ถึงแม้ดัลเมย์จะเอ่ยอ้างนักคิด นักปรัชญาหลายคนในหนังสือ Integral Pluralism: Beyond Culture Wars (มีทั้งนักปรัชญาตะวันออกจากจีน อินเดีย รวมถึงคานธีเสียด้วยซ้ำ) แต่คนที่เราอยากพูดถึงที่สุดคืออาย แรนด์ ทั้งที่จริงๆ เธอไม่เกี่ยวอะไรกับหนังสือเล่มนี้เลย แต่แก่นของสิ่งที่ดัลเมย์นำเสนอแท้จริงก็คือหัวใจของ objectivism นั่นเอง
แรนด์แบ่งมาตรฐานที่ใช้วัดความดีงามออกเป็นสามประเภท อย่างแรกคือ dogmatism หมายถึงความดีงามถูกกำหนดไว้แล้วในคัมภีร์ มนุษย์ไม่มีสิทธิถกเถียงหรือตั้งคำถาม ของมันดีเพราะศาสดาบอกว่าดี จบ อย่างที่สองคือ subjectivism หรือลางเนื้อชอบลางยา ความดีงามขึ้นอยู่กับการตัดสินของปัจเจก แต่ละคนมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการกำหนดมาตรฐานความดีงามจากอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัว โดยไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นๆ ในสังคมจะคิดเช่นไร
โดยผิวเผินแล้ว dogmatism เหมือนจะตรงข้ามกับ subjectivism อย่างสุดกู่ ความหลักแหลมของแรนด์ (และดัลเมย์) คือการตั้งข้อสังเกตว่าในทางปฏิบัติ ไม่มีอะไรอีกแล้วจะใกล้เคียงกันมากไปกว่าสองความคิดนี้ พอมีคนถามพวก dogmatism ว่ารู้ได้ยังไง จารึกในคัมภีร์นั้นเป็นสิ่งดีงาม พวกเขาก็จะหันมาใช้เหตุผลแบบ subjectivism คือความรู้สึกส่วนตัวของเขามันบอกเช่นนั้น
เราเหมือนเคยพูดถึงพฤติกรรมอันย้อนแย้งของกลุ่ม dogmatism/subjectivism เอาไว้แล้ว เวลาคุยกันเอง คนประเภทนี้มีท่าทีแบบ dogmatism พูดจาใหญ่โต ถากถางความคิดเห็นคนอื่น แต่พอต้องออกมาถกเถียงนอกกลุ่ม (และมักจะเถียงแพ้ด้วย) ก็จะหันมาใช้ท่าทีแบบ subjectivism แทน คือฉันเชื่อของฉันแบบนี้ ฉันมี "อคติ" แบบนี้ พวกเธอไม่มีสิทธิอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงความคิดฉัน หรือไม่ก็ ที่พวกเธอคิดแบบนี้ (และฉันเถียงสู้เธอไม่ได้) เพราะ "เธอไม่ใช่คนไทย" "เธอไม่รักชาติ" "เธออ่านหนังสือมากเกินไป" กล่าวโดยสรุป สถานะความเป็นมนุษย์ของเธอสู้ฉันไม่ได้ ("เธอไม่ใช่คนดีเหมือนฉัน") ดังนั้น subjectivism ของเธอก็เลยสู้ฉันไม่ได้ด้วย (แม้ว่าฉันจะเถียงแพ้เธอก็ตาม) ด้วยประการฉะนี้ dogmatism กับ subjectivism ก็เลยไปกันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
ทางเลือกที่สามที่แรนด์เสนอคือ objectivism แต่ละปัจเจกมีสิทธิเชื่ออะไรก็ได้ แต่เมื่อไหร่ที่มาถกเถียงกันด้วยเหตุผล หลักฐาน จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูก และอีกฝ่ายหนึ่งผิด ***คนที่เถียงแพ้คนอื่น ไม่มีสิทธิถือครองความคิดของตัวเองอีกต่อไป*** objectivism ของแรนด์คือการเชิดชูเหตุผล ว่าเป็นไม้บรรทัดหนึ่งเดียวที่ใช้วัดความถูกผิด ในขณะที่ดัลเมย์ใจกว้างกว่านั้น เขาอ้างคำพูดของคาร์ล ชมิตต์ โดยบอกว่าพื้นที่หรือกิจกรรมการถกเถียงนั่นแหละคือที่มาของ "การเมือง"
แม้ว่าแนวคิดของแรนด์จะคงแข็ง ตายตัวเกินไปในโลกยุคหลังสมัยใหม่ (และอย่างที่เคยบอกไปแล้ว ปัจจุบัน objectivism ดูจะกลายสถานะไปเป็นลัทธิเพี้ยนๆ ที่ปฏิเสธวิทยาศาสตร์ซะงั้น) แต่คบเพลิงที่ส่งต่อจากแรนด์ มาถึงดัลเมย์ (โดยไม่ตั้งใจ) ดูจะเป็นทางเดินแคบๆ ท่ามกลางสองฝั่งหุบเหวระหว่าง dogmatism และ subjectivism
4 comments:
Thank you, I have recently been searching for information about this topic for ages and yours is the best I have discovered so far.
kyrie 6 shoes
golden goose
nike air force
ferragamo belt
air jordans
coach outlet
golden gooses
kyrie 6 shoes
ferragamo belts
adidas zx flux
click for more info important source visit our website see this here click this link now check these guys out
k6d55u1b10 a6l19v6q31 q2j64a4z17 f7z20u2n77 y4l21q3s85 y3l50x2j19
Post a Comment