G. Greene's "The Power and the Glory"
เพิ่งเขียนไปหยกๆ ว่าความเร็วที่ใช้ในการอ่านหนังสือสักเล่มบางครั้งก็บอกได้ว่าเราชอบหนังสือมาก น้อยเพียงใด ขณะเดียวกันบางครั้งก็บอกไม่ได้ เพราะ The Power and the Glory เป็นหนังสือที่ดีมากๆ เล่มหนึ่ง ซึ่งก็ล่อไปเกือบอาทิตย์ ทั้งทีบางจ๋อยสองร้อยกว่าหน้านิดๆ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม จะว่าติดธุระปะปังก็ไม่เชิงเสียทีเดียว อาจจะผนวกกับช่วงเปิดเรื่องห้าสิบหน้าแรกที่ช้าบรรลัยกระมัง Brighton Rock นิยายของกรีนอีกเล่มที่เคยอ่าน ก็เปิดเรื่องได้เปื่อยๆ เรื่อยๆ แบบนี้
กรีนเป็นคนหน้าสนใจ ไม่ได้อ่านประวัติแกละเอียด เข้าใจว่าแกเป็นนักข่าว หรืออะไรสักประเภทที่ทำให้แกได้ท่องเที่ยวไปไหนต่อไหน อ่านนิยายกรีนมาสี่เล่ม ไม่มีฉากซ้ำกันเลย ตั้งแต่ชุมชนแออัดในลอนดอน (Brighton Rock) ทุ่งหญ้าซาฟารี (The Heart of the Matter) สงครามเวียดนาม (The Quiet American) และก็เล่มนี้คือเมกซิโกภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อศาสนากลายเป็นของผิดกฎหมาย พระมีสองทางเลือกคือถูกบังคับให้แต่งงาน หรือหนีออกนอกประเทศ คนที่ยังเหลืออยู่ถูกตำรวจตามล่า ถ้าจับได้ โทษถึงตาย ยิงทิ้งสถานเดียว
ยอมรับเลยว่าตัวเองไม่มีศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตาม เรื่องนี้คุยกันได้ยาว แต่สรุปสั้นๆ คือ ยิ่งนิยาย หรืองานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีศรัทธาเข้าไปใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นนิยายศาสนาคริสต์อย่าง Go Tell It to the Mountain ของเจมส์ บาลวิน หรือนิยายศาสนาพุทธของวิมล ไทรนิ่มนวล แต่ The Power and the Glory น่าจะเป็นนิยายศาสนาเล่มแรกที่อ่านแล้วอิน
The Power and the Glory เล่าเรื่องพระคนสุดท้ายซึ่งยังหลงเหลืออยู่ในเม็กซิโก ต้องคอยหนีการตามล่าจากตำรวจ ระหว่างทางได้พบปะผู้คนมากมาย บ้างก็ให้การช่วยเหลือท่านทั้งที่รู้ว่าถ้าเรื่องไปถึงหูตำรวจ ตัวเองก็มีโทษถึงประหารเช่นกัน บ้างก็หวังประโยชน์ รางวัลนำจับ กรีนแสดงให้เห็นภาระของการเป็นคริสเตียนว่าหนักหนาแค่ไหน ทั้งการต่อสู้กับทั้งโลกภายนอก และความขัดแย้งในใจตัวเอง
ตัวเอกของ The Power and the Glory เป็นหนึ่งในตัวละครที่น่าสนใจมากๆ แม้ยึดติดกับหน้าที่ของคริสเตียนจนวินาทีสุดท้าย แต่ตัวท่านเองจริงๆ ก็เป็นแค่ whisky Priest หมายถึงพระที่กระทำบาป และผิดศีล หนึ่งในนั้นคือการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาว จนให้กำเนิดทายาทคนหนึ่ง สังเกตว่าตัวเอกนิยายศาสนาตะวันตกมักเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ซึ่งลองเปรียบเทียบกับพระเอกแบนๆ อย่างในเรื่อง อมตะ ดู ระหว่างอ่าน อมตะ รู้สึกเหมือนฟังพระเทศน์ คืออะไรๆ ที่ตัวเอกพูดต้องถูกเสมอ ขณะที่นิยายของกรีนกลับเต็มไปด้วยข้อถกเถียงน่าสนใจ เช่นว่า whisky prist ถามตัวเอง จะให้เขารังเกียจบาปที่กระทำลงไปได้อย่างไร ในเมื่อตัวเขารักผลของบาปนั้น (หมายถึงลูกสาว) อย่างสุดหัวใจเช่นนี้
ทั้งที่ศาสนาพุทธน่าจะส่งเสริมให้คนช่างคิด ช่างสงสัย และช่างใช้เหตุผลแท้ๆ แต่ทำไมทุกวันนี้ เราถึงอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมอะไรๆ มันช่างดำ ขาวเสียเหลือเกิน นอกจาก ร่างพระร่วง แล้ว อยากอ่านนิยายศาสนาพุทธอีกสักเล่มซึ่งชวนให้คิดติดตามเช่นนี้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
6 comments:
ขยันอ่านขยันเขียนจริงๆ เลยค่ะ ขอชื่นชม เราว่านิยายพุทธแท้อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ คำพิพากษานะ คือเรามองในมุมของสังคมพุทธศาสนิกชนน่ะค่ะ บางทีคุณอาจได้สารอะไรใหม่เพิ่มขึ้น หรือไม่ก็ได้อรรถรสอีกแบบถ้าเราพิจารณาบทบาทคำสอนของพระพุทธศาสนาในนวนิยายเรื่องนี้ เราก็จะไปอ่านใหม่ด้วยเหมือนกันค่ะ
สนใจจังครับ ทำไมคุณสายฝนฯ มองว่าคำพิพากษาเป็นนิยายพุทธ ครั้งหน้าที่อ่านหนังสือเล่มนี้ จะลองเอาคอมเมนต์ตรงนี้มาไตร่ตรองดูนะครับ
Heart and the power and glory seems to be quite interesting.
ว้าว, เพียงแค่มีอะไรจะบอกเห็นเดิ่นศิลปะในผนังที่แท้จริงชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจของงานศิลปะ
the blog is good. and the name is also good. the content seems as if a lot of information about the blog.
laughable loves always looks interesting, really like to go through such blogs..
Post a Comment