
เอาล่ะ พูดแบบนี้ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว ที่ต้องให้เครดิตมันก็คือ นี่เป็นนิยายนักสืบเล่มแรกในภาษาอังกฤษ (เขียนขึ้นมาประมาณสิบห้าปีหลังเรื่องสั้นนักสืบเรื่องแรกของเอดการ์ อลับโป) ถ้ามองมันในฐานะนิยายนักสืบ นี่คือหินที่ยังไม่ได้ผ่านการเจียระไน เราเห็นร่างแรก ของ genre นิยายนักสืบก่อนจะถูกดัดแปลงโดยนักเขียนคนแล้วคนเล่า (ออกมาเป็นกฎเหล็กยี่สิบข้อของแวนได และยังถูกพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ) The Moonstone เลยเต็มไปด้วยตัวอย่างที่ "ไม่ดี" เช่น ความยาวไม่สมดุลกับเนื้อหา การเอาอนุภาคเหนือธรรมชาติ หรือวิทยาศาสตร์เพี้ยนๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของคดี (ไม่ใช่แค่น้ำจิ้ม หรือผงชูรส) การเล่นไม่ซื่อกับคนอ่าน
ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็ยังสนุกกับอ่านนิยายเรื่องนี้มากๆ เราไม่ได้ให้คุณค่า The Moonstone ในฐานะนิยายนักสืบเล่มแรก เท่ากับนิยาย "หลังสมัยใหม่" เล่มแรก ลูกเล่นสุดแสนพิสดารของมันคือโครงสร้างของการเล่าเรื่อง The Moonstone แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคปริศนาเล่าผ่านมุมมองของหัวหน้าคนรับใช้ในคฤหาสน์ ยาวประมาณครึ่งเล่ม ส่วนภาคไขปริศนา แบ่งออกเป็นเจ็ดแปดส่วนย่อย แต่ละส่วนมีผู้เล่าเรื่องแตกต่างกันไป ตั้งแต่หัวหน้าคนรับใช้คนเดิม นักสืบ หมอ ทนายความ รวมไปถึงมุมมองของผู้หญิงคลั่งศาสนา (ซึ่งเราไม่คิดว่าคอลลินส์จะเขียนออกมาได้เนี้ยบขนาดนี้) ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีกลิ่นของการทลายกำแพงที่สี่ เมื่อแต่ละผู้เล่าเรื่องตระหนักว่าผู้เล่าเรื่องคนอื่นๆ กล่าวถึงตัวเองว่าอย่างไร พอจบแต่ละบท มีกระทั่งการส่งต่อปากกา โอ้ อะไรมันจะเปรี้ยวได้ขนาดนั้น! (นักเขียนหนุ่มรูปหล่อคนหนึ่งเคยปรับเอาเทคนิคการสลับตัวผู้เล่าเรื่อง มาใช้กับนิยายเล่มแรกของตัวเองมาแล้ว ถ้าเขาได้อ่าน The Moonstone ก่อนเขียนนิยายเล่มนั้น คงได้สูบเอาลูกเล่นอีกสักอย่างสองอย่าง)
อีกจุดที่เราสนุกกับมัน คือน้ำเสียงและตัวละครหัวหน้าคนรับใช้ ชวนให้เรานึกถึงนิยายชุดจีฟและวูสเตอร์ ซึ่งเราเองเป็นแฟนเหนียวแน่น เสียดายที่ประเด็นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าคนรับใช้และเจ้านายหญิง (ซึ่งเหมือนต่างฝ่ายต่างจะยกย่อง เทิดทูน และ "รัก" อีกฝ่ายมากกว่าสามี ภรรยาที่แท้จริงของตัวเองเสียอีก) ไม่ได้ถูกย้ำนักในภาคไขปริศนา
1 comment:
kd shoes
cheap jordans
longchamp
golden goose
fila shoes
yeezy boost 350 v2
nike sneakers
lebron shoes
nike lebron 16
fila
Post a Comment