วันที่ถอดหมวก (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
ก่อนอื่นขอบคุณพี่บลูครับ ที่แนะนำหนังสือเล่มนี้ให้รู้จัก ชีวิตหนึ่งอยาก "มี" หนังสือดีๆ แบบนี้มานานแล้ว คำว่า "มี" นี่ไม่ได้หมายถึงซื้อมาครอบครอง หรืออ่านจนจบ ใกล้เคียงกับคำว่า "รู้จัก" มากกว่า วันที่ถอดหมวก เป็นหนังสือแบบที่สามารถแนะนำให้คนส่วนใหญ่ลองอ่าน หรือซื้อ มอบให้เป็นของขวัญเนื่องในโอกาสพิเศษได้ (เคยลองทำแบบนั้นกับ Lolita และ The Unbearable Lightness of Being มาทีหนึ่ง ดูหน้าคนรับแล้วท่าทางจะไม่ค่อยเวิร์ค)
ทุกคนมักมีหนังสือปรัชญาเล็กๆ น้อยๆ ประจำตัวคนละเล่มสองเล่ม ซึ่งยอมรับเลยว่าตัวเองไม่มี หนังสือประเภทนี้จะหาที่ชอบนั้นชอบยาก เพราะบางทีต่อให้คนเขียนเขียนดี แต่ถ้าคลื่นจูนกับเราไม่ติด ก็ยากนักจะยอมรับมันลง ยกตัวอย่างว่ามี เข็มทิศชีวิต กองทิ้งไว้ที่บ้านสองเล่ม มีคนซื้อให้เนื่องในโอกาสต่างกัน ไม่ใช่ว่าหนังสือไม่ดี เฉกเช่นเดียวกับ อุดมธรรม ของศรีบูรพา (ซึ่งเป็นหนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตนักเขียนอย่าง ฮ. นิกฮูกี้มาแล้ว) ชา กาแฟ หมา และแมว ทั้งที่จริงๆ แล้วเราชอบงานเขียนเล่มอื่นๆ ของคุณโตมร และอาจารย์กุหลาบ ที่สำคัญเราคงเป็นคนไทยคนเดียวที่อ่าน คู่มือมนุษย์ แล้วว้าวุ่น ร้อน (แต่ชอบอัตชีวิตประวัติท่านพุทธทาส สามเล่มจบ)
หนังสือประเภทนี้ที่เคยอ่านแล้วพึงใจได้แก่ หนังสือเซนของละเอียด ศิลาน้อย คุรุ ผีเสื้อ และลมตะวันตก ของคุณภิญโญ ซึ่งถามว่ากลุ่มนี้เขียนดีกว่ากลุ่มแรกหรือเปล่า ก็ไม่ใช่ บางครั้งความชอบ ไม่ชอบ มันขึ้นอยู่กับการจูนคลื่นระหว่างตัวหนังสือ ผู้เขียน และผู้อ่าน
ทั้งชีวิตไม่เคยอยากเชื่อเลยว่าตัวเองจะจูนคลื่นกับอาจารย์เสกสรรค์ติด
สำหรับเรา บางครั้งเวลาได้ยินพระสงฆ์องค์เจ้าพูดเรื่องการปล่อยวางๆ ก็อดเถียงในใจไม่ได้ว่า เป็นท่าน ท่านก็พูดได้สิ เพราะวิถีชีวิตในวัดวาที่ไม่อาจครอบครองวัตถุ สิ่งของ ย่อมเอื้อต่อการละทิ้งอัตตา คงต้องอาศัยคนอย่างอาจารย์เสกสรรค์มาพูดให้เราฟังเรื่องการปล่อยวางนั่นเอง เราถึงจะหยุดคิดเรื่องนี้ เพราะว่ากันตรงๆ คงมีไม่กี่คนในสังคมไทยที่จะสวมหมวกใบใหญ่ และยาวนานสามสิบปี เท่ากับอาจารย์เสกสรรค์
หนึ่งในบทความของ วันที่ถอดหมวก คือ นอกเหนือการเมือง ซึ่งเป็นอีกบทความเกี่ยวกับกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรที่อ่านแล้วได้ใจสุด แทบจะเรียกว่าถอดความคิดเรา สื่อออกมาเป็นตัวอักษร มีคนมาถามอาจารย์เสกสรรค์ว่าทำไมหนนี้ไม่ออกมาเป็นผู้นำมวลชนเหมือนครั้งก่อนๆ หรือพ่ายแพ้ต่อระบบอำนาจ ทุนนิยมแล้ว ส่วนอาจารย์ตอบว่าอะไรคงต้องไปอ่านกันเอาเอง อีกบทความที่ชอบมากๆ คือ นาฏกรรมแห่งตัวตน ว่าด้วยการที่คนในสังคมทั้งที่ยากจน และมั่งมีใช้อำนาจข่มเหง รังแกกัน ซึ่งบางครั้งอำนาจที่ว่าก็มาจากความรู้สึกผิด หรือความรักด้วยซ้ำ (เป็นงานเขียนชิ้นแรกของอาจารย์ หรือจะเรียกว่าเป็นงานเขียนภาษาไทยชิ้นแรกก็ได้ ที่ "ผู้ถูกกระทำ" คือชนชั้นกลาง และ "ผู้ร้าย" เป็นขอทานชราตาบอด!)
ต้องยอมรับว่าหนังสือ วันที่ถอดหมวก เข้ามาในจังหวะชีวิตเราได้ถูกต้องมากๆ ขณะนี้เรากำลังเผชิญหน้าความไม่เป็นธรรมในสังคมบางประการ ซึ่งแม้ไม่รุนแรงเท่าเจ้าหนี้ยึดนาคนจน แต่ก็สร้างความรำคาญ อึดอัด ไม่ผ่องใส แต่คงไม่มีวิธีใดอีกแล้วจะรับมือกับมันได้ดีไปกว่าถอดหมวก แล้วปล่อยวาง อาจารย์เสกสรรค์ไม่ได้สอนให้เราเพิกเฉยอยุติธรรม แต่บางครั้ง ก่อนจะตัดสินคนอื่น ลองละอัตตา แล้วถามตัวเองว่าที่จะลุกขึ้นไปแกว่งดาบฉวัดเฉวียนนั้นเพื่ออะไร เพื่อความสนุก หรือเพื่อชื่อเสียง แล้วเราเป็นใคร ถึงสามารถมาตัดสินดำ ขาว ชั่ว ดี
วันนี้อาจารย์เสกสรรค์ได้ถอดหมวกแล้ว เราเล่า ยังจะสวมมันไว้บนหัวให้อึดอัดคับแคบอยู่หรือไร
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
timberland outlet
golden goose outlet
balenciaga shoes
cheap jordans
off white
yeezy boost 350
fila
hermes handbags
off white hoodie
kyrie 4
my sources site link Source see this Discover More visit our website
Post a Comment