G. W. F. Hegel's "Phenomenology of Spirit" (part 4)
ทุกปีเราตั้งใจจะก่อวีรกรรมให้เป็นที่กล่าวขานไปชั่วหลานชั่วลูก ปีที่แล้วคือการแก้ลูกบาศก์ปริศนา มาปีนี้ยากพอๆ กันหรือยากกว่าคืออ่าน Phenomenology of Spirit และก็ทำสำเร็จ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าที่เคยอ่านหนังสือมาเป็นร้อยๆ เล่ม ไม่มีเล่มไหนโหดหินเท่าเล่มนี้แล้ว ขนาด Ulysses ยังขี้ๆ จิ๊บจ้อยโดยพลัน
ช่วงสุดท้ายของ Phenomenology of Spirit ว่าด้วยเรื่องศาสนา ถ้าใครตามอ่านมาตลอด จะรู้ว่าเราย้ำอยู่เสมอ ปรัชญาของเฮเกลมีหลายอย่างเอี่ยวไปหาพุทธศาสนา แต่พอถึงบทที่ว่าด้วยศาสนาจริงๆ กลับเป็นบทที่ดูสวนทางกับพุทธศาสนาที่สุด ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะเฮเกลเป็นชาวยุโรปสมัยศตวรรษที่ 19 อย่าว่าแต่ให้พูดถึงพุทธศาสนาเลย เคยได้ยินยังไม่รู้จะเคยหรือเปล่า
เฮเกลเป็นนักปราชญ์รุ่นคลาสสิก จึงมีหลายแนวคิดสวนทางกับกระแสยุคใหม่ (เช่น แกเชื่อในการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ รวมถึงระบบไพร่ทาส) แต่พอเป็นเรื่องศาสนา แนวคิดของเฮเกลกลับใกล้เคียงกับลัทธิรู้แจ้ง สำหรับเฮเกล ศาสนาคือความพยายามของมนุษย์ที่จะกลับไปหาจิตวิญญาณ หลังจากที่ได้อธิบายไปแล้วว่ามนุษย์คือจิตวิญญาณที่แตกกระเซ็นออกเป็นสาย แต่ในเมื่อจิตวิญญาณอยู่ในตัวมนุษย์ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือเข้าไป “แตะ” ธรรมชาติลึกๆ ภายในตัวเรา
วิวัฒนาการทางศาสนาจึงเริ่มจากการนับถือบูชาดวงอาทิตย์หรือธรรมชาติที่ปราศจากชีวิต จับต้องแตะตัวไม่ได้ พัฒนาการขึ้นมาอีกขั้นคือการบูชาพืชและสัตว์ และสูงส่งขึ้นไปอีกคือการเอาพืช สัตว์ และธรรมชาติมาทำเป็นรูปเคารพ รูปเคารพคือความพยายามของบรรพบุรุษที่จะ “สลัก” จิตวิญญาณออกจากเปลือกนอก ระหว่างนั้นมนุษย์ถึงได้ตระหนักว่า จิตวิญญาณไม่ได้สถิตย์อยู่ในสิ่งนอกกาย แต่เกิดจาก “ความพยายาม” ของมนุษย์เอง จึงเป็นกำเนิดของเกือบที่สุดในทางศาสนา ก็คือการที่มนุษย์บูชางานศิลปะหรือผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของมนุษย์ด้วยกันเอง
ถามว่าที่สุดคืออะไร ก็คือการตระหนักว่าแม้แต่งานศิลปะก็ไม่จำเป็น เพราะพระเจ้าหรือจิตวิญญาณอยู่ในตัวมนุษย์เรานี่เอง ในที่นี้เฮเกลไม่ได้สนับสนุนให้มนุษย์เลี้ยงอัตตาและบูชาตัวเอง แกมีระบบและคำอธิบายว่าสองสิ่งนี้แตกต่างกันอย่างไร และวิธีการใดที่มนุษย์จะแตะต้องธรรมชาติของจิตวิญญาณในตัวเองได้ ซึ่งก็อาศัยกระบวนการวิภาษวิธีดังที่ได้อธิบายเอาไว้ตั้งแต่ต้นนั่นเอง
ถือว่าจบกันแค่นี้กับ Phenomenology of Spirit อ่านรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า เมื่อเรากระดูกแข็งขึ้น
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
โอ้ว ขนาด Ulysses ยังขี้ๆ ขอบายดีกว่าครับ เพราะ Ulysses ผมยังอ่านไม่รู้เรื่องเลย ขอคารวะ
ไม่อยากพูดให้ท้อ แต่มันยากจริงๆ ครับ (แม้จะยากคนละแบบกับ Ulysses ก็ตาม)
แต่ถึงยากก็คุ้มค่า เพราะเฮเกลและปรัชญาเยอรมันในยุคนั้น เป็นห่วงโซ่ที่หายไปซึ่งเชื่อมต่อระหว่างปรัชญารู้แจ้งของฝรั่งเศสอีกที ผมรู้สึกว่าโลกทุกวันนี้กำลังถูกครอบงำด้วยมายาคติของความรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นความรู้ลำดับถัดไป น่าจะเป็นของที่พวกเราควรศึกษาเอาไว้ครับ
ผมอยากถามแนวคิดในหนังสือได้มั้ยครับ
คำว่า self-consciousness ของเฮเกลหมายถึงอะไรเหรอคับ
Post a Comment