อุบัติการณ์ (วรภ วรภา)
ในทางทฤษฎีวรรณกรรม เข้าใจว่าการศึกษาอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องเพศมักใช้คำว่า Feminist Theory ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง หรือชาย สาเหตุคงเป็นเพราะนักคิดตะวันตกนิยามเพศหญิงขึ้นมา แล้วใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ สร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายอีกที ถ้าสังเกตจะพบว่าทางตะวันตกไม่ค่อยมีค่านิยม "ลูกผู้ชาย" หรือแนวคิดแบบ "ผู้ช๊าย ผู้ชาย" นอกจากว่า "ไม่เป็นผู้หญิง" เท่านั้น จริงๆ มีเหมือนกันคือพวกคาวบอย กับอัศวิน ซึ่งถือเป็นของตกสมัยไปนานแล้ว
ในทางตรงข้ามชาวตะวันออกมักจะมีแนวคิดเรื่อง "ลูกผู้ชาย" หรือความเป็น "ผู้ชาย" สูงมาก ถ้าเอาเฉพาะคนไทย เผลอๆ มากกว่า "ความเป็นหญิง" เสียอีก แม้จะมีสุภาษิตสอนหญิง หรือพวกนางในวรรณคดีมาเป็นตัวบ่งชี้ว่าหญิงไท๊ยหญิงไทยควรประพฤติ ปฏิบัติยังไง แต่โดยรวมแล้ว คนไทยยังไงก็ให้ความสำคัญกับความเป็น "ลูกผู้ชาย" มากกว่า
เกริ่นมาแบบนี้เพราะรู้สึกว่าธีมหลักซึ่งครอบคลุมแต่ละเรื่องสั้นใน อุบัติการณ์ ก็คือแนวคิดลูกผู้ชายนี่เอง เรื่องสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการที่ตัวเอกผู้ชายตัดสินใจทำบางอย่าง โดยมีฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น "คนร้าย" เสมอไป) มาสร้าง threat อันยิ่งใหญ่คือเหยียดหยามศักดิ์ศรี ในโลกของคุณวรภ ความยากจน หิวโหย สูญเสียชีวิต หรือขาดทุน ไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่าการโดนหมิ่นประมาท เป็นนิยายจีนกำลังภายในในรูปลักษณ์เรื่องสั้นเพื่อชีวิต
งานเขียนเพื่อชีวิต แต่ไหนแต่ไรมา ก็มีกลิ่นตัวผู้สูงอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนคุณวรภเข้าใจจุดอ่อน และข้อเสียของความเป็นชาย เนื้อความระหว่างบรรทัดคล้ายจะตั้งคำถามว่า "ฆ่าได้ หยามไม่ได้" มันยังใช้กันได้หรือไม่กับสังคมสมัยนี้ โดยรวมน่าสนใจ ยังไม่ถึงกับชอบมาก แต่รู้สึกว่าถ้าผู้เขียนจับประเด็นเรื่องเพศ และพยายามล้วงลึกตรงนี้ ในที่สุดน่าจะผลิตผลงานชั้นเลิศ (ไม่ว่าจะเป็นนิยาย กลอน หรือเรื่องสั้น) ออกมาได้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
4 comments:
ขออนุญาตเอาโพสคุณ black forest ไปแปะไว้หน้าช่อการะเกดครับ
balenciaga shoes
coach handbags
curry 6
nmd
balenciaga triple s
curry 6
jordan 12
hermes online
supreme clothing
jordan shoes
his explanation replica designer bags a fantastic read high quality designer replica learn the facts here now best replica designer bags
Post a Comment