D. Lodge's "Changing Places"

เครื่องจักรที่เห็นในรูปข้างบนนี้ เขาเรียกว่าปาเตอร์นอสเตอร์ เป็นลิฟต์แบบพิเศษ เคลื่อนที่ขึ้นอย่างช้าๆ และวนลงมาเมื่อถึงยอดตึก ปาเตอร์นอสเตอร์จะไม่หยุดรับผู้โดยสารเหมือนลิฟต์ทั่วไป คุณต้องใช้ทักษะในการกระโดดเข้าไปเอง ท่าทางจะอันตรายอยู่เหมือนกัน แต่เห็นในรูปแล้ว ก็น่าสนุกดีพิลึก

เดวิด ลอดจ์ใช้ปาเตอร์นอสเตอร์เป็นอุปมาอุปมัยแทนเหตุการณ์ใน Changing Places เรื่องของอาจารย์สอนวรรณคดีอังกฤษสองคน ชาวอเมริกันและชาวอังกฤษ ที่เข้าโครงการแลกเปลี่ยน และไปสอนยังมหาวิทยาลัยของอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วงแรกแต่ละคนต้องเผชิญหน้ากับ culture shock อย่างรุนแรง (culture shock ในแบบที่ไม่เกี่ยวอะไรกับภาษาเลย เป็นบางสิ่งที่ยากแท้ให้คนไทยจินตนาการออก เนื่องจากไม่ได้มีประเทศอื่น แผ่นดินอื่นที่พูดภาษาเดียวกับเรา ใกล้เคียงสุดก็คือ การต้องไปอยู่คนเดียวในประเทศลาว ทั้งที่คนรอบข้างพูดภาษาเดียวกับเรา สื่อสารกันรู้เรื่อง แต่กลับเหมือนมีกำแพงทางวัฒนธรรมกั้นกลาง แบ่งแยกตัวเราออกมา) เมื่อปรับตัวได้แล้ว ต่างฝ่ายต่างประสบความสำเร็จในชีวิตใหม่ชั่วคราวของตัวเอง และพบว่าบางทีชีวิตชั่วคราวนี้อาจมีเสน่ห์เย้ายวนใจบางอย่าง ให้น่าลงหลักปักฐานถาวรไปเลยก็ได้

พลอตแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่อะไร ภาพยนตร์ฮอลลีวูดชวนหัวหลายเรื่องก็ใช้พลอต "ปลาหนีน้ำ" (fish out of water) แบบนี้ แต่ที่หลักแหลมเป็นพิเศษ คือลอดจ์เล่าเรื่องราว "ปลาหนีน้ำ" แบบคูณสอง ทั้งเรื่องของชาวอังกฤษในอเมริกา และเรื่องของชาวอเมริกาในอังกฤษด้วย นอกจากนี้ยังผนวกบรรยากาศยุค 60 สงครามเวียดนาม สิทธิสตรี และการปฏิวัติฮิปปี้เข้ามาได้แบบเนียนๆ

ลอดจ์นอกจากจะเป็นนักเขียนนิยายแล้ว ยังเป็นนักทฤษฎีด้านวรรณกรรมวิจารณ์ด้วย ในตอนจบของ Changing Places ลอดจ์ใช้ลูกเล่นกับรูปแบบการเล่าเรื่องอย่างแพรวพราว และถือเป็นการทดลองทางวรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จที่สุดชิ้นหนึ่ง

2 comments:

hosted virtual call center said...

Thank you very much for letting me comment, tell it is a pleasure for me to have the opportunity to read this article. Today I read a lot and I assure you that all day had not read anything as interesting as this, I found it very effective information. THANKS

neesa said...

newsYour Domain Name Sourcenavigate to this web-site see hererecommended you read