S. Freud's "Beyond the Pleasure Principle"


ก่อนอื่นขอบคุณครับพี่จิ๊บที่แนะนำหนังสือเล่มนี้ และขอต้อนรับซิกมุน ฟรอยด์สู่ laughable loves เราคงได้เจอกันอีกหลายหนเป็นแน่

เกรงนิดๆ ที่จะพูดถึง Beyond the Pleasure Principle เพราะนี่เป็นหนังสือเล่มแรกของฟรอยด์ที่เราอ่าน ตัวเองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญทางจิตวิทยาใดๆ แถมฟรอยด์ก็เป็นนักเขียนดัง ที่ถ้าใครศึกษามาทางนี้ อย่างน้อยก็คงเคยอ่านหนังสือเล็กๆ บางๆ เล่มนี้มาบ้าง

ฟรอยด์เป็นนักคิดที่ "ช่างกล้า" จริงๆ แกเสนอคำอธิบายซับซ้อนเพื่อประกอบ สนับสนุนทฤษฎีตัวเอง (ยกตัวอย่าง ความพยายามอธิบายปมออดิปุสในตัวลูกสาว) เทียบกับนักปรัชญาคนอื่นๆ ระบบความคิดของฟรอยด์เละเทะกว่ามาก เช่นนอกจากจะแบ่งจิตใจคนเป็นสามส่วนคือจิตสำนึก (conscious) จิตก่อนสำนึก (pre-conscious) และจิตใต้สำนึก (unconscious) แล้ว ยังผ่าแต่ละส่วนออกเป็นสามเท่า id ego และ superego ซึ่งแต่ละตัวอิงหลักปฏิบัติได้สองประเภทคือ pleasure และ reality principle

ชอบคำอธิบายที่มาที่ไปของจิตสำนึกใน Beyond the Pleasure Principle มาก ซับซ้อน และกล้าหาญ ฟรอยด์บอกว่าจิตสำนึกเกิดจากเซลประสาทของตัวอ่อน ถ้าโดนสิ่งเร้ามาสัมผัสมากๆ เข้า จะ "ถูกอบ" จนกลายมาเป็นจิตสำนึก และ "ส่วนที่อยู่ภายนอก" (ภายนอกของอะไร? สมอง? หรือโครงสร้างความคิด?) เมื่อโดนกระตุ้นหนักเข้า จะตายกลายมาเป็นเกราะป้องกันจิตสำนึกจากสิ่งเร้า อาการป่วยของทหารผ่านศึก เนื่องมาจากพวกเขาผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงมากเกินไป สิ่งเร้าเจาะเกราะ ทะลวงเข้าไปหาจิตสำนึก

ขณะเดียวกันด้านในของจิตสำนึกคือที่อยู่จิตใต้สำนึก (หมายถึงเซลประสาทส่วนที่ยังไม่ "โดนอบ" หรือเปล่า?) จิตพวกนี้ก็สามารถสัมผัสจิตสำนึกได้ และเนื่องจากไม่มีเกราะใดๆ มาป้องกัน ดังนั้นอิทธิพลของจิตใต้สำนึก จึงรุนแรง รุกเร้าได้ไม่แพ้โลกภายนอก

จริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่บอกได้เลยว่าคนที่คิดอะไรเช่นนี้ กล้ามากๆ

ช่วงท้ายเล่มพูดถึงสัญชาตญาณสองแบบในตัวมนุษย์ซึ่งต่อสู้กันอยู่ นั่นคือสัญชาตญาณเพื่อนำมนุษย์ไปสู่จุดจบ ความตายตามธรรมชาติ และสัญชาตญาณในการสืบพันธุ์ ซึ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความเป็นอมตะ น่าสนใจเหมือนกัน แต่เนื่องจากไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวรรณคดีเท่าไหร่ เลยไม่ได้อ่านละเอียด

ไว้เจอกันใหม่ฟรอยด์

3 comments:

Thosaeng said...

I am glad you finally got a chance to read Freud. Don't forget to pick up his Civilization and Its Discontents next. And while Beyond the Pleasure Principle is not straightforward literary theory, some of its arguments can be applied to literature. The idea that we are moving towards one thing (death drive) but are constantly interrupted by something else (life instinct) is, for example, applicable to the narrative structure of suspense that involves several devices that delay the reader's progression towards the solution of the mystery.

laughable-loves said...

wow, อธิบายมากกว่านี้ได้ไหมครับ death drive กับ life instinct เกี่ยวข้องอะไรกับ narrative structure of suspense ด้วย

Thosaeng said...

Well, they're not really related. The point I was trying to make is that you can try to apply Freud's theories to literature. If I remember correctly, Freud argues that we are all driven by the death instinct towards an earlier inanimate state (i.e. death) but that we are constantly interrupted by the life instinct (e.g. sexual instinct), which serves to delay the process. The same structure arguably characterizes the literary genre of suspense. When reading a suspense novel, the reader is moving towards the solution of the mystery, but his progression is constantly interrupted by different narrative devices (e.g. the red herring in the detective story), which prolongs the journey of the reader towards the final solution. You can also apply this structure to other types of works e.g. A Thousand and One Nights. The heroine is on the path towards death, but she keeps coming up with different stories to save her life and delay her progression towards death.