R. Williams's "Marxism and Literature" *


สงสัยบ้างอะไรบ้างว่าตกลงไอ้ทฤษฎีวรรณกรรมแบบมาร์กซิสนี่มันคือการเอาทฤษฎีสังคมของมาร์กไปอธิบายวรรณกรรม หรือคือการเอาวรรณกรรมไปอธิบายทฤษฎีสังคมของมาร์ก หรือถ้าจะสงสัยให้เหนือๆ หน่อย ก็ต้องสงสัยว่า แล้วไอ้สองอย่างนี้มันแตกต่างกันหรือเปล่า

ถ้าให้สรุป Marxism and Literature ภายในประโยคเดียว ก็จะสรุปว่านี่คือความพยายามของวิลเลียมส์ในการคืน "วัตถุนิยม" เข้าไปใน "วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์" คำวิพากษ์วิจารณ์ของวิลเลียมส์ที่มีต่อนักมาร์กซิสในยุคเดียวกันคือ ทฤษฎีของพวกเขาเหล่านั้น "วัตถุนิยมไม่พอ" แต่ถ้าให้วิลเลียมเจาะจงว่า ต้องแบบไหนถึงจะเป็นวัตถุนิยมอย่างแท้จริง คำตอบของเขาคือต้องเป็นทฤษฎีที่ตระหนักถึงความสำคัญของ "จิตสำนึก" (ซึ่งกลับฟังเป็น "อุดมคติ" เข้าไปอีก ไม่ใช่ว่าทฤษฎีของมาร์กคือการฉีกตัวเองออกจากอุดมคติแบบเยอรมัน แบบเฮเกลหรอกหรือ) สำหรับวิลเลียมส์ สิ่งที่เป็นวัตถุนิยมคือ "กระบวนการผลิต" วัตถุ ซึ่งกระบวนการผลิตนั้นแยกจากจิตสำนึกไม่ได้

ตัวอย่างของโครงสร้างส่วนบนนั้นชัดเจนมาก และเป็นประเด็นหลักของหนังสือเล่มนี้ วิลเลียมส์บอกว่า หลายคนมักเข้าใจผิดว่าโครงสร้างส่วนบนคือสิ่งที่สืบทอดกันมาในหมู่ชนชั้นปกครอง เป็นกระบวนการที่ผลิตความเชื่อและอุดมคติซึ่งครอบงำสังคมอีกทอดหนึ่ง เหมือนกับเสื้อที่ตกทอดจากรุ่นปู่ มาสู่รุ่นพ่อ และลงไปถึงรู่นลูก และรุ่นหลาน วิลเลียมส์ปฏิเสธการมองโครงสร้างส่วนบนเป็นวัตถุรูปธรรมขนาดนั้น สำหรับเขา โครงสร้างส่วนบนคือ "จิตสำนึก" ที่ถ่ายทอดมากกว่า และกระบวนการสร้างอุดมคติ ไม่ใช่ "เครื่องมือ" ของชนชั้นปกครอง แต่เป็นการผลิตซ้ำของทุกหน่วยในสังคม โดยอ้างอิงจิตสำนึกที่ได้รับการสืบทอดมาดังกล่าว อุปมาอุปมัยคือ ไม่ใช่เสื้อหรอกที่ถ่ายทอดมา แต่เป็นโครงสร้างของร่างกายต่างหาก ดังนั้นเมื่อรุ่นลูกไปตัดเสื้อตัวใหม่ ก็จะออกมาคล้ายๆ เดิมเพราะมีรูปร่างแบบเดียวกัน

สิ่งที่เราชอบในแนวคิดของวิลเลียมส์คือมันเปิดโอกาสให้มีอุดมคติที่ขัดแย้งกับความเชื่อหลักของชนชั้นปกครองได้ และความเข้มแข็งที่แท้จริงของกระบวนการสร้างอุดมคติไม่ได้วัดกันที่ชนชั้นปกครองสามารถปกปิดหรือถอนรากถอนโคนอุดมคติดัังกล่าว แต่อยู่ที่ชนชั้นปกครองสามารถผนวกอุดมคติที่ขัดแย้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคิดที่พวกเขาต้องการใช้ครอบงำสังคมได้สักแค่ไหน เมืองไทยคือตัวอย่างที่ชัดเจนมากๆ ของกระบวนการตรงนี้ การต่อสู้ของนักศึกษาในช่วงปี 2516 ถึง 2519 กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทุกฝ่ายสามารถนำมาหยิบใช้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองได้

ถามว่าทั้งหลายทั้งปวงนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับวรรณกรรม วิลเลียมส์วิเคราะห์ได้อย่างน่าขบคิดว่า การเกิดขึ้นของ genre หรือขนบวรรณกรรม ก็เป็นกระบวนการที่คล้ายๆ กับการเกิดขึ้นของโครงสร้างส่วนบน คือนักเขียนแต่ละคนที่ตั้งใจจะเขียนเรื่อง เช่น เขย่าขวัญ ก็จะ "ประทับ" จิตสำนึกหรือกระบวนการคิดแบบนิยายเขย่าขวัญขึ้นมาก่อน จากนั้นค่อยผลิตผลงานซึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างจากนิยายเขย่าขวัญที่มีมาอยู่แล้ว กระทั่งว่านิยายที่จงใจเขียนขึ้นมาเพื่อยั่วล้อหรือต่อต้านขนบนิยายเขย่าขวัญ นักเขียนก็ยังต้องอาศัยการประทับจิตสำนึกดังกล่าว และในท้ายที่สุด นิยายเหล่านั้นก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบสร้างขนบขึ้นมาด้วย (เหมือนกับว่า ไปๆ มาๆ Scream ก็คือตัวอย่างของภาพยนตร์เขย่าขวัญที่กลั่นกรองและตกผลึกความเป็นภาพยนตร์เขย่าขวัญได้ชัดเจนที่สุด)

6 comments:

Anonymous said...

แอบซุ่มมาอ่านอยู่ เขียนต่อเรื่อยๆเลยนะครับ ^_^

Anonymous said...

แอบซุ่มมาอ่านอยู่ เขียนต่อเรื่อยๆเลยนะครับ ^_^

Anonymous said...

ชอบมากครับ เป็นกำลังใจครับ อทิบายเรื่องยากให้ ง่ายๆ ได้ใจความ สมกับรสนิยมที่คุณชอบอะไรตรงๆดีครับ ^__^ สู้ๆ

Anonymous said...

อยากรู้จังว่าเจ้าของบล็อกเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์

yanmaneee said...

jordan 4
supreme hoodie
adidas yeezy
jordan shoes
ferragamo belt
hogan outlet online
off white clothing
goyard
kd shoes
yeezy

mcslethe said...

s5o03x4d18 m7k50w5y24 e7m45i5u69 w6c44a0d46 s7e68p7q60 r3t60r6a63