
เราไม่ชอบอะไรสักอย่างที่ประกอบกันเป็น "เรื่อง" ในนิยายเล่มนี้ ตัวละครแบนๆ ขาดๆ เกินๆ ธีมของเรื่อง -- Fact vs Fancy -- ก็อย่างนั้นๆ ไม่ได้ถูกจริตถูกใจเรามาก (แต่สำหรับคนที่สนใจว่า "สังคมนิยม" ก่อนมาร์กซ์หน้าตาเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี Hard Times ถูกตีพิมพ์ในปี 1854 ภายหลังแถลงการณ์พรรคฯ เพียง 6 ปี ดิกเกนส์ไม่น่าจะคุ้นเคยกับงานเขียนของมาร์กซ์)
ตัวเอกของเรื่องคือตระกูลแกรดกรินด์ พ่อสอนลูกสาวและลูกชายให้ยึดติดอยู่กับความจริง (fact) ละทิ้งความฝัน (fancy) ออกไป และนิยายทั้งเรื่องก็คือโศกนาฏกรรมที่กำเนิดมาจากคำสั่งสอน และการเลี้ยงดูตรงนี้ อย่างที่บอก เราไม่ค่อยสนุกสนานกับนิยาย "พ่อแม่รังแกฉัน" แต่ก็เพราะอย่างนั้น เลยยิ่งเห็นความสามารถ ทักษะการเล่าเรื่องของดิกเกนส์ การคุมจังหวะปล่อยตัวละครออกมาหน้าม่าน และเรียกพวกเขากลับไป ทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนเราไม่รู้สึกบาดใจกับตัวละครอย่างเจมส์ ฮาร์ตฮาวส์ ที่จู่ๆ ก็หายหน้าไปอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เอาเข้าจริงทักษะทำนองนี้ปรากฏในงานเขียนของบัลซัคเช่นกัน (บัลซัคเองก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องชั้นครู) แต่จังหวะของบัลซัค การผ่อน การเร่ง ไม่งดงามลงตัวเหมือนดิกเกนส์
ถึงจะไม่ถูกใจตัวละครตัวไหนเลย แต่คงต้องยกเว้นผู้ร้าย มิสเตอร์บาวเดอบี ไว้คนหนึ่ง ดิกเกนส์เขียนผู้ร้ายเก่งมาก (ไม่ว่าจะเป็นสครูช มาดามดีฟาค หรือมิสฮาวิแชม) บาวเดอบีเป็นผู้ชายหลงตัวเองสุดกู่ และความภาคภูมิใจของเขาคือการมีชาติกำเนิดอันต่ำต้อย และสามารถถีบตัวเองขึ้นมาจนเป็นเศรษฐีได้ บาวเดอบี “เลี้ยง” เลขาผู้หญิง อดีตผู้ดีเอาไว้คนหนึ่ง โดยเขาจะชอบโม้ให้ใครฟัง โดยเปรียบเทียบต้นกำเนิดของตัวเองและเลขาคนนี้ ร้อยครึ่งปีมาแล้วจากตอนที่ดิกเกนส์เขียน Hard Times เราก็ยังไม่เคยเห็นตัวละครแบบมิสเตอร์บาวเดอบีในนิยาย (ทั้งที่ผู้คนในชีวิตจริง มีพฤติกรรมแบบสุดโต่งไม่ผิดเพี้ยนจากตัวละครตัวนี้นัก)
จุดจบของบาวเดอบีจะเป็นอย่างไร แนะนำให้ต้องไปอ่านเอง แต่รับรองได้ว่าแซ่บ
2 comments:
I will add your blog to my list. Congratulations for your works!!
converse outlet
jordan shoes
nike air vapormax
adidas gazelle
converse outlet
curry 5 shoes
yeezys
nike cortez men
retro jordans
supreme clothing
Post a Comment