I. Kant's "Critique of Practical Reason"

หนึ่งในปัญหาคลาสสิคของปรัชญาตะวันตกคือ causality (กฎแห่งเหตุและผล) ปะทะ morality (กฎแห่งศีลธรรม) สุดโต่งด้านหนึ่งคือฮูม ผู้เชื่อว่าโลกใบนี้เป็นนาฬิกาเรือนใหญ่ ทุกสรรพสิ่งเคลื่อนที่ตามกลไก เหตุและผลของมัน จึงเป็นเรื่องเปล่าดายที่มนุษย์จะเปลี่ยนแปลงอะไร เจตจำนงค์อิสระไม่มีจริง และศีลธรรมไม่มีความหมาย อีกด้านหนึ่ง สปิโนซาบอกว่า พระผู้เป็นเจ้าคือสสารใหญ่สุดหนึ่งเดียว ทุกเหตุการณ์ในโลกเกิดจากพระองค์แบ่งแยกตัวเองออกมา ดังนั้นทุกสิ่งจึงอยู่นอกเหนือความพยายามของมนุษย์ เจตจำนงค์อิสระไม่มีจริง และศีลธรรมไม่มีความหมาย

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าสุดโต่งทางไหน ข้อสรุปเดียวกันหมดคือศีลธรรมเป็นเรื่องลวงตา (หมายเหตุ: อันนี้คือรักชวนหัวอ่านคานท์อ่านฮูมและสปิโนซา ถ้าผิดจากนี้ อาจจะไม่ได้ผิดที่เรา แต่ผิดที่คานท์ก็ได้นะ)

ใน Critique of Practical Reason คานท์พยายามดึงเอาศีลธรรมกลับมา เขาแบ่งสรรพสิ่งในโลกออกเป็นสองประเภท คือ phenomenon (ปรากฏการณ์) และ noumenon phenomenon ปรากฏให้เราเห็น ผ่านการรับรู้ และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผล (ใน Critique of Pure Reason คานท์อธิบายว่ากฎแห่งเหตุและผล เป็นเพียงกรอบที่การรับรู้ของมนุษย์นำมาครอบปรากฏการณ์เท่านั้น)

ดังนั้นอะไรที่อยู่นอกเหนือไปจาก phenomenon (ซึ่งก็คือ noumenon หรือ -- ถ้าใครอ่านปรัชญาเยอรมัน คำที่ทุกคนจะเจอ และจะงงโคตรๆ เมื่อเจอหนแรกคือ -- thing-in-themselves นั่นเอง) เราไม่สามารถใช้กฎแห่งเหตุและผลอธิบายได้ เช่น "เพราะนาย a มีจิตใจอันโหดร้าย เขาจึงทำร้ายนาย b" จิตใจอันโหดร้ายของนาย a เป็น noumenon (ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่สัมผัส รับรู้ได้) จึงไม่อาจนำมาผนวกในประโยคเหตุและผลเช่นนี้ เช่นเดียวกับประโยค "ถ้าในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะไม่ประสบอุทกภัย" ทั้งเหตุและผลของประโยคนี้ก็เป็น noumenon กันทั้งคู่

คานท์อธิบายว่า จริงอยู่ที่ทุกปรากฏการณ์อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลเหมือนกับนาฬิกาเรือนยักษ์ของฮูม แต่ถ้าเราสาวเหตุและผลย้อนหลังต่อๆ กันไปเรื่อยๆ เราจะเจอกับ noumenon ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปของ "นาย a ทำร้ายนาย b เพราะเขามีจิตใจอันโหดร้าย" สิ่งที่นาย a ทำ ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลแล้ว เพราะมันมาจากแรงขับเคลื่อนภายในตัวนาย a เอง เราสามารถใช้ศีลธรรมมาตัดสินการกระทำของนาย a ได้ นาย a อาจจะอ้างสาเหตุที่ตัวเขามี "จิตใจอันโหดร้าย" (ซึ่งส่งผลไปยังการกระทำของเขา) ว่าเป็นเพราะการเลี้ยงดูอย่างผิดๆ โดยพ่อแม่ แต่สำหรับคานท์ internal causality ไม่ใช่ phenomenon ดังนั้นไม่อาจถือเป็น causality ได้

สรุปแบบเท่ๆ เจตจำนงค์อิสระสถิตอยู่ในเส้นที่ noumenon ก้าวผ่านออกมาเป็น phenomenon นั่นเอง

3 comments:

hosted virtual call center said...

Thank you for sharing to us.there are many person searching about that now they will find enough resources by your post.I would like to join your blog anyway so please continue sharing with us

yanmaneee said...

golden gooses
air max 2019
lebron 16
cheap nfl jerseys
louboutin shoes
converse shoes
yeezy boost 350 v2
yeezy boost
coach outlet online
mbt shoes

Anonymous said...

visit site high replica bags informative post Bottega Veneta Dolabuy try this high quality replica bags