"Aaaaaiiiii don't know..." (ทำเสียงถอนหายใจแรงๆ )
ตั้งแต่แมคคัลสมิธตีพิมพ์นิยายนักสืบหญิงแห่งแอฟริกาเล่มแรกในปี 1999 จนถึงตอนนี้ ลุงแกสำรอกนิยายนักสืบติดๆ กันมายี่สิบกว่าเล่มแล้ว (และนักสืบหญิงแห่งแอฟริกาก็ได้กลายเป็นละครทีวี แต่ขอบคุณพระเจ้า ที่เหมือนมันจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่) พออ่าน The Sunday Philosophy Club จบ ความรู้สึกเหมือนตอนอ่านนักสืบหญิงแห่งแอฟริกาคือ "ลุงแกช่างไม่มีเคล็ดลับ ไม่มีความเข้าใจ ไม่มีฝีมือที่จะเขียนนิยายสืบสวนสอบสวนเอาเสียเล้ยยยย"
อย่างนักสืบหญิงแห่งแอฟริกา จะว่าเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนก็ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ เพราะแม้จะมีตัวนักสืบ แต่หล่อนก็ไม่ได้ออกไปสืบสวนอะไรนัก แค่ทำภารกิจที่ตรงไปตรงมา เช่น ตามเด็กหาย จับชายชู้ หรือสะกดรอยแม่บ้าน (สรุปนี่คือนิยายสืบสวนสอบสวนที่ไม่มีปริศนานั่นเอง!) ส่วน The Sunday Philosophy Club หลังจากอ่านมาทั้งเล่ม ภารกิจก็ไขออกกันง่ายๆ ในหน้าสองหน้าสุดท้ายด้วยเงื่อนงำที่ไม่เคยถูกกล่าวถึงมาก่อน (นิยายสืบสวนสอบสวนที่ไม่มีเงื่อนงำ!) จะบอกว่าลุงแกอยากรื้อสร้างนิยายแนวนี้ เราก็อดคิดไม่ได้ว่าจะรื้อสร้างอะไรกันนักกันหนายี่สิบกว่าเล่ม
แต่ที่พูดมานี้ไม่ใช่ว่าจะอ่านแล้วไม่เพลินนะ โดยเฉพาะมาอ่านหลัง Travels with My Aunt ได้อ่านอะไรที่อนุรักษนิยมสุดโต่งแบบนี้ ก็เป็นความเพลิดเพลินในอีกรูปแบบ (ผู้ใหญ่ถูกเสมอ...คุณตัดสินคนได้ทันทีจากภายนอก...มารยาทคือสถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุด...) ทุกอย่างในโลกมันวนกลับมาเป็นวงกลมจริงๆ นั่นแหละ ในโลกตะวันตก ยุคปัจจุบันถ้าอยาก "ถอนรากถอนโคน" (radical) วิธีที่ดีที่สุดก็คือการกลับไปหาคุณค่าแบบคุณปู่คุณย่านั่นเอง
G. Greene's "Travels with My Aunt"
ปีที่แล้วเคยพูดถึงหนังสือวันโลกแตกของแอนโธนี เบอเกส ซึ่งจริงๆ แล้วคงเป็นหนังสือที่ดี แต่ผู้อ่านในศตวรรษที่ 21 อย่างเรา เจอภาพยนตร์อุกกาบาตของไมเคิล เบย์ และมหันตภัยของโรแลนด์ เอเมอริช จนเราสูญเสียความสามารถในการ take serious หนังสือแบบนี้ไปแล้ว ในทำนองคล้ายๆ กัน ระหว่างที่อ่าน Travels with my Aunt ก็อดคิดถึงภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของอดัม แซนเลอร์ Jack and Jill ไม่ได้
หนังสือเล่มนี้ (และหนังของแซนเดอร์) ว่าด้วยการพบปะของตัวเอก ผู้มีชีวิตน่าเบื่อๆ แบบชนชั้นกลาง และญาติสนิทที่หายสาบสูญไป ในที่นี้คือป้า (ซึ่งอาจจะเป็นแม่ที่แท้จริงของเขาก็ได้) ตั้งแต่นิยายเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1969 เรื่องราวแบบนี้ก็แทบจะกลายเป็น genre ในตัวมันเอง ซึ่งก็ไม่ใช่ว่า Travels with my Aunt จะเป็นหนังสือที่ไม่ดี แต่นอกจากเราจะสูญเสียความสามารถในการ take serious พลอตเรื่องแบบนี้ นิยายทั้งเล่มยังถูกเกาะเกี่ยวเข้าหากันด้วยการเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง และกลับไปยังจุดตั้งต้นซ้ำไปซ้ำมา สำหรับคนที่ไม่ได้ชอบเดินทางอย่างเรา มันยิ่งลดความน่าติดตามเข้าไปใหญ่
เรามันก็ชนชั้นกลางน่าเบื่อๆ แบบนี้แหละ เอาไว้รอให้มีญาติที่หายสาบสูญพาเราไปเที่ยวไหนต่อไหน เราอาจจะสนุกกับหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาบ้างก็ได้
หนังสือเล่มนี้ (และหนังของแซนเดอร์) ว่าด้วยการพบปะของตัวเอก ผู้มีชีวิตน่าเบื่อๆ แบบชนชั้นกลาง และญาติสนิทที่หายสาบสูญไป ในที่นี้คือป้า (ซึ่งอาจจะเป็นแม่ที่แท้จริงของเขาก็ได้) ตั้งแต่นิยายเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1969 เรื่องราวแบบนี้ก็แทบจะกลายเป็น genre ในตัวมันเอง ซึ่งก็ไม่ใช่ว่า Travels with my Aunt จะเป็นหนังสือที่ไม่ดี แต่นอกจากเราจะสูญเสียความสามารถในการ take serious พลอตเรื่องแบบนี้ นิยายทั้งเล่มยังถูกเกาะเกี่ยวเข้าหากันด้วยการเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง และกลับไปยังจุดตั้งต้นซ้ำไปซ้ำมา สำหรับคนที่ไม่ได้ชอบเดินทางอย่างเรา มันยิ่งลดความน่าติดตามเข้าไปใหญ่
เรามันก็ชนชั้นกลางน่าเบื่อๆ แบบนี้แหละ เอาไว้รอให้มีญาติที่หายสาบสูญพาเราไปเที่ยวไหนต่อไหน เราอาจจะสนุกกับหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาบ้างก็ได้
W. Shakespeare's "The Wars of the Roses"
เปล่าๆ เชคสเปียร์ไม่เคยเขียนบทละครชื่อ "The Wars of the Roses" หรอกนะ มีแต่จตุรภาคสงครามดอกกุหลาบที่ประกอบไปด้วยบทละครสี่เล่ม คือ Henry VI สามเล่ม แล้วก็ Richard III อีกหนึ่งเล่ม ทั้งสี่เล่มเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามดอกกุหลาบ ระหว่างตระกูลยอร์คและแลนแคสเตอร์ในประเทศอังกฤษ (ทั้งสองตระกูลใช้สัญลักษณ์เป็นดอกกุหลาบขาวและแดง) เริ่มในยุคกษัตริย์เฮนรีที่ 6 ภายหลังสงครามร้อยปีกับประเทศฝรั่งเศส ต่อมาถึงกษัตริย์เอดเวิร์ดที่ 4 และไปจบที่ทรราชย์ริชาร์ดที่ 3 ผู้โด่งดัง ก่อนตระกูลยอร์คและแลนแคสเตอร์จะรวมกันเกิดเป็นราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งเป็นยุคสมัยของเชคสเปียร์
โด่งดังสุดในสี่เล่ม แน่นอนว่าต้องเป็น Richard III บทละครสร้างชื่อเรื่องแรกของเชคสเปียร์ Richard III โด่งดังเสียจน มันกลืนเอาบทละครเฮนรีที่ 6 อีกสามเรื่องหายเข้าไปหมด ทั้งปัจจุบันและในอดีตไม่ค่อยมีใครเล่นบทละครเฮนรีแล้ว แต่บางส่วนบางตอนของมัน ถูกประกอบเข้าไปอยู่ใน Richard III แทน
และเหยื่อของการถูกกลืนตรงนี้ ก็มักจะหนีไม่พ้น Henry VI ภาคสุดท้าย ซึ่งเจ้าชายริชาร์ดเริ่มมีบทบาทเด่นขึ้นมา อันที่จริงก็น่าเสียดาย เพราะถ้าถามเรา บทละครทั้งสองเรื่องนี้ดีพอๆ กัน และดีไปคนละแบบ Henry VI ภาคสุดท้าย เป็นบทละครว่าด้วยสงครามกลางเมือง ดังนั้นจึงไม่มีตัวเอกชัดเจน เหมือนที่กษัตริย์เฮนรีรำพึง ชีวิตของผู้คนในภาวะสงครามเปรียบเหมือนขนนกปลิวไปปลิวมาท่ามกลางกระแสลม บัดเดี๋ยวมีชัย บัดเดี๋ยวแพ้พ่าย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดวง (ไม่ต้องแปลกใจว่าโรเบิร์ต เซเมกคิส ผู้กำกับ Forest Gump เอาอุปมาชีวิตคนเหมือนขนนกมาจากไหน) ฉากที่โดดเด่นที่สุดอยู่กลางเรื่อง เมื่อทั้งฝ่ายยอร์คและแลนแคสเตอร์ส่งทูตไปเจรจาขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ฝรั่งเศส ฉากนี้โชว์ความสามารถ ไหวพริบปฏิภาณทางการทูตของแต่ละฝ่าย ก่อนจะจบลงด้วยความพลิกผันเหนือคาดหมาย
อันที่จริง ถ้าไม่ยึดติดกับอคติว่าพระเอกต้องเป็นคนดี เก่งกล้าสามารถแล้วละก็ Henry VI ภาคสุดท้าย ก็มีพระเอกเหมือนกัน และสองคนเสียด้วย คือกษัตริย์เฮนรีและเจ้าชายริชาร์ด ทั้งคู่เป็นขั้วตรงข้ามระหว่างความดีและความเลวสุดโต่ง ในตอนจบฉากการปะทะกันในหอคอยระหว่างความดีและความเลวเทียบเท่าฉากไคลแมกในภาพยนต์แอคชั่นทั้งหลายเลย (เพียงแต่หนนี้ความดีเป็นฝ่ายปราชัย ริชาร์ดสังหารเฮนรี ก่อนจะตั้งตนเป็นกษัตริย์ได้ในภายหลัง)
Richard III เป็นบทละครอีกประเภทหนึ่ง กษัตริย์ริชาร์ดเป็นตัวเด่น แอนไทฮีโร ที่คุมละครทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ (และเป็นครั้งแรกอีกเหมือนกันที่เชคสเปียร์เขียนละครลักษณะนี้) ส่วนตัวเราเฉยๆ กับการยึดครองอำนาจของริชาร์ด เราไม่ค่อยชอบผู้ร้ายสองหน้าของเชคสเปียร์เท่าไหร่ (เอดมุนเอย อิยาโกเอย) บทแบบนี้ถ้าเล่นไม่ดีจริง มันจะออกมาเป็นนางร้ายช่องเจ็ดมากๆ แต่สิ่งที่เราชอบที่สุดใน Richard III คือสงครามย่อยๆ ระหว่างเพศ ขณะที่ผู้ชายของสองตระกูลรบราฆ่าฟันกัน จู่ๆ ผู้หญิงก็เริ่มสมัครสมานสามัคคีกันได้ในความเศร้าโศก และก็เป็นอำนาจในเรือนของผู้หญิงต่างหากที่โค่นล้มทรราชย์ริชาร์ดลงได้สำเร็จ
โด่งดังสุดในสี่เล่ม แน่นอนว่าต้องเป็น Richard III บทละครสร้างชื่อเรื่องแรกของเชคสเปียร์ Richard III โด่งดังเสียจน มันกลืนเอาบทละครเฮนรีที่ 6 อีกสามเรื่องหายเข้าไปหมด ทั้งปัจจุบันและในอดีตไม่ค่อยมีใครเล่นบทละครเฮนรีแล้ว แต่บางส่วนบางตอนของมัน ถูกประกอบเข้าไปอยู่ใน Richard III แทน
และเหยื่อของการถูกกลืนตรงนี้ ก็มักจะหนีไม่พ้น Henry VI ภาคสุดท้าย ซึ่งเจ้าชายริชาร์ดเริ่มมีบทบาทเด่นขึ้นมา อันที่จริงก็น่าเสียดาย เพราะถ้าถามเรา บทละครทั้งสองเรื่องนี้ดีพอๆ กัน และดีไปคนละแบบ Henry VI ภาคสุดท้าย เป็นบทละครว่าด้วยสงครามกลางเมือง ดังนั้นจึงไม่มีตัวเอกชัดเจน เหมือนที่กษัตริย์เฮนรีรำพึง ชีวิตของผู้คนในภาวะสงครามเปรียบเหมือนขนนกปลิวไปปลิวมาท่ามกลางกระแสลม บัดเดี๋ยวมีชัย บัดเดี๋ยวแพ้พ่าย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดวง (ไม่ต้องแปลกใจว่าโรเบิร์ต เซเมกคิส ผู้กำกับ Forest Gump เอาอุปมาชีวิตคนเหมือนขนนกมาจากไหน) ฉากที่โดดเด่นที่สุดอยู่กลางเรื่อง เมื่อทั้งฝ่ายยอร์คและแลนแคสเตอร์ส่งทูตไปเจรจาขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ฝรั่งเศส ฉากนี้โชว์ความสามารถ ไหวพริบปฏิภาณทางการทูตของแต่ละฝ่าย ก่อนจะจบลงด้วยความพลิกผันเหนือคาดหมาย
อันที่จริง ถ้าไม่ยึดติดกับอคติว่าพระเอกต้องเป็นคนดี เก่งกล้าสามารถแล้วละก็ Henry VI ภาคสุดท้าย ก็มีพระเอกเหมือนกัน และสองคนเสียด้วย คือกษัตริย์เฮนรีและเจ้าชายริชาร์ด ทั้งคู่เป็นขั้วตรงข้ามระหว่างความดีและความเลวสุดโต่ง ในตอนจบฉากการปะทะกันในหอคอยระหว่างความดีและความเลวเทียบเท่าฉากไคลแมกในภาพยนต์แอคชั่นทั้งหลายเลย (เพียงแต่หนนี้ความดีเป็นฝ่ายปราชัย ริชาร์ดสังหารเฮนรี ก่อนจะตั้งตนเป็นกษัตริย์ได้ในภายหลัง)
Richard III เป็นบทละครอีกประเภทหนึ่ง กษัตริย์ริชาร์ดเป็นตัวเด่น แอนไทฮีโร ที่คุมละครทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ (และเป็นครั้งแรกอีกเหมือนกันที่เชคสเปียร์เขียนละครลักษณะนี้) ส่วนตัวเราเฉยๆ กับการยึดครองอำนาจของริชาร์ด เราไม่ค่อยชอบผู้ร้ายสองหน้าของเชคสเปียร์เท่าไหร่ (เอดมุนเอย อิยาโกเอย) บทแบบนี้ถ้าเล่นไม่ดีจริง มันจะออกมาเป็นนางร้ายช่องเจ็ดมากๆ แต่สิ่งที่เราชอบที่สุดใน Richard III คือสงครามย่อยๆ ระหว่างเพศ ขณะที่ผู้ชายของสองตระกูลรบราฆ่าฟันกัน จู่ๆ ผู้หญิงก็เริ่มสมัครสมานสามัคคีกันได้ในความเศร้าโศก และก็เป็นอำนาจในเรือนของผู้หญิงต่างหากที่โค่นล้มทรราชย์ริชาร์ดลงได้สำเร็จ
I. Dinesen's "The Angelic Avengers"
เพิ่งรำพึงอยู่หยกๆ ว่าอะไรหนอคือความลับของนิทาน นิทานช่างเป็นเครื่องมือทางวรรณกรรมอันน่ามหัศจรรย์ คุณสามารถแทรกมันลงไปในนิยายหรือเรื่องสั้นใดๆ ก็ได้ ความเป็นกลางของนิทานช่วยให้มันกลายเป็นสัญลักษณ์ที่รับใช้ได้ทุกเนื้อหา บริบท เหมือนผลึกแก้วหักเหแสงขาวให้กลายเป็นสีรุ้ง และขณะเดียวกันก็รวบสีรุ้งให้กลับมาเป็นแสงขาว
ดีนเซนเป็นเจ้าแม่นิทานยุคใหม่ เรื่องสั้นของเธอ บางเรื่องไม่มีอะไรเลย น้ำท่วมทุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวละครแลกเปลี่ยนเล่านิทานสู่กันฟัง เมื่อนั้นแหละ ทั้งเรื่องสั้นของเธอก็จะมีความหมายขึ้นมาทันที งานเขียนของดีนเซนเหมือนกล่องเก็บเครื่องประดับ ที่เปิดเต็มไปด้วยขยะ เว้นแต่ผลึกอัญมณีที่สวยมากๆ ก้อนหนึ่ง เพราะเหตุนี้ เราถึงชื่นชมเรื่องสั้นของดีนเซนมากกว่านิยาย ในจำนวนงานเขียนทั้งหมดของเธอ ผลงานที่ดังที่สุด Out of Africa กลับเป็นผลงานที่เราชอบน้อยที่สุด
ถึงแม้ The Angelic Avengers จะเป็นนิยาย แต่กับเรื่องนี้ดีนเซนใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวเองได้อย่างชาญฉลาด ดีนเซนเอานิทานเรื่อง "เคราน้ำเงิน" (ซึ่งก็คือ โฉมงามกับเจ้าชายอสูร ฉบับจบไม่ดี เพราะเจ้าชายอสูรในที่นี้เป็นฆาตกร) มาเป่าให้มันพองออก กลายเป็นนวนิยายยาว 300 หน้า เพิ่มโฉมงามเป็นสองหน่อ ใส่แบคกราวน์ลงไป เปลี่ยนเจ้าชายอสูรเป็น -- เราก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน แต่เราชอบตัวละครตัวนี้มาก เราอยากเรียกเขาว่า -- นักบวชมหากาฬ ส่วนผสมระหว่างพิกเมเลียน เอเวอกรีน (มือปืนนักบวชในเรื่อง Trigun) แล้วก็ปาปาเลคบา เทพแห่งความตายในศาสนาวูดู แทนที่เคราน้ำเงินคนนี้จะแต่งงานกับผู้หญิงคนแล้วคนเล่า ก็เป็นเคราน้ำเงินที่รับหญิงสาวมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมแทน
นอกจากนิยายทั้งเรื่องจะเป็นนิทานขนาดยาวแล้ว ดีนเซนยังยัดเอานิทาน (หรืออะไรที่เหมือนนิทาน) ใส่ลงไปตรงนู่นตรงนี้ The Angelic Avengers กลายเป็นโคตรนิทานที่น่าอัศจรรย์ใจ นี่คือการรื้อนิทาน ไม่ใช่เพื่อทำลาย แต่เพื่อนำมาสร้างใหม่ให้พิสดาร ไฉไลกว่าเดิมโดยแท้
ดีนเซนเป็นเจ้าแม่นิทานยุคใหม่ เรื่องสั้นของเธอ บางเรื่องไม่มีอะไรเลย น้ำท่วมทุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวละครแลกเปลี่ยนเล่านิทานสู่กันฟัง เมื่อนั้นแหละ ทั้งเรื่องสั้นของเธอก็จะมีความหมายขึ้นมาทันที งานเขียนของดีนเซนเหมือนกล่องเก็บเครื่องประดับ ที่เปิดเต็มไปด้วยขยะ เว้นแต่ผลึกอัญมณีที่สวยมากๆ ก้อนหนึ่ง เพราะเหตุนี้ เราถึงชื่นชมเรื่องสั้นของดีนเซนมากกว่านิยาย ในจำนวนงานเขียนทั้งหมดของเธอ ผลงานที่ดังที่สุด Out of Africa กลับเป็นผลงานที่เราชอบน้อยที่สุด
ถึงแม้ The Angelic Avengers จะเป็นนิยาย แต่กับเรื่องนี้ดีนเซนใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวเองได้อย่างชาญฉลาด ดีนเซนเอานิทานเรื่อง "เคราน้ำเงิน" (ซึ่งก็คือ โฉมงามกับเจ้าชายอสูร ฉบับจบไม่ดี เพราะเจ้าชายอสูรในที่นี้เป็นฆาตกร) มาเป่าให้มันพองออก กลายเป็นนวนิยายยาว 300 หน้า เพิ่มโฉมงามเป็นสองหน่อ ใส่แบคกราวน์ลงไป เปลี่ยนเจ้าชายอสูรเป็น -- เราก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน แต่เราชอบตัวละครตัวนี้มาก เราอยากเรียกเขาว่า -- นักบวชมหากาฬ ส่วนผสมระหว่างพิกเมเลียน เอเวอกรีน (มือปืนนักบวชในเรื่อง Trigun) แล้วก็ปาปาเลคบา เทพแห่งความตายในศาสนาวูดู แทนที่เคราน้ำเงินคนนี้จะแต่งงานกับผู้หญิงคนแล้วคนเล่า ก็เป็นเคราน้ำเงินที่รับหญิงสาวมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมแทน
นอกจากนิยายทั้งเรื่องจะเป็นนิทานขนาดยาวแล้ว ดีนเซนยังยัดเอานิทาน (หรืออะไรที่เหมือนนิทาน) ใส่ลงไปตรงนู่นตรงนี้ The Angelic Avengers กลายเป็นโคตรนิทานที่น่าอัศจรรย์ใจ นี่คือการรื้อนิทาน ไม่ใช่เพื่อทำลาย แต่เพื่อนำมาสร้างใหม่ให้พิสดาร ไฉไลกว่าเดิมโดยแท้
I. Kant's "Critique of Practical Reason"
หนึ่งในปัญหาคลาสสิคของปรัชญาตะวันตกคือ causality (กฎแห่งเหตุและผล) ปะทะ morality (กฎแห่งศีลธรรม) สุดโต่งด้านหนึ่งคือฮูม ผู้เชื่อว่าโลกใบนี้เป็นนาฬิกาเรือนใหญ่ ทุกสรรพสิ่งเคลื่อนที่ตามกลไก เหตุและผลของมัน จึงเป็นเรื่องเปล่าดายที่มนุษย์จะเปลี่ยนแปลงอะไร เจตจำนงค์อิสระไม่มีจริง และศีลธรรมไม่มีความหมาย อีกด้านหนึ่ง สปิโนซาบอกว่า พระผู้เป็นเจ้าคือสสารใหญ่สุดหนึ่งเดียว ทุกเหตุการณ์ในโลกเกิดจากพระองค์แบ่งแยกตัวเองออกมา ดังนั้นทุกสิ่งจึงอยู่นอกเหนือความพยายามของมนุษย์ เจตจำนงค์อิสระไม่มีจริง และศีลธรรมไม่มีความหมาย
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าสุดโต่งทางไหน ข้อสรุปเดียวกันหมดคือศีลธรรมเป็นเรื่องลวงตา (หมายเหตุ: อันนี้คือรักชวนหัวอ่านคานท์อ่านฮูมและสปิโนซา ถ้าผิดจากนี้ อาจจะไม่ได้ผิดที่เรา แต่ผิดที่คานท์ก็ได้นะ)
ใน Critique of Practical Reason คานท์พยายามดึงเอาศีลธรรมกลับมา เขาแบ่งสรรพสิ่งในโลกออกเป็นสองประเภท คือ phenomenon (ปรากฏการณ์) และ noumenon phenomenon ปรากฏให้เราเห็น ผ่านการรับรู้ และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผล (ใน Critique of Pure Reason คานท์อธิบายว่ากฎแห่งเหตุและผล เป็นเพียงกรอบที่การรับรู้ของมนุษย์นำมาครอบปรากฏการณ์เท่านั้น)
ดังนั้นอะไรที่อยู่นอกเหนือไปจาก phenomenon (ซึ่งก็คือ noumenon หรือ -- ถ้าใครอ่านปรัชญาเยอรมัน คำที่ทุกคนจะเจอ และจะงงโคตรๆ เมื่อเจอหนแรกคือ -- thing-in-themselves นั่นเอง) เราไม่สามารถใช้กฎแห่งเหตุและผลอธิบายได้ เช่น "เพราะนาย a มีจิตใจอันโหดร้าย เขาจึงทำร้ายนาย b" จิตใจอันโหดร้ายของนาย a เป็น noumenon (ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่สัมผัส รับรู้ได้) จึงไม่อาจนำมาผนวกในประโยคเหตุและผลเช่นนี้ เช่นเดียวกับประโยค "ถ้าในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะไม่ประสบอุทกภัย" ทั้งเหตุและผลของประโยคนี้ก็เป็น noumenon กันทั้งคู่
คานท์อธิบายว่า จริงอยู่ที่ทุกปรากฏการณ์อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลเหมือนกับนาฬิกาเรือนยักษ์ของฮูม แต่ถ้าเราสาวเหตุและผลย้อนหลังต่อๆ กันไปเรื่อยๆ เราจะเจอกับ noumenon ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปของ "นาย a ทำร้ายนาย b เพราะเขามีจิตใจอันโหดร้าย" สิ่งที่นาย a ทำ ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลแล้ว เพราะมันมาจากแรงขับเคลื่อนภายในตัวนาย a เอง เราสามารถใช้ศีลธรรมมาตัดสินการกระทำของนาย a ได้ นาย a อาจจะอ้างสาเหตุที่ตัวเขามี "จิตใจอันโหดร้าย" (ซึ่งส่งผลไปยังการกระทำของเขา) ว่าเป็นเพราะการเลี้ยงดูอย่างผิดๆ โดยพ่อแม่ แต่สำหรับคานท์ internal causality ไม่ใช่ phenomenon ดังนั้นไม่อาจถือเป็น causality ได้
สรุปแบบเท่ๆ เจตจำนงค์อิสระสถิตอยู่ในเส้นที่ noumenon ก้าวผ่านออกมาเป็น phenomenon นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าสุดโต่งทางไหน ข้อสรุปเดียวกันหมดคือศีลธรรมเป็นเรื่องลวงตา (หมายเหตุ: อันนี้คือรักชวนหัวอ่านคานท์อ่านฮูมและสปิโนซา ถ้าผิดจากนี้ อาจจะไม่ได้ผิดที่เรา แต่ผิดที่คานท์ก็ได้นะ)
ใน Critique of Practical Reason คานท์พยายามดึงเอาศีลธรรมกลับมา เขาแบ่งสรรพสิ่งในโลกออกเป็นสองประเภท คือ phenomenon (ปรากฏการณ์) และ noumenon phenomenon ปรากฏให้เราเห็น ผ่านการรับรู้ และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผล (ใน Critique of Pure Reason คานท์อธิบายว่ากฎแห่งเหตุและผล เป็นเพียงกรอบที่การรับรู้ของมนุษย์นำมาครอบปรากฏการณ์เท่านั้น)
ดังนั้นอะไรที่อยู่นอกเหนือไปจาก phenomenon (ซึ่งก็คือ noumenon หรือ -- ถ้าใครอ่านปรัชญาเยอรมัน คำที่ทุกคนจะเจอ และจะงงโคตรๆ เมื่อเจอหนแรกคือ -- thing-in-themselves นั่นเอง) เราไม่สามารถใช้กฎแห่งเหตุและผลอธิบายได้ เช่น "เพราะนาย a มีจิตใจอันโหดร้าย เขาจึงทำร้ายนาย b" จิตใจอันโหดร้ายของนาย a เป็น noumenon (ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่สัมผัส รับรู้ได้) จึงไม่อาจนำมาผนวกในประโยคเหตุและผลเช่นนี้ เช่นเดียวกับประโยค "ถ้าในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะไม่ประสบอุทกภัย" ทั้งเหตุและผลของประโยคนี้ก็เป็น noumenon กันทั้งคู่
คานท์อธิบายว่า จริงอยู่ที่ทุกปรากฏการณ์อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลเหมือนกับนาฬิกาเรือนยักษ์ของฮูม แต่ถ้าเราสาวเหตุและผลย้อนหลังต่อๆ กันไปเรื่อยๆ เราจะเจอกับ noumenon ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปของ "นาย a ทำร้ายนาย b เพราะเขามีจิตใจอันโหดร้าย" สิ่งที่นาย a ทำ ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลแล้ว เพราะมันมาจากแรงขับเคลื่อนภายในตัวนาย a เอง เราสามารถใช้ศีลธรรมมาตัดสินการกระทำของนาย a ได้ นาย a อาจจะอ้างสาเหตุที่ตัวเขามี "จิตใจอันโหดร้าย" (ซึ่งส่งผลไปยังการกระทำของเขา) ว่าเป็นเพราะการเลี้ยงดูอย่างผิดๆ โดยพ่อแม่ แต่สำหรับคานท์ internal causality ไม่ใช่ phenomenon ดังนั้นไม่อาจถือเป็น causality ได้
สรุปแบบเท่ๆ เจตจำนงค์อิสระสถิตอยู่ในเส้นที่ noumenon ก้าวผ่านออกมาเป็น phenomenon นั่นเอง
M. V. Franz's "The Interpretation of Fairy Tales"
ก่อนอื่นจับกบมาตัวหนึ่ง โยนลงไปกลางรังมด แล้ววิ่งหนีให้เร็วที่สุด ถ้าฝูงมดแทะซากศพจนเหลือแต่กระดูกเมื่อไหร่ ค่อยดึงเอากระดูกขาออกมา ชายหนุ่มคนไหนอยากให้หญิงสาวหันมาหลงรัก ก็ให้แอบเอากระดูกกบนั่นแหละไปถูๆ ที่หลังเธอ แต่วิธีนี้มีข้อควรระวังอยู่อย่าง คือตอนที่วิ่งหนีออกมาจากรังมด ถ้าวิ่งไม่เร็วพอ จะได้ยินเสียงคำสาปแช่งของกบ จากนั้นชีวิตชายหนุ่มจะประสบแต่หายนะ
อันนี้เป็นตำรา "ยา" เสน่ห์แบบฝรั่ง ซึ่งก็ฟังแล้วชวนสยดสยอง แต่ก็น่าหลงใหลไม่แพ้ยาเสน่ห์แบบไทย
ในทางวรรณกรรม เทพนิยาย ตำนาน หรือนิทานมีเสน่ห์มากๆ แต่ที่แปลกคือทำไม หนังสือหรือทฤษฎีอะไรก็แล้วแต่ที่พยายาม วิเคราะห์นิทานเหล่านี้ มักจะแป๊กเป็นส่วนมาก อาจเป็นเพราะมุมมอง หรือเป้าหมายของเราเอง ที่มักไม่ค่อยสอดคล้องกับนักวิชาการที่ศึกษานิทานพวกนี้ นักโครงสร้างนิยมพยายามเอานิทานมาหย่อนลงกรอบของตัวเองให้พอดิบพอดีที่สุด นักประวัติศาสตร์ก็สนใจแต่ว่านิทานมีบทบาท อิทธิพลต่อสังคมพื้นเมืองอย่างไร
ฟรานซ์เป็นนักจิตวิเคราะห์สายจุง เธอใช้ทฤษฎีของจุงมาวิเคราะห์เทพนิยาย มองว่าเทพนิยายคือความฝันแบบมันดาลาประเภทหนึ่ง แล้วก็ตีความว่าองค์ประกอบในเทพนิยาย จริงๆ แล้วเป็นสัญลักษณ์ของอะไร (กบแทน... มดแทน... กระดูกขาแทน...) อดตั้งข้อสังเกตขำๆ ไม่ได้ว่านักคิดสายจุงเหมือนจะมีปมด้อยอะไรบางอย่าง ตีความความฝันหรือนิทานอะไรออกมาก็ได้ message เดียวกันหมด -- อัตตาเป็น masculine ท่องไปในดินแดนแห่งความมืด พบกับ anima ที่เป็นตัวแทนของไสยศาสตร์เรื่องลี้ลับ มีแต่การผสมผสานระหว่างอัตตาและความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ในใจลึกๆ ที่ทำให้มนุษย์บรรลุถึง Self โดยสมบูรณ์
ก็โอเคอยู่ แต่มันก็ตอบคำถามเราไม่ได้ว่า ทำไมนิทาน ตัวอย่างเช่นเรื่องยาเสน่ห์ขากบที่ยกมาข้างต้น มันถึงอ่านแล้วโดนนัก แล้วในฐานะนักเขียน เราจะผลิตอะไรโดนๆ แบบนี้ออกมาเองได้อย่างไร
อันนี้เป็นตำรา "ยา" เสน่ห์แบบฝรั่ง ซึ่งก็ฟังแล้วชวนสยดสยอง แต่ก็น่าหลงใหลไม่แพ้ยาเสน่ห์แบบไทย
ในทางวรรณกรรม เทพนิยาย ตำนาน หรือนิทานมีเสน่ห์มากๆ แต่ที่แปลกคือทำไม หนังสือหรือทฤษฎีอะไรก็แล้วแต่ที่พยายาม วิเคราะห์นิทานเหล่านี้ มักจะแป๊กเป็นส่วนมาก อาจเป็นเพราะมุมมอง หรือเป้าหมายของเราเอง ที่มักไม่ค่อยสอดคล้องกับนักวิชาการที่ศึกษานิทานพวกนี้ นักโครงสร้างนิยมพยายามเอานิทานมาหย่อนลงกรอบของตัวเองให้พอดิบพอดีที่สุด นักประวัติศาสตร์ก็สนใจแต่ว่านิทานมีบทบาท อิทธิพลต่อสังคมพื้นเมืองอย่างไร
ฟรานซ์เป็นนักจิตวิเคราะห์สายจุง เธอใช้ทฤษฎีของจุงมาวิเคราะห์เทพนิยาย มองว่าเทพนิยายคือความฝันแบบมันดาลาประเภทหนึ่ง แล้วก็ตีความว่าองค์ประกอบในเทพนิยาย จริงๆ แล้วเป็นสัญลักษณ์ของอะไร (กบแทน... มดแทน... กระดูกขาแทน...) อดตั้งข้อสังเกตขำๆ ไม่ได้ว่านักคิดสายจุงเหมือนจะมีปมด้อยอะไรบางอย่าง ตีความความฝันหรือนิทานอะไรออกมาก็ได้ message เดียวกันหมด -- อัตตาเป็น masculine ท่องไปในดินแดนแห่งความมืด พบกับ anima ที่เป็นตัวแทนของไสยศาสตร์เรื่องลี้ลับ มีแต่การผสมผสานระหว่างอัตตาและความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ในใจลึกๆ ที่ทำให้มนุษย์บรรลุถึง Self โดยสมบูรณ์
ก็โอเคอยู่ แต่มันก็ตอบคำถามเราไม่ได้ว่า ทำไมนิทาน ตัวอย่างเช่นเรื่องยาเสน่ห์ขากบที่ยกมาข้างต้น มันถึงอ่านแล้วโดนนัก แล้วในฐานะนักเขียน เราจะผลิตอะไรโดนๆ แบบนี้ออกมาเองได้อย่างไร
H. Arendt's "Between Past and Future"
เคยพูดไปแล้วว่า เราไม่นิยมวรรณกรรมหรืองานศิลปะที่แตะประเด็น post-modern แบบผิวเผินเท่าไหร่ อย่างดีสุด งานเหล่านี้ก็จะตีความ post-modern แบบผิดๆ (โลกนี้ไม่มีอะไรจริง ทุกอย่างเป็นอัตถวิสัย) หรือเลวร้ายกว่านั้น มันจะส่ง message ที่ตรงกันข้ามเลย (มุ่งหน้าเข้าหาธรรมะสิเธอว์ เป็นอกาลิโกนะ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง) ซึ่งกลับกลายเป็นแนวคิดแบบ pre-modern ไป
ลักษณาการที่ post- และ pre-modern รับใช้ซึ่งกันและกันนี่ โดยผิวเผินเหมือนจะเป็น paradox แต่พวกนักโฆษณาชวนเชื่อเวลาเผยแพร่คำสอนให้สาวก เขาก็จะใช้เหตุผลแบบ pre-modern ปลุกปั่นให้คนเชื่ออย่างนู้นอย่างนี้ แต่พอต้องไปเถียงกับคนที่เห็นต่างจากเขา (และฉลาดกว่าเขา) เขาจะบอกว่าตัวเองมีสิทธิที่จะเชื่ออะไรก็ได้ เพราะโลกนี้เป็น post-modern
ในบทความ Truth and Politics อาแรนด์ทแบ่งชนิดของวาทกรรมออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ด้านหนึ่งคือวาทกรรมพื้นฐานที่ไม่ต้องผ่านการสังเคราะห์ แบ่งออกเป็นข้อเท็จจริง (factual truth) กับ หลักการ (rational truth) ข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์ เช่น "วันนี้ฝนตก" ขณะที่หลักการ ต้องใช้เหตุผลถกเถียงกัน เช่น "ระบบการปกครองที่ดีที่สุด คือการปกครองประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" ส่วนสิ่งที่ตรงข้ามกับข้อเท็จจริงคือคำลวง (lie/error) และที่ตรงข้ามกับหลักการคือความเชื่อ (dogma) วาทกรรมพื้นฐานเหล่านี้ผลิตวาทกรรมสังเคราะห์ขึ้นมาอีกชั้น ข้อเท็จจริงนำไปสู่ความคิดเห็น (opinion) และหลักการนำไปสู่ -- อาแรนด์ทใช้คำว่า political speculation/understanding แต่เราขอใช้คำว่า -- จุดยืนทางการเมือง
ดังนั้นเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ บทสัมภาษณ์ หรือบทความอะไรก็แล้วแต่ ข้อเท็จจริง/คำลวง หลักการ/ความเชื่อ ความคิดเห็น และจุดยืน ปนเปประเดประดังกันเข้ามา (presentation ที่เหมาะมากๆ คือใช้สี่เหลี่ยมเกรมาส แต่เราแอบหมั่นไส้ไอ้สี่เหลี่ยมนี้ เลยขอไม่ทำดีกว่า) ใช่ว่าทั้งสี่อย่างนี้จะเต้นไปตามจังหวะ post-modern ได้ดีเท่ากันหมด ความคิดเห็นเหมือนจะเป็นอัตถวิสัย แต่สุดท้ายก็ยังยืนพื้นอยู่บนข้อเท็จจริง หรือคำโกหก เทคนิคพื้นฐานของนักโฆษณาชวนเชื่อ คือการโกหกเพื่อสร้างความคิดเห็น และพยายามขายความคิดเห็นนั้น โดยปกปิดซุกซ่อนที่มาที่ไป หรือข้อเท็จจริงให้แนบเนียนที่สุด (เพราะข้อเท็จจริงถึงจะบิดเบือนได้บ้าง ใช้จำนวนคนมากดดันได้บ้าง แต่เหมือนที่ลินคอล์นกล่าวไว้ "คุณหลอกคนบางคนได้ตลอดกาล หลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนได้ตลอดกาล")
ในทำนองเดียวกัน จุดยืนทางการเมือง ก็มาจากหลักการหรือความเชื่อก็ได้ และถึงที่สุดจริงๆ ทั้งจุดยืน ความคิดเห็น หลักการ/ความเชื่อ และ ข้อเท็จจริง/คำลวง ส่งผลซึ่งกันและกัน คนที่มีจุดยืนบนหลักการแน่นๆ ก็มักจะมีความคิดเห็นที่สร้างมาจากข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันใครที่คุ้นเคยกับการสร้างความคิดเห็นจากคำลวง สุดท้ายแล้วก็มักจะอาศัยความเชื่อมาเป็นจุดยืนของตัวเอง (อย่างไรก็ดี เร็วๆ นี้มีทอล์คโชว์รายการหนึ่ง เลือกแขกได้หลากหลายดีมาก มีทั้งคนที่หลักการแน่นเปรี๊ยะ แต่ก็ยังฟังและเอ่ยอ้างคำลวง ขณะที่อีกคนความคิดความเห็นดีมากๆ แต่กลับไม่มีหลักการอะไรเลย แสดงให้เห็นว่าแต่ละแกน มันแยกออกจากกันพอสมควร)
ลักษณาการที่ post- และ pre-modern รับใช้ซึ่งกันและกันนี่ โดยผิวเผินเหมือนจะเป็น paradox แต่พวกนักโฆษณาชวนเชื่อเวลาเผยแพร่คำสอนให้สาวก เขาก็จะใช้เหตุผลแบบ pre-modern ปลุกปั่นให้คนเชื่ออย่างนู้นอย่างนี้ แต่พอต้องไปเถียงกับคนที่เห็นต่างจากเขา (และฉลาดกว่าเขา) เขาจะบอกว่าตัวเองมีสิทธิที่จะเชื่ออะไรก็ได้ เพราะโลกนี้เป็น post-modern
ในบทความ Truth and Politics อาแรนด์ทแบ่งชนิดของวาทกรรมออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ด้านหนึ่งคือวาทกรรมพื้นฐานที่ไม่ต้องผ่านการสังเคราะห์ แบ่งออกเป็นข้อเท็จจริง (factual truth) กับ หลักการ (rational truth) ข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์ เช่น "วันนี้ฝนตก" ขณะที่หลักการ ต้องใช้เหตุผลถกเถียงกัน เช่น "ระบบการปกครองที่ดีที่สุด คือการปกครองประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" ส่วนสิ่งที่ตรงข้ามกับข้อเท็จจริงคือคำลวง (lie/error) และที่ตรงข้ามกับหลักการคือความเชื่อ (dogma) วาทกรรมพื้นฐานเหล่านี้ผลิตวาทกรรมสังเคราะห์ขึ้นมาอีกชั้น ข้อเท็จจริงนำไปสู่ความคิดเห็น (opinion) และหลักการนำไปสู่ -- อาแรนด์ทใช้คำว่า political speculation/understanding แต่เราขอใช้คำว่า -- จุดยืนทางการเมือง
ดังนั้นเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ บทสัมภาษณ์ หรือบทความอะไรก็แล้วแต่ ข้อเท็จจริง/คำลวง หลักการ/ความเชื่อ ความคิดเห็น และจุดยืน ปนเปประเดประดังกันเข้ามา (presentation ที่เหมาะมากๆ คือใช้สี่เหลี่ยมเกรมาส แต่เราแอบหมั่นไส้ไอ้สี่เหลี่ยมนี้ เลยขอไม่ทำดีกว่า) ใช่ว่าทั้งสี่อย่างนี้จะเต้นไปตามจังหวะ post-modern ได้ดีเท่ากันหมด ความคิดเห็นเหมือนจะเป็นอัตถวิสัย แต่สุดท้ายก็ยังยืนพื้นอยู่บนข้อเท็จจริง หรือคำโกหก เทคนิคพื้นฐานของนักโฆษณาชวนเชื่อ คือการโกหกเพื่อสร้างความคิดเห็น และพยายามขายความคิดเห็นนั้น โดยปกปิดซุกซ่อนที่มาที่ไป หรือข้อเท็จจริงให้แนบเนียนที่สุด (เพราะข้อเท็จจริงถึงจะบิดเบือนได้บ้าง ใช้จำนวนคนมากดดันได้บ้าง แต่เหมือนที่ลินคอล์นกล่าวไว้ "คุณหลอกคนบางคนได้ตลอดกาล หลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนได้ตลอดกาล")
ในทำนองเดียวกัน จุดยืนทางการเมือง ก็มาจากหลักการหรือความเชื่อก็ได้ และถึงที่สุดจริงๆ ทั้งจุดยืน ความคิดเห็น หลักการ/ความเชื่อ และ ข้อเท็จจริง/คำลวง ส่งผลซึ่งกันและกัน คนที่มีจุดยืนบนหลักการแน่นๆ ก็มักจะมีความคิดเห็นที่สร้างมาจากข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันใครที่คุ้นเคยกับการสร้างความคิดเห็นจากคำลวง สุดท้ายแล้วก็มักจะอาศัยความเชื่อมาเป็นจุดยืนของตัวเอง (อย่างไรก็ดี เร็วๆ นี้มีทอล์คโชว์รายการหนึ่ง เลือกแขกได้หลากหลายดีมาก มีทั้งคนที่หลักการแน่นเปรี๊ยะ แต่ก็ยังฟังและเอ่ยอ้างคำลวง ขณะที่อีกคนความคิดความเห็นดีมากๆ แต่กลับไม่มีหลักการอะไรเลย แสดงให้เห็นว่าแต่ละแกน มันแยกออกจากกันพอสมควร)
F. Beiser's "Hegel"
เราเคยถามผู้กำกับว่า "เชื่อเรื่องดวงไหม" ประโยคนี้ถามเป็นนัยว่า อีกฝ่ายเชื่อในปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากวิทยาศาสตร์ ปัจจัยที่พิสูจน์ไม่ได้เช่น วันเดือนปีเกิด ดวงดาว กรุ๊ปเลือด ลายมือ ว่ามีผลกำหนดลักษณะนิสัย ชะตาชีวิตของคุณหรือไม่ (และอาจ imply ลึกๆ ไปอีกว่า คุณเชื่อในไสยศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์) คำตอบของผู้กำกับคือ "เชื่อเรื่องดวง แต่เชื่อแบบวิทยาศาสตร์" ตอนที่ได้ยินคำตอบนี้ครั้งแรก อดรู้สึกไม่ได้ว่ามันตัดปมกอร์เดียนยังไงไม่รู้ เหมือนไม่ยอมเลือกข้าง ฉันเชื่อเรื่องดวงนะ แต่ฉันไม่งมงาย ฉันมองมันเป็นวิทยาศาสตร์
ทุกวันนี้ พอมองย้อนกลับไปคำตอบดังกล่าว ฉุกคิดขึ้นมาได้อย่างหนึ่งว่าช่างเป็นคำตอบที่ Hegelian อะไรอย่างนี้
ปรัชญาของเฮเกล อย่างน้อยที่ไบเซอร์สรุปออกมา ก็คือการตัดปมกอร์เดียนปมแล้วปมเล่าด้วยวิธีการคล้ายๆ แบบนี้ สิ่งที่นักปราชญ์ชาวเยอรมันในยุครอยต่อศตวรรษที่ 18 และ 19 ให้ความสำคัญก็คือการทำลายขั้วตรงข้าม แนวคิดแบบทวิภาค เช่น ถ้าไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็ต้องเป็นไสยศาสตร์ เฮเกลสลายขั้วตรงข้ามด้วยคำตอบที่ จะมองว่าลึกซึ้งก็ได้ หรือกำปั้นทุบดินก็ได้อีกเหมือนกัน
เช่น มนุษย์เราควรมีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง หรือส่วนรวม คำตอบคือถูกทั้งสองข้อ เฮเกลจะพูดกับฝ่ายแรกว่า จริงแท้ คนเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง แต่ตัวตนของเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยคนรอบข้างและการใช้ชีวิตในสังคม ขณะเดียวกันเขาก็จะพูดกับฝ่ายหลังว่า ถูกต้อง คนเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อส่วนรวม ส่วนรวมนั้นประกอบไปด้วยแต่ละส่วนอันมีหน้าที่ เป้าหมายการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน
spirit ของเฮเกล ก็คือองค์รวมของทุกสรรพสิ่งในโลกหล้า นึกถึงวิชาชีวะมัธยมปลายที่เรียนเรื่ององค์ประกอบเซล จู่ๆ ไมโตคอนเดรียมีปากมีเสียงลุกขึ้นมาทะเลาะกับไลโซโซมว่า...เธอต้องเป็นฉันสิ...ไม่ใช่ เธอต่างหากที่ต้องเป็นฉัน ก่อนทั้งคู่จะตระหนักว่าแท้จริงแล้วต่างเป็นส่วนประกอบของเซลเดียวกัน (ไบเซอร์บอกว่านี่คือความหมายที่แท้จริงของวิภาษวิธี ไม่ใช่บทเสนอ บทแย้ง บทสังเคราะห์แบบที่มักเข้าใจกัน) และเมื่อเซลแต่ละเซลทะเลาะกันด้วยบทสนทนานี้ สุดท้ายก็จะตระหนักว่าล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อเดียวกัน จากเนื้อเยื่อไปสู่อวัยวะ จากอวัยวะไปสู่ร่างกาย จากร่างกายไปสู่สังคม สู่ประเทศ สู่โลกทั้งใบ และองค์รวมของทั้งหลายทั้งปวงนั้นแลคือ spirit
ในทางกฏหมาย ยุคนั้นมีสองโรงเรียนตบตีกันว่า ตกลงกฏหมายบัญญัติขึ้นตามหลักเหตุและผล อันเป็นสากลในธรรมชาติ หรือว่าแต่ละสังคมกำหนดขึ้น คำตอบแบบกำปั้นทุบดินของเฮเกลคือ กฏหมายบัญญัติขึ้นตามหลักเหตุและผล หากว่าเหตุและผลไม่ได้สถิตย์อยู่ในธรรมชาติ หากอยู่ในสังคมต่างหาก และเนื่องจากเฮเกลเชื่อว่าทุกสังคม ทุกวัฒนธรรม และทุกประเทศสามารถรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของ World Spirit ได้ ดังนั้นเหตุและผลจึงเป็นภาวะ "สากล" ที่ "ไม่สากล" นั่นเอง
ทุกวันนี้ พอมองย้อนกลับไปคำตอบดังกล่าว ฉุกคิดขึ้นมาได้อย่างหนึ่งว่าช่างเป็นคำตอบที่ Hegelian อะไรอย่างนี้
ปรัชญาของเฮเกล อย่างน้อยที่ไบเซอร์สรุปออกมา ก็คือการตัดปมกอร์เดียนปมแล้วปมเล่าด้วยวิธีการคล้ายๆ แบบนี้ สิ่งที่นักปราชญ์ชาวเยอรมันในยุครอยต่อศตวรรษที่ 18 และ 19 ให้ความสำคัญก็คือการทำลายขั้วตรงข้าม แนวคิดแบบทวิภาค เช่น ถ้าไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็ต้องเป็นไสยศาสตร์ เฮเกลสลายขั้วตรงข้ามด้วยคำตอบที่ จะมองว่าลึกซึ้งก็ได้ หรือกำปั้นทุบดินก็ได้อีกเหมือนกัน
เช่น มนุษย์เราควรมีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง หรือส่วนรวม คำตอบคือถูกทั้งสองข้อ เฮเกลจะพูดกับฝ่ายแรกว่า จริงแท้ คนเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง แต่ตัวตนของเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยคนรอบข้างและการใช้ชีวิตในสังคม ขณะเดียวกันเขาก็จะพูดกับฝ่ายหลังว่า ถูกต้อง คนเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อส่วนรวม ส่วนรวมนั้นประกอบไปด้วยแต่ละส่วนอันมีหน้าที่ เป้าหมายการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน
spirit ของเฮเกล ก็คือองค์รวมของทุกสรรพสิ่งในโลกหล้า นึกถึงวิชาชีวะมัธยมปลายที่เรียนเรื่ององค์ประกอบเซล จู่ๆ ไมโตคอนเดรียมีปากมีเสียงลุกขึ้นมาทะเลาะกับไลโซโซมว่า...เธอต้องเป็นฉันสิ...ไม่ใช่ เธอต่างหากที่ต้องเป็นฉัน ก่อนทั้งคู่จะตระหนักว่าแท้จริงแล้วต่างเป็นส่วนประกอบของเซลเดียวกัน (ไบเซอร์บอกว่านี่คือความหมายที่แท้จริงของวิภาษวิธี ไม่ใช่บทเสนอ บทแย้ง บทสังเคราะห์แบบที่มักเข้าใจกัน) และเมื่อเซลแต่ละเซลทะเลาะกันด้วยบทสนทนานี้ สุดท้ายก็จะตระหนักว่าล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อเดียวกัน จากเนื้อเยื่อไปสู่อวัยวะ จากอวัยวะไปสู่ร่างกาย จากร่างกายไปสู่สังคม สู่ประเทศ สู่โลกทั้งใบ และองค์รวมของทั้งหลายทั้งปวงนั้นแลคือ spirit
ในทางกฏหมาย ยุคนั้นมีสองโรงเรียนตบตีกันว่า ตกลงกฏหมายบัญญัติขึ้นตามหลักเหตุและผล อันเป็นสากลในธรรมชาติ หรือว่าแต่ละสังคมกำหนดขึ้น คำตอบแบบกำปั้นทุบดินของเฮเกลคือ กฏหมายบัญญัติขึ้นตามหลักเหตุและผล หากว่าเหตุและผลไม่ได้สถิตย์อยู่ในธรรมชาติ หากอยู่ในสังคมต่างหาก และเนื่องจากเฮเกลเชื่อว่าทุกสังคม ทุกวัฒนธรรม และทุกประเทศสามารถรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของ World Spirit ได้ ดังนั้นเหตุและผลจึงเป็นภาวะ "สากล" ที่ "ไม่สากล" นั่นเอง
M. Puig's "Heartbreak Tango"
2012 เปิดมาแบบไม่ค่อยจะสดใสเท่าไหร่นัก กับนิยายของนักเขียนคนโปรด (มานูเอล พูอิก ผู้เขียน Kiss of the Spider Woman) ที่อ่านแล้วไม่ชอบ ใน Heartbreak Tango พูอิกพยายามอย่างยิ่งยวด อย่างร้อนแรงที่จะนำเสนอวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ ในที่นี้คือใช้จดหมาย อัลบั้มรูป บันทึกตารางเวลา คอลัมน์ตอบปัญญาหัวใจตามหน้านิตยสาร และสื่อผสมอีกมากมาย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของนายฮวน คาลอส และผู้หญิงทั้งสี่คนในชีวิตเขา
เราให้เครดิตพูอิกในฐานะที่ล้มเหลวได้อย่างร้อนแรง และยิ่งยวด เอาเข้าจริงจุดเด่นของ Kiss of the Spider Woman ก็คือการเล่าเรื่องที่โดดเด่นผิดธรรมดาเหมือนกัน (แต่เอาเข้าจริง มันก็พอเถียงได้หรือเปล่าว่าไม่ใช่การเล่าเรื่องที่ผิดแผกตรงไหนหรอก แต่เป็นการเอาขนบของภาพยนตร์และละครเวทีมาใช้ต่างหาก) เพียงแต่ใน Heartbreak Tango เราอดคิดไม่ได้ว่ามัน "มากไปนิดหรือเปล่า"
อย่างไรก็ดี สุขสันต์วันปีใหม่ 2012 แด่ทุกท่านที่ตามอ่านรักชวนหัว
เราให้เครดิตพูอิกในฐานะที่ล้มเหลวได้อย่างร้อนแรง และยิ่งยวด เอาเข้าจริงจุดเด่นของ Kiss of the Spider Woman ก็คือการเล่าเรื่องที่โดดเด่นผิดธรรมดาเหมือนกัน (แต่เอาเข้าจริง มันก็พอเถียงได้หรือเปล่าว่าไม่ใช่การเล่าเรื่องที่ผิดแผกตรงไหนหรอก แต่เป็นการเอาขนบของภาพยนตร์และละครเวทีมาใช้ต่างหาก) เพียงแต่ใน Heartbreak Tango เราอดคิดไม่ได้ว่ามัน "มากไปนิดหรือเปล่า"
อย่างไรก็ดี สุขสันต์วันปีใหม่ 2012 แด่ทุกท่านที่ตามอ่านรักชวนหัว
Subscribe to:
Posts (Atom)