ทั้งที่จริงๆ นี่คือปรากฏการณ์ระดับโลกซึ่งสัมพันธ์กันมายาวนานตั้งแต่ยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18-19 ถ้ายังมองไม่เห็นภาพรวม ประวัติศาสตร์ของเราก็จะเป็นเพียงการบิดเบือนในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
ถ้ารักจะเขียนนิยายประวัติศาสตร์สักเล่ม ก่อนอื่นลองปลดรูปจิตร ภูมิศักดิ์บนหิ้งพระคุณลงมา ถุยน้ำลายรดสักรอบ (แล้วเช็ดฝุ่นให้สะอาด) บางทีอาจจะเห็นอะไรชัดเจนขึ้นก็ได้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
4 comments:
หกตุลาคมครับ ไม่ใช่สิบหก
ด้วยรัก
balenciaga
coach outlet sale
ralph lauren uk
yeezys
nike max
kyrie 5 shoes
air jordan
nfl jerseys
ferragamo belts
vans outlet
Find Out More a knockout post see it here top article Read Full Article dig this
click here for info more information blog link find out here browse around this site more tips here
Post a Comment