รู้สึกไม่ค่อยแฟร์กับนิยาย แต่สารภาพว่าที่เราหยิบ The Lover มาอ่าน ไม่ใช่เพราะเราสนใจตัวนิยาย เท่ากับบทวิเคราะห์นิยายด้วยปรัชญารื้อสร้างของเดริดา ที่ติดพันมาจากหนังสือ The Novel after Theory ยังความฉงนแก่ตัวเรามิรู้คลายว่าสรุปแล้ว การวิพากษ์วรรณกรรม มันมีประโยชน์หรือเปล่า ถ้ามี มีกับใคร ผู้แต่งหรือคนอ่าน
พออ่าน The Lover จริงๆ เราชักสงสัยว่าการตระหนักถึงปรัชญารื้อสร้างตลอดเวลา มันช่วยหรือมันทำลายนิยายกันแน่ ถ้าอ่านแบบไรอัน จะให้ความสำคัญกับรูปถ่ายของนางเอกเป็นพิเศษ รูปถ่ายที่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ถ่าย แต่ไรอันเชื่อว่า รูปถ่ายที่หายไปนี้ คือจุดศูนย์กลางของนิยาย ("จุดศูนย์กลางที่อยู่ภายนอก" ถ้าใช้ศัพท์ของนักรื้อสร้าง) และเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเขียนนิยายเรื่องนี้ขึ้นมา แต่พอมาอ่านที่ดูราส์เขียนจริงๆ เราก็ไม่รู้สึกว่ารูปถ่ายนั้นจะเป็นประเด็นสักเท่าไร
และการให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ของนางเอกที่มากับการรื้อสร้าง มันจะไปแย่งประเด็นอาณานิคมศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นหลักใหญ่ของนิยายเรื่องนี้มากกว่าหรือเปล่า สำหรับคนที่ไม่รู้ The Lover เป็นนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของดูราส์ เล่าเรื่องสมัยที่เธอเป็นวัยรุ่น และเติบโตอยู่ในเวียดนาม (สมัยนั้นยังเป็นประเทศอินโดจีนอยู่ คือรวมพื้นที่ลาว เวียดนาม และกัมพูชาเข้าด้วยกัน ในนิยายมีการกล่าวถึงบ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง และการนั่งชมภูเขาในดินแดนสยาม ซึ่งจริงๆ ควรจะเปลี่ยนชื่อเป็นไทยได้แล้ว อ้าว!)
ความน่าสนใจของนิยายน่าจะอยู่ที่ภาวะ "ล่าอาณานิคมย้อนกลับ" กล่าวคือครอบครัวของนางเอกเป็นคนขาวที่ยากจน เพราะพ่อซึ่งมีอาชีพข้าหลวงต่างแดนไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทิ้งภรรยาและลูกสามคนไว้กับความแร้นแค้น กลับกลายเป็นคนรักชาวจีนของนางเอก ลูกชายมหาเศรษฐีที่ช่วยจุนเจือครอบครัว โดยทั้งสองคบกันทั้งที่รู้ว่าความสัมพันธ์นี้ไม่มีอนาคต (ไรอันไม่ได้แตะประเด็นนี้เลย)
ในแง่หนึ่ง The Lover อาจจะเหมาะกับการอ่าน ภายใต้ฐานคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ความพ่ายแพ้ของคนขาว ความร่ำรวยของชาวจีน และโลกที่จุดศูนย์กลางถูกเหวี่ยงทิ้งกระจัดกระจาย ถ้าให้เราอ่านนิยายเรื่องนี้เชิงทฤษฎี เราคงจะจับภาวะรื้อสร้างในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมากกว่าในเชิงอัตชีวประวัติ
J. Weatherford's "The History of Money"
แปลกดีที่ คำพูดบางคำจากหนังสือบางเล่มไม่ได้ฉลาดหรือคมคายอะไรเลย แต่กลับฝังแน่นในหัวเรา เช่น ในนิยาย Timeline ของไมเคิล คริชตัน ตอนที่นักวิทยาศาสตร์จะอธิบายให้นักประวัติศาสตร์ฟังว่ายานย้อนเวลาทำงานได้ยังไง คำพูดที่เขาใช้คือ "เนื่องจากพวกคุณเป็นนักประวัติศาสตร์ ผมจะเล่าประวัติศาสตร์ให้ฟัง" จากนั้นก็ว่ากันด้วยประวัติศาสตร์ของกลศาสตร์ควอนตัม (ซึ่งนำไปสู่การสร้างยานย้อนเวลาแบบโม้ๆ )
ตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในประเทศอเมริกา ที่อาจจะพลิกโฉมโลกทั้งใบ (จากพญาอินทรีในฐานะเจ้าโลก มาเป็นพญามังกร) เราก็พยายามหาหนังสือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวมาอ่านตลอด แต่ไม่รู้ว่าหัวทึบกว่าคนปกติหรืออย่างไร อ่านยังไงก็เหมือนคอนเซปต์มันไม่เข้าไปเรียงตัวในหัวเลย ขอบคุณแจค เวเธอฟอร์ดจริงๆ ความรู้สึกตอนนี้เหมือนเราเดินไปขอให้เขาอธิบายวิกฤติการเงินให้ฟัง เวเธอฟอร์ดฟาดเปรี้ยงหนังสือที่ตัวเองเขียนมาตรงหน้าเรา แล้วพูดว่า "ผมจะเล่าประวัติศาสตร์ให้คุณฟังก็แล้วกัน"
วิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นบนวอลสตรีท ก็ต้องย้อนกลับไปสมัยจักรพรรดิเนโรนั่นเอง
จักรพรรดิเนโรแห่งกรุงโรม ปกครองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้น (ศตวรรษที่หนึ่ง) พระองค์ต้องทำสงครามกับคนป่าเถื่อนที่อยู่รายรอบอาณาจักร เพื่อการนั้นจึงต้องใช้เงินมาหล่อเลี้ยงกองทัพ ในที่สุดเมื่อเนโรประสบปัญหาในการจัดสรรทุนมาทำสงคราม พระองค์ก็คิดวิธีอัจฉริยะขึ้นมาได้ นั่นคือเรียกเก็บเหรียญเงินทั่วราชอาณาจักร หลอมให้มีขนาดเ็ล็กลง แต่ปั้มราคาเท่าเดิม แล้วแจกจ่ายกลับไปให้ชาวบ้าน (พอถึงยุคของเนโร เงินก็ไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเองแล้ว แต่ใช้เป็นแค่อัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น) ด้วยวิธีนี้ จักรพรรดิสามารถเก็บส่วนต่างของเงิน มาหลอมเป็นเหรียญเพิ่มขึ้นได้
เนโรหรือจะทรงคาดคิดได้ว่า นั่นเป็นครั้งแรกที่ปรากฏการณ์เงินเฟ้อเกิดขึ้นในโลก ทันทีที่มีเงินในระบบมากขึ้น แต่สินค้าในตลาดเท่าเดิม ผู้คนก็แย่งกันซื้อของด้วยวิธีเสนอราคาที่สูงกว่าเดิม (ในโลกสมัยใหม่ ปรากฏการณ์สินค้ามีไม่พอกับความต้องการของตลาดดูจะเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อ แต่พอนึกย้อนกลับไปจักรวรรดิโรมันเมื่อสองพันปีที่แล้ว ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย นี่คือข้อดีอย่างหนึ่งของการพยายามทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ผ่านประวัติศาสตร์) เงินเพิ่มมากขึ้นจริงแต่กลับมีกำลังซื้อน้อยลง
เนโรและจักรพรรดิโรมันคนต่อๆ วนเวียนอยู่ในวัฏจักรของเงินเฟ้อ และการลดขนาดเหรียญตราเช่นนี้ (ว่ากันว่า ผ่านไปหนึ่งร้อยปี เหรียญเงินโรมันมีขนาดเล็กกว่าเดิมเกือบสี่เท่า) ความล่มสลายทางเศรษฐกิจเป็นที่มาของความล่มสลายของอาณาจักรในด้านอื่นๆ ด้วย (สุดท้ายโรมันก็ถูกกองทัพ "คนเถื่อน" ของชาลีมัง ตีแตกจนแพ้พ่าย)
ระบบเงินตราอาจพัฒนาจากเหรียญกษาปณ์ มาเป็นเงินกระดาษ เงินเชื่อ และตราสารหุ้น แต่ที่สุดแล้ว ความล้มเหลวบนวอลสตรีทก็ยืนพื้นอยู่บนความล้มเหลวเดียวกันกับของอาณาจักรโรมันนั่นเอง
ตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในประเทศอเมริกา ที่อาจจะพลิกโฉมโลกทั้งใบ (จากพญาอินทรีในฐานะเจ้าโลก มาเป็นพญามังกร) เราก็พยายามหาหนังสือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวมาอ่านตลอด แต่ไม่รู้ว่าหัวทึบกว่าคนปกติหรืออย่างไร อ่านยังไงก็เหมือนคอนเซปต์มันไม่เข้าไปเรียงตัวในหัวเลย ขอบคุณแจค เวเธอฟอร์ดจริงๆ ความรู้สึกตอนนี้เหมือนเราเดินไปขอให้เขาอธิบายวิกฤติการเงินให้ฟัง เวเธอฟอร์ดฟาดเปรี้ยงหนังสือที่ตัวเองเขียนมาตรงหน้าเรา แล้วพูดว่า "ผมจะเล่าประวัติศาสตร์ให้คุณฟังก็แล้วกัน"
วิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นบนวอลสตรีท ก็ต้องย้อนกลับไปสมัยจักรพรรดิเนโรนั่นเอง
จักรพรรดิเนโรแห่งกรุงโรม ปกครองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้น (ศตวรรษที่หนึ่ง) พระองค์ต้องทำสงครามกับคนป่าเถื่อนที่อยู่รายรอบอาณาจักร เพื่อการนั้นจึงต้องใช้เงินมาหล่อเลี้ยงกองทัพ ในที่สุดเมื่อเนโรประสบปัญหาในการจัดสรรทุนมาทำสงคราม พระองค์ก็คิดวิธีอัจฉริยะขึ้นมาได้ นั่นคือเรียกเก็บเหรียญเงินทั่วราชอาณาจักร หลอมให้มีขนาดเ็ล็กลง แต่ปั้มราคาเท่าเดิม แล้วแจกจ่ายกลับไปให้ชาวบ้าน (พอถึงยุคของเนโร เงินก็ไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเองแล้ว แต่ใช้เป็นแค่อัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น) ด้วยวิธีนี้ จักรพรรดิสามารถเก็บส่วนต่างของเงิน มาหลอมเป็นเหรียญเพิ่มขึ้นได้
เนโรหรือจะทรงคาดคิดได้ว่า นั่นเป็นครั้งแรกที่ปรากฏการณ์เงินเฟ้อเกิดขึ้นในโลก ทันทีที่มีเงินในระบบมากขึ้น แต่สินค้าในตลาดเท่าเดิม ผู้คนก็แย่งกันซื้อของด้วยวิธีเสนอราคาที่สูงกว่าเดิม (ในโลกสมัยใหม่ ปรากฏการณ์สินค้ามีไม่พอกับความต้องการของตลาดดูจะเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อ แต่พอนึกย้อนกลับไปจักรวรรดิโรมันเมื่อสองพันปีที่แล้ว ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย นี่คือข้อดีอย่างหนึ่งของการพยายามทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ผ่านประวัติศาสตร์) เงินเพิ่มมากขึ้นจริงแต่กลับมีกำลังซื้อน้อยลง
เนโรและจักรพรรดิโรมันคนต่อๆ วนเวียนอยู่ในวัฏจักรของเงินเฟ้อ และการลดขนาดเหรียญตราเช่นนี้ (ว่ากันว่า ผ่านไปหนึ่งร้อยปี เหรียญเงินโรมันมีขนาดเล็กกว่าเดิมเกือบสี่เท่า) ความล่มสลายทางเศรษฐกิจเป็นที่มาของความล่มสลายของอาณาจักรในด้านอื่นๆ ด้วย (สุดท้ายโรมันก็ถูกกองทัพ "คนเถื่อน" ของชาลีมัง ตีแตกจนแพ้พ่าย)
ระบบเงินตราอาจพัฒนาจากเหรียญกษาปณ์ มาเป็นเงินกระดาษ เงินเชื่อ และตราสารหุ้น แต่ที่สุดแล้ว ความล้มเหลวบนวอลสตรีทก็ยืนพื้นอยู่บนความล้มเหลวเดียวกันกับของอาณาจักรโรมันนั่นเอง
J. Ryan's "The Novel after Theory"
แรกเริ่มเดิมทีที่เราอ่านตำราปรัชญา ก็เพราะอยากเข้าใจทฤษฎีการวิจารณ์ (critical theory) จนมาบัดนี้ เรามีปรัชญาเก็บไว้ใต้เข็มขัดพอสมควรแล้ว แต่นับวัน เราก็ยิ่งหมดศรัทธากับทฤษฎีการวิจารณ์
ระหว่างที่อ่าน The Novel after Theory เราลองเล่นเกมนี้กับตัวเอง ทุกครั้งที่ผู้เขียนกล่าวถึงทฤษฎีของนักปรัชญา เราจะดันนิ้วก้อยมือขวาออกจากกำปั้น และทุกครั้งที่ผู้เขียนกล่าวถึงตัว text หรือวรรณกรรม เราจะเปลี่ยนจากนิ้วก้อยมาเป็นนิ้วโป้ง ทำแบบนี้เพื่อจะได้ตระหนักถึง transition หรือการส่งผ่านจากตัวสานส์มายังทฤษฎี และดูว่าผู้เขียนผสานสองสิ่งนี้เข้าด้วยกันได้ดีแค่ไหน
ทุกวันนี้เวลาอ่านบทวิเคราะห์วรรณกรรม อดรู้สึกไม่ได้ว่าเหมือนกำลังชม powerpoint presentation เหมือนมีคนอธิบายปรัชญาอะไรสักอย่างให้เราฟัง (มาร์กซิส จิตวิเคราะห์ หลังโครงสร้างนิยม สตรีนิยม ฯลฯ) ระหว่างที่อธิบายก็เปิด powerpoint ให้เราชม แล้วก็ยกตัวอย่างนู่นนี่จากวรรณกรรม พออ่านจบ แม้จดจำตัวอย่างอะไรไม่ค่อยได้ แต่อย่างน้อยขอให้เข้าใจทฤษฎีหลักเป็นพอ
ดังนั้นถ้าเราค่อนข้างป๋าทฤษฎีอยู่แล้ว เช่นใน The Novel after Theory มีการพยายามใช้ฟูโกต์มาจับนิยาย Foucault's Pendulum แต่ในเมื่อเรา get ฟูโกต์ตั้งแต่แรกแล้ว การอ่านบทนี้เลยแทบไม่ให้อะไรแก่เราเลย (และเนื่องจากเราค่อนข้างป๋าเอโคเหมือนกัน เราก็เลยยิ่งไม่ได้อะไรเข้าไปใหญ่)
มันควรจะเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า การวิเคราะห์วรรณกรรมจำเป็นไหมที่วิเคราะห์ออกมาแล้ว ตัวสานส์จะต้องมีคุณค่ามากกว่าเดิม ก่อนฟรอยด์จะเอาปมออดิปุสไปจับแฮมเลต ละครเรื่องนี้ถูกเล่นมาเกือบๆ สามร้อยปี มันทำให้เราดูแฮมเลตสนุกขึ้นไหม ถ้าเราทราบว่าแฮมเลตไม่ยอมฆ่าลุง เพราะใจจริงเขาเองก็อยากนอนกับแม่ (หลายคนอาจพูดด้วยซ้ำว่าความสนุกมันอยู่ที่เราไม่เข้าใจเจ้าชายแห่งเดนมาร์กต่างหาก)
เราเริ่มต้นเดินทางสายทฤษฎีวรรณกรรมด้วยความเชื่อว่า วรรณกรรมไม่ใช่การลอกแบบความจริง เราตัดสินคุณค่าวรรณกรรมได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่เกี่ยวกับสภาพสังคม หรือคนที่ผลิตมันขึ้นมา แต่ตอนนี้เราเริ่มไขว้เขวละ ถ้าการวิจารณ์ ให้ค่าสานส์ในฐานะเพียง "ลูกไล่" ของปรัชญา หนทางเดียวที่เราจะยังรักษาศรัทธาในงานวิจารณ์ ก็คือการศึกษาสภาพความเป็นจริง ทำไมเชคสเปียร์ถึงเขียนแฮมเลต ในยุคสมัยของเขามันเกิดอะไรขึ้น โดยทฤษฎีและปรัชญานี่เองที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสภาพสังคม บริบทความเป็นจริงของวรรณกรรม
ก่อนเราศึกษาทฤษฎีวรรณกรรม ประพันธกรยังไม่ตาย เมื่อเราเริ่มศึกษาไปได้สักพัก ประพันธกรตายแล้ว และบัดนี้ ประพันธกรฟื้นคืนชีวิตกลับมาอีกครั้ง
ระหว่างที่อ่าน The Novel after Theory เราลองเล่นเกมนี้กับตัวเอง ทุกครั้งที่ผู้เขียนกล่าวถึงทฤษฎีของนักปรัชญา เราจะดันนิ้วก้อยมือขวาออกจากกำปั้น และทุกครั้งที่ผู้เขียนกล่าวถึงตัว text หรือวรรณกรรม เราจะเปลี่ยนจากนิ้วก้อยมาเป็นนิ้วโป้ง ทำแบบนี้เพื่อจะได้ตระหนักถึง transition หรือการส่งผ่านจากตัวสานส์มายังทฤษฎี และดูว่าผู้เขียนผสานสองสิ่งนี้เข้าด้วยกันได้ดีแค่ไหน
ทุกวันนี้เวลาอ่านบทวิเคราะห์วรรณกรรม อดรู้สึกไม่ได้ว่าเหมือนกำลังชม powerpoint presentation เหมือนมีคนอธิบายปรัชญาอะไรสักอย่างให้เราฟัง (มาร์กซิส จิตวิเคราะห์ หลังโครงสร้างนิยม สตรีนิยม ฯลฯ) ระหว่างที่อธิบายก็เปิด powerpoint ให้เราชม แล้วก็ยกตัวอย่างนู่นนี่จากวรรณกรรม พออ่านจบ แม้จดจำตัวอย่างอะไรไม่ค่อยได้ แต่อย่างน้อยขอให้เข้าใจทฤษฎีหลักเป็นพอ
ดังนั้นถ้าเราค่อนข้างป๋าทฤษฎีอยู่แล้ว เช่นใน The Novel after Theory มีการพยายามใช้ฟูโกต์มาจับนิยาย Foucault's Pendulum แต่ในเมื่อเรา get ฟูโกต์ตั้งแต่แรกแล้ว การอ่านบทนี้เลยแทบไม่ให้อะไรแก่เราเลย (และเนื่องจากเราค่อนข้างป๋าเอโคเหมือนกัน เราก็เลยยิ่งไม่ได้อะไรเข้าไปใหญ่)
มันควรจะเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า การวิเคราะห์วรรณกรรมจำเป็นไหมที่วิเคราะห์ออกมาแล้ว ตัวสานส์จะต้องมีคุณค่ามากกว่าเดิม ก่อนฟรอยด์จะเอาปมออดิปุสไปจับแฮมเลต ละครเรื่องนี้ถูกเล่นมาเกือบๆ สามร้อยปี มันทำให้เราดูแฮมเลตสนุกขึ้นไหม ถ้าเราทราบว่าแฮมเลตไม่ยอมฆ่าลุง เพราะใจจริงเขาเองก็อยากนอนกับแม่ (หลายคนอาจพูดด้วยซ้ำว่าความสนุกมันอยู่ที่เราไม่เข้าใจเจ้าชายแห่งเดนมาร์กต่างหาก)
เราเริ่มต้นเดินทางสายทฤษฎีวรรณกรรมด้วยความเชื่อว่า วรรณกรรมไม่ใช่การลอกแบบความจริง เราตัดสินคุณค่าวรรณกรรมได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่เกี่ยวกับสภาพสังคม หรือคนที่ผลิตมันขึ้นมา แต่ตอนนี้เราเริ่มไขว้เขวละ ถ้าการวิจารณ์ ให้ค่าสานส์ในฐานะเพียง "ลูกไล่" ของปรัชญา หนทางเดียวที่เราจะยังรักษาศรัทธาในงานวิจารณ์ ก็คือการศึกษาสภาพความเป็นจริง ทำไมเชคสเปียร์ถึงเขียนแฮมเลต ในยุคสมัยของเขามันเกิดอะไรขึ้น โดยทฤษฎีและปรัชญานี่เองที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสภาพสังคม บริบทความเป็นจริงของวรรณกรรม
ก่อนเราศึกษาทฤษฎีวรรณกรรม ประพันธกรยังไม่ตาย เมื่อเราเริ่มศึกษาไปได้สักพัก ประพันธกรตายแล้ว และบัดนี้ ประพันธกรฟื้นคืนชีวิตกลับมาอีกครั้ง
C. Dickens's "Hard Times"
ว่ากันว่า วัตถุดิบจะดีหรือด้อย ต้องพิสูจน์กันในอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด ส่วนถ้าอยากตัดสินเนื้อผ้า ก็ต้องดูแบบเรียบๆ ไม่มีลาย ในทำนองเดียวกัน ถ้าอยากตัดสินทักษะการเล่าเรื่องของนักเขียน ก็ต้องให้นักเขียนมาเล่าเรื่องเห่ยๆ ดูว่าจะเล่าออกมาได้สนุกสนานแค่ไหน ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องระดับเทพคนหนึ่ง ซึ่ง Hard Times นี่แหละ น่าจะเป็นข้อพิสูจน์อย่างดี
เราไม่ชอบอะไรสักอย่างที่ประกอบกันเป็น "เรื่อง" ในนิยายเล่มนี้ ตัวละครแบนๆ ขาดๆ เกินๆ ธีมของเรื่อง -- Fact vs Fancy -- ก็อย่างนั้นๆ ไม่ได้ถูกจริตถูกใจเรามาก (แต่สำหรับคนที่สนใจว่า "สังคมนิยม" ก่อนมาร์กซ์หน้าตาเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี Hard Times ถูกตีพิมพ์ในปี 1854 ภายหลังแถลงการณ์พรรคฯ เพียง 6 ปี ดิกเกนส์ไม่น่าจะคุ้นเคยกับงานเขียนของมาร์กซ์)
ตัวเอกของเรื่องคือตระกูลแกรดกรินด์ พ่อสอนลูกสาวและลูกชายให้ยึดติดอยู่กับความจริง (fact) ละทิ้งความฝัน (fancy) ออกไป และนิยายทั้งเรื่องก็คือโศกนาฏกรรมที่กำเนิดมาจากคำสั่งสอน และการเลี้ยงดูตรงนี้ อย่างที่บอก เราไม่ค่อยสนุกสนานกับนิยาย "พ่อแม่รังแกฉัน" แต่ก็เพราะอย่างนั้น เลยยิ่งเห็นความสามารถ ทักษะการเล่าเรื่องของดิกเกนส์ การคุมจังหวะปล่อยตัวละครออกมาหน้าม่าน และเรียกพวกเขากลับไป ทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนเราไม่รู้สึกบาดใจกับตัวละครอย่างเจมส์ ฮาร์ตฮาวส์ ที่จู่ๆ ก็หายหน้าไปอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เอาเข้าจริงทักษะทำนองนี้ปรากฏในงานเขียนของบัลซัคเช่นกัน (บัลซัคเองก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องชั้นครู) แต่จังหวะของบัลซัค การผ่อน การเร่ง ไม่งดงามลงตัวเหมือนดิกเกนส์
ถึงจะไม่ถูกใจตัวละครตัวไหนเลย แต่คงต้องยกเว้นผู้ร้าย มิสเตอร์บาวเดอบี ไว้คนหนึ่ง ดิกเกนส์เขียนผู้ร้ายเก่งมาก (ไม่ว่าจะเป็นสครูช มาดามดีฟาค หรือมิสฮาวิแชม) บาวเดอบีเป็นผู้ชายหลงตัวเองสุดกู่ และความภาคภูมิใจของเขาคือการมีชาติกำเนิดอันต่ำต้อย และสามารถถีบตัวเองขึ้นมาจนเป็นเศรษฐีได้ บาวเดอบี “เลี้ยง” เลขาผู้หญิง อดีตผู้ดีเอาไว้คนหนึ่ง โดยเขาจะชอบโม้ให้ใครฟัง โดยเปรียบเทียบต้นกำเนิดของตัวเองและเลขาคนนี้ ร้อยครึ่งปีมาแล้วจากตอนที่ดิกเกนส์เขียน Hard Times เราก็ยังไม่เคยเห็นตัวละครแบบมิสเตอร์บาวเดอบีในนิยาย (ทั้งที่ผู้คนในชีวิตจริง มีพฤติกรรมแบบสุดโต่งไม่ผิดเพี้ยนจากตัวละครตัวนี้นัก)
จุดจบของบาวเดอบีจะเป็นอย่างไร แนะนำให้ต้องไปอ่านเอง แต่รับรองได้ว่าแซ่บ
เราไม่ชอบอะไรสักอย่างที่ประกอบกันเป็น "เรื่อง" ในนิยายเล่มนี้ ตัวละครแบนๆ ขาดๆ เกินๆ ธีมของเรื่อง -- Fact vs Fancy -- ก็อย่างนั้นๆ ไม่ได้ถูกจริตถูกใจเรามาก (แต่สำหรับคนที่สนใจว่า "สังคมนิยม" ก่อนมาร์กซ์หน้าตาเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี Hard Times ถูกตีพิมพ์ในปี 1854 ภายหลังแถลงการณ์พรรคฯ เพียง 6 ปี ดิกเกนส์ไม่น่าจะคุ้นเคยกับงานเขียนของมาร์กซ์)
ตัวเอกของเรื่องคือตระกูลแกรดกรินด์ พ่อสอนลูกสาวและลูกชายให้ยึดติดอยู่กับความจริง (fact) ละทิ้งความฝัน (fancy) ออกไป และนิยายทั้งเรื่องก็คือโศกนาฏกรรมที่กำเนิดมาจากคำสั่งสอน และการเลี้ยงดูตรงนี้ อย่างที่บอก เราไม่ค่อยสนุกสนานกับนิยาย "พ่อแม่รังแกฉัน" แต่ก็เพราะอย่างนั้น เลยยิ่งเห็นความสามารถ ทักษะการเล่าเรื่องของดิกเกนส์ การคุมจังหวะปล่อยตัวละครออกมาหน้าม่าน และเรียกพวกเขากลับไป ทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนเราไม่รู้สึกบาดใจกับตัวละครอย่างเจมส์ ฮาร์ตฮาวส์ ที่จู่ๆ ก็หายหน้าไปอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เอาเข้าจริงทักษะทำนองนี้ปรากฏในงานเขียนของบัลซัคเช่นกัน (บัลซัคเองก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องชั้นครู) แต่จังหวะของบัลซัค การผ่อน การเร่ง ไม่งดงามลงตัวเหมือนดิกเกนส์
ถึงจะไม่ถูกใจตัวละครตัวไหนเลย แต่คงต้องยกเว้นผู้ร้าย มิสเตอร์บาวเดอบี ไว้คนหนึ่ง ดิกเกนส์เขียนผู้ร้ายเก่งมาก (ไม่ว่าจะเป็นสครูช มาดามดีฟาค หรือมิสฮาวิแชม) บาวเดอบีเป็นผู้ชายหลงตัวเองสุดกู่ และความภาคภูมิใจของเขาคือการมีชาติกำเนิดอันต่ำต้อย และสามารถถีบตัวเองขึ้นมาจนเป็นเศรษฐีได้ บาวเดอบี “เลี้ยง” เลขาผู้หญิง อดีตผู้ดีเอาไว้คนหนึ่ง โดยเขาจะชอบโม้ให้ใครฟัง โดยเปรียบเทียบต้นกำเนิดของตัวเองและเลขาคนนี้ ร้อยครึ่งปีมาแล้วจากตอนที่ดิกเกนส์เขียน Hard Times เราก็ยังไม่เคยเห็นตัวละครแบบมิสเตอร์บาวเดอบีในนิยาย (ทั้งที่ผู้คนในชีวิตจริง มีพฤติกรรมแบบสุดโต่งไม่ผิดเพี้ยนจากตัวละครตัวนี้นัก)
จุดจบของบาวเดอบีจะเป็นอย่างไร แนะนำให้ต้องไปอ่านเอง แต่รับรองได้ว่าแซ่บ
Voltaire's "The Age of Louis XIV"
ช่วงนี้อ่านหนังสือประวัติศาสตร์เยอะ ก็เพิ่งได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่อีกคำคือ posterity ซึ่งแปลว่าคนรุ่นหลังนั่นเอง อะไรที่เกิดในประวัติศาสตร์ สุดท้ายก็มีแต่ posterity หรือคนรุ่นหลังเท่านั้นที่จะตัดสินคุณค่าของมันได้
วอลแตร์จัดว่าเป็น posterity ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ระหว่างที่เขียนประวัติศาสตร์ยุคนั้น วอลแตร์เองจะสงสัยไหมว่า posterity ของแก จะมองตัวแกว่าอย่างไร แกจะรู้ไหมว่าจากนิยาย บทละคร และหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหลายแหล่ จะเป็น Candide เล่มบางๆ ที่ผู้คนรู้จักและพูดถึงมันมากที่สุด (วอลแตร์เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไว้เยอะมาก และถ้าทุกเล่มเป็นแบบ The Age of Louis XIV เราต้องประเมินแกใหม่ ในฐานะนักประวัติศาสตร์จอมสืบค้น ข้อมูลแน่นเปรี๊ยะ มากกว่าแค่นักปรัชญา หรือนักเขียนนิยายแล้ว)
ผิดคาดพอสมควรว่าคนเขียน Candide จะเขียนหนังสืออย่าง The Age of Louis XIV ออกมา ถึง Candide จะเป็นนิยายเสียดสี ที่จับเจตนาคนเขียนลำบาก ว่าเรื่องไหนจริงจัง เรื่องไหนล้อเล่น แต่เราเดาว่าวอลแตร์น่าจะต่อต้านสงครามนั่นแหละ กระนั้นใน The Age of Louis XIV สองในสามของเล่มว่าด้วยเรื่องสงครามล้วนๆ จนกระทั่งแกสาธยายวีรกรรม (และความพ่ายแพ้) ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงค่อยมาแตะๆ เรื่องเศรษฐกิจสังคม
อย่างไรก็ตามวอลแตร์รักษาความเป็นกลางไว้ได้ดีมาก ถึงเปิดหนังสือมา จะมีการยอยศหลุยส์ที่ 14 โดยบอกว่ายุคสมัยของพระองค์เป็นยุคที่ยุโรปเจริญถึงขีดสุด ต่อจากยุคของอเลกซานเดอร์ ซีซาร์ และชาลีมัง แต่พอเริ่มเรื่องจริงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแกสรรเสริญอะไรหลุยส์มากนัก วอลแตร์เล่าให้ฟังว่ากองทัพหลุยส์ที่ยกไปตีฮอลแลนด์เกรียงไกร เริ่ดหรูอย่างถึงที่สุด ทั้งบดขยี้ศัตรูไป ก็สังสรรค์รื่นเริง และโชว์ความอลังไปพลาง (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นคนแรกที่มากับแนวคิดว่าทหารที่ไปยกทัพจับศึก ไม่จำเป็นเสียหน่อยที่ต้องอยู่อย่างลำบากยากแค้น อะไรที่พอหรูหรา เพลิดเพลินได้ ก็จัดให้เสียหน่อย) สุดท้ายพอเจ้าชายแห่งส้ม (Prince of Orange) กษัตริย์ฮอลแลนด์รวบรวมกำลังพลได้ และตีโต้หลุยส์จริงๆ จังๆ ฝรั่งเศสก็ไปต่อลำบากเหมือนกัน
...จะว่าไป ทั้งเล่มของ The Age of Louis XIV อาจจะเขียนขึ้นเพื่อเสียดสีไม่ต่างอะไรจาก Candide ก็เป็นได้แฮะ
วอลแตร์จัดว่าเป็น posterity ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ระหว่างที่เขียนประวัติศาสตร์ยุคนั้น วอลแตร์เองจะสงสัยไหมว่า posterity ของแก จะมองตัวแกว่าอย่างไร แกจะรู้ไหมว่าจากนิยาย บทละคร และหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหลายแหล่ จะเป็น Candide เล่มบางๆ ที่ผู้คนรู้จักและพูดถึงมันมากที่สุด (วอลแตร์เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไว้เยอะมาก และถ้าทุกเล่มเป็นแบบ The Age of Louis XIV เราต้องประเมินแกใหม่ ในฐานะนักประวัติศาสตร์จอมสืบค้น ข้อมูลแน่นเปรี๊ยะ มากกว่าแค่นักปรัชญา หรือนักเขียนนิยายแล้ว)
ผิดคาดพอสมควรว่าคนเขียน Candide จะเขียนหนังสืออย่าง The Age of Louis XIV ออกมา ถึง Candide จะเป็นนิยายเสียดสี ที่จับเจตนาคนเขียนลำบาก ว่าเรื่องไหนจริงจัง เรื่องไหนล้อเล่น แต่เราเดาว่าวอลแตร์น่าจะต่อต้านสงครามนั่นแหละ กระนั้นใน The Age of Louis XIV สองในสามของเล่มว่าด้วยเรื่องสงครามล้วนๆ จนกระทั่งแกสาธยายวีรกรรม (และความพ่ายแพ้) ของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงค่อยมาแตะๆ เรื่องเศรษฐกิจสังคม
อย่างไรก็ตามวอลแตร์รักษาความเป็นกลางไว้ได้ดีมาก ถึงเปิดหนังสือมา จะมีการยอยศหลุยส์ที่ 14 โดยบอกว่ายุคสมัยของพระองค์เป็นยุคที่ยุโรปเจริญถึงขีดสุด ต่อจากยุคของอเลกซานเดอร์ ซีซาร์ และชาลีมัง แต่พอเริ่มเรื่องจริงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแกสรรเสริญอะไรหลุยส์มากนัก วอลแตร์เล่าให้ฟังว่ากองทัพหลุยส์ที่ยกไปตีฮอลแลนด์เกรียงไกร เริ่ดหรูอย่างถึงที่สุด ทั้งบดขยี้ศัตรูไป ก็สังสรรค์รื่นเริง และโชว์ความอลังไปพลาง (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นคนแรกที่มากับแนวคิดว่าทหารที่ไปยกทัพจับศึก ไม่จำเป็นเสียหน่อยที่ต้องอยู่อย่างลำบากยากแค้น อะไรที่พอหรูหรา เพลิดเพลินได้ ก็จัดให้เสียหน่อย) สุดท้ายพอเจ้าชายแห่งส้ม (Prince of Orange) กษัตริย์ฮอลแลนด์รวบรวมกำลังพลได้ และตีโต้หลุยส์จริงๆ จังๆ ฝรั่งเศสก็ไปต่อลำบากเหมือนกัน
...จะว่าไป ทั้งเล่มของ The Age of Louis XIV อาจจะเขียนขึ้นเพื่อเสียดสีไม่ต่างอะไรจาก Candide ก็เป็นได้แฮะ
J. Austen's "Northanger Abbey"
ใครติดตามรักชวนหัวมานานน่าจะคุ้นชินกับอาการ "อินดี้" เวลาเราพูดถึงหนังสือที่อ่านเพียงผิวเผิน และเลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องแทน แต่วันนี้เราจะ one up ตัวเองขึ้นไปอีกขั้น โดยไม่พูดอะไรเลยเกี่ยวกับ Northanger Abbey เว้นแต่ว่านี่คือหนังสือเล่มแรกที่เราอ่านจบด้วยเครื่อง kindle!
อ้า...ใช่แล้ว kindle อุปกรณ์ "หนังสือไฟฟ้า" อันเป็นที่เกลียดชังของนักเขียนและนักอ่านเมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว สมัยมันเพิ่งออกใหม่ๆ จนบัดนี้ ทุกครั้งที่เราหยิบมันขึ้นมา เสียงสั่นเครือของลุงเรย์ แบรดเบอรียังดังเข้ามาในหัว "โอ้...กลิ่นหมึก กลิ่นผงไอยคุปต์ ไม่มีอะไรในโลกนี้ทดแทนหนังสือได้"
ถึงแม้ว่าบริษัท amazon จะยังไม่สามารถติดตั้งคอมเพรสเซอร์ปล่อยกลิ่นหนังสือ แต่หลังจากผ่านไปห้าปี และโมเดลล่าสุดลดราคาลงจาก 15000 บาทเหลือแค่ 3000 กว่าๆ เท่านั้น ก็ได้เวลารักชวนหัวจะหมุนตัวเองให้ทันโลก
พอได้ลองใช้จริงๆ ยอมรับว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่โอเคมาก อเมซอนเข้าใจว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ไม่ใช่ ipad ที่อ่านหนังสือได้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นหนังสือไฟฟ้า คินเดิลไม่เหมือนไอแพด กาแลกซี่ หรืออุปกรณ์อินเตอร์เน็ตพกพาชนิดอื่นๆ (เว้นแต่ Kindle Fire ซึ่งถูกออกแบบมาเจาะตลาดกลุ่มนั้นโดยเฉพาะ) อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคชิ้นนี้ถูกออกแบบมาให้เป็นหนังสือ ต้องขอบคุณเทคโนโลยี "หมึกไฟฟ้า" คินเดิลรุ่นทั่วไปมีแค่จอขาวดำ (เหมือนหนังสือส่วนใหญ่) ใช้หลักการเรียงหมึกหลังจอเป็นภาพ เป็นตัวอักษร ดังนั้นจึงไม่มีไฟสว่างออกมา อ่านในที่มืดไม่ได้ แต่ต่อให้อ่านนานๆ ก็ไม่เสียสายตา (เหมือนหนังสือ!) และเพราะเป็นหมึกไฟฟ้านี่เอง มันถึงประหยัดไฟมาก สามารถเปิดหน้าจอค้างไว้ได้นานเป็นเดือน (เหมือนหนังสือ!) โดยตัวเครื่องจะใช้พลังงานเฉพาะตอนเปลี่ยนหน้าเท่านั้น เมื่อเราอ่านแต่ละเล่มค้างไว้ ไม่ต้องปิดเครื่อง เก็บใส่กระเป๋า และพอจะเอามาอ่านต่อ แค่กดปุ่มเดียว (เหมือนหนังสือ!) คินเดิลสามารถเข้าเน็ตได้ แต่ได้เฉพาะเวบ amazon เพื่อสั่งซื้อหนังสือ และอ่านรีวิว ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าพกพาไปไหน จะเอาแต่นั่งเล่น facebook นอกจากไฟล์ e-reader แล้วยังสามารถอ่าน pdf ได้ทุกภาษาอีกด้วย
ข้อเสียเดียวในขณะนี้ของคินเดิลที่ไม่เหมือนหนังสือคือ แม้จะทำไฮไลท์ได้ จดโน้ตภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย แต่ไม่สะดวกเท่าขีดเขียนอะไรลงกระดาษแน่ๆ แต่นอกจากนี้แล้ว ขอให้คิดว่ามันคือหนังสือไฟฟ้า หาใช่ไอแพดที่ถูกลดรูปไม่
สำหรับผู้สนใจ ลองติดต่อเวบ kindleok.com ดู (ไม่ได้ค่าโฆษณา)
อ้า...ใช่แล้ว kindle อุปกรณ์ "หนังสือไฟฟ้า" อันเป็นที่เกลียดชังของนักเขียนและนักอ่านเมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว สมัยมันเพิ่งออกใหม่ๆ จนบัดนี้ ทุกครั้งที่เราหยิบมันขึ้นมา เสียงสั่นเครือของลุงเรย์ แบรดเบอรียังดังเข้ามาในหัว "โอ้...กลิ่นหมึก กลิ่นผงไอยคุปต์ ไม่มีอะไรในโลกนี้ทดแทนหนังสือได้"
ถึงแม้ว่าบริษัท amazon จะยังไม่สามารถติดตั้งคอมเพรสเซอร์ปล่อยกลิ่นหนังสือ แต่หลังจากผ่านไปห้าปี และโมเดลล่าสุดลดราคาลงจาก 15000 บาทเหลือแค่ 3000 กว่าๆ เท่านั้น ก็ได้เวลารักชวนหัวจะหมุนตัวเองให้ทันโลก
พอได้ลองใช้จริงๆ ยอมรับว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่โอเคมาก อเมซอนเข้าใจว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ไม่ใช่ ipad ที่อ่านหนังสือได้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นหนังสือไฟฟ้า คินเดิลไม่เหมือนไอแพด กาแลกซี่ หรืออุปกรณ์อินเตอร์เน็ตพกพาชนิดอื่นๆ (เว้นแต่ Kindle Fire ซึ่งถูกออกแบบมาเจาะตลาดกลุ่มนั้นโดยเฉพาะ) อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคชิ้นนี้ถูกออกแบบมาให้เป็นหนังสือ ต้องขอบคุณเทคโนโลยี "หมึกไฟฟ้า" คินเดิลรุ่นทั่วไปมีแค่จอขาวดำ (เหมือนหนังสือส่วนใหญ่) ใช้หลักการเรียงหมึกหลังจอเป็นภาพ เป็นตัวอักษร ดังนั้นจึงไม่มีไฟสว่างออกมา อ่านในที่มืดไม่ได้ แต่ต่อให้อ่านนานๆ ก็ไม่เสียสายตา (เหมือนหนังสือ!) และเพราะเป็นหมึกไฟฟ้านี่เอง มันถึงประหยัดไฟมาก สามารถเปิดหน้าจอค้างไว้ได้นานเป็นเดือน (เหมือนหนังสือ!) โดยตัวเครื่องจะใช้พลังงานเฉพาะตอนเปลี่ยนหน้าเท่านั้น เมื่อเราอ่านแต่ละเล่มค้างไว้ ไม่ต้องปิดเครื่อง เก็บใส่กระเป๋า และพอจะเอามาอ่านต่อ แค่กดปุ่มเดียว (เหมือนหนังสือ!) คินเดิลสามารถเข้าเน็ตได้ แต่ได้เฉพาะเวบ amazon เพื่อสั่งซื้อหนังสือ และอ่านรีวิว ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าพกพาไปไหน จะเอาแต่นั่งเล่น facebook นอกจากไฟล์ e-reader แล้วยังสามารถอ่าน pdf ได้ทุกภาษาอีกด้วย
ข้อเสียเดียวในขณะนี้ของคินเดิลที่ไม่เหมือนหนังสือคือ แม้จะทำไฮไลท์ได้ จดโน้ตภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย แต่ไม่สะดวกเท่าขีดเขียนอะไรลงกระดาษแน่ๆ แต่นอกจากนี้แล้ว ขอให้คิดว่ามันคือหนังสือไฟฟ้า หาใช่ไอแพดที่ถูกลดรูปไม่
สำหรับผู้สนใจ ลองติดต่อเวบ kindleok.com ดู (ไม่ได้ค่าโฆษณา)
N. Mitford's "The Sun King"
อ้า...ไม่ย้อนแย้ง ก็คงไม่ใช่ชีวิตจริงสินะ
ในหนังสือชีวประวัติพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การสงคราม หรือการมุ้ง เรื่องที่ประทับใจเราที่สุดกลับเป็น episode เล็กๆ ที่แทบไม่มีความหมายในทางประวัติศาสตร์เลย นั่นก็คือการก่อตั้งและประวัติโรงเรียนแซงซีร์
แซงซีร์ถูกก่อตั้งโดยมาดามเมนทินอน ราชินีคนที่สองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สมัยเด็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกส่งตัวไปอยู่คอนแวนต์ เมนทินอนถึงกับยอมแต่งงานกับสามีเฒ่าชรา ราชินีเลยตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะต้องทำให้โรงเรียนประจำของตัวเอง ห่างไกลจากการเป็นคอนแวนต์ให้มากที่สุด (สมัยนั้น ผู้หญิงที่ไม่มีอนาคตหรือหมดอนาคตแล้ว เช่น หาสามีไม่ได้ สามีตาย คบชู้ หรือก่อเหตุอื้อฉาว จะต้องถูกส่งไปใช้ชีวิตอยู่ในคอนแวนต์ เพื่อรักษาเกียรติของครอบครัว และไม่ให้สิ้นเปลืองค่าส่งเสียเลี้ยงดู)
ช่วงแรกๆ ก็เหมือนว่าจะดี แซงซีร์เน้นการสอนวิชาด้านศิลปะวัฒนธรรมให้แก่ลูกผู้หญิงชาวฝรั่งเศส เมื่อพวกหล่อนโตขึ้น จะได้มีศักยภาพในการเข้าสังคม (และความสำเร็จของแซงซีร์ "วัด" ได้จาก ในยุคนั้น โรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งหาภรรยาที่ดีที่สุดของเหล่าขุนนาง) ราซีน นักเขียนบทละครชื่อดัง ถึงกับประพันธ์บทละครสองเรื่องกำนัลแด่ราชินีเมนทินอน เพื่อให้สาวๆ ในแซงซีร์เล่นโดยเฉพาะ
ถ้าเรื่องราวทั้งหมดจบลงแค่นี้ เราก็คงพอพูด (แบบไทยๆ ) ได้เต็มปากเต็มคำว่าคุณูปการทางด้านสังคมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และราชินีเมนทินอนก็คือการ "ปฏิวัติการศึกษา" ให้แก่ลูกผู้หญิงนั่นเอง
แต่อยู่ๆ ก็เกิดจุดพลิกผันขึ้น เมื่อราชินีเมนทินอนทะเลาะกับครูใหญ่ที่หล่อนไว้ใจมาก ตำแหน่งครูใหญ่เลยตกไปอยู่ในมือของมาดามกียง ผู้หญิงเคร่งศาสนา หล่อนเป็นตัวตั้งตัวตีในการเผยแพร่ลัทธิใหม่ Quietism โดยใช้แซงซีร์เป็นแหล่งเพาะเมล็ดพันธุ์ความคิด ผลก็คือชีวิตความเป็นอยู่ในแซงซีร์ค่อยๆ ห่างไกลจากจุดประสงค์ดั้งเดิมทีละน้อย วิชาด้านศิลปะวัฒนธรรมถูกยกเลิก จนในที่สุดเหลือแต่วิชาที่เกี่ยวกับการสวดมนต์ ศาสนา และการบูชาพระผู้เป็นเจ้า (ราชินีเมนทินอนไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นัก ส่วนหนึ่งก็เพราะหล่อนเองก็มี "เชื้อ" ความคลั่งศาสนาอยู่ในตัวไม่น้อย)
ก่อนที่โรงเรียนจะปิดตัว ก็เลยเต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ชวนให้หัวร่อมิได้ร่ำให้มิออก ลูกสาวขุนนางที่ตั้งใจจะใช้แซงซีร์เป็นทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่คอนแวนต์ กลับค่อยๆ ถูกบังคับ ขู่เข็ญ และส่งตัวเข้าคอนแวนต์ทีละคนสองคน แต่ที่ย้อนแย้งหนักยิ่งขึ้นคือ Quietism ถูกตีตราโดยสำนักวาติกันว่าเป็นลัทธินอกรีต และตัวมาดามกียงเองก็ต้องหลบหนีออกจากแวร์ซาย
ในบันทึกส่วนตัวของเมนทินอน ราชินีกล่าวว่าแม้จะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่แซงซีร์ของหล่อนต้องถูกปิดตัวลง แต่อย่างน้อยก็น่าดีใจที่แซงซีร์ยังรักษาเจตนารมย์ดั้งเดิม ตั้งแต่ตอนที่เปิดโรงเรียนเอาไว้ได้อย่างไม่มีบิดผัน (ให้มันได้อย่างนี้ซิ!)
ในหนังสือชีวประวัติพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การสงคราม หรือการมุ้ง เรื่องที่ประทับใจเราที่สุดกลับเป็น episode เล็กๆ ที่แทบไม่มีความหมายในทางประวัติศาสตร์เลย นั่นก็คือการก่อตั้งและประวัติโรงเรียนแซงซีร์
แซงซีร์ถูกก่อตั้งโดยมาดามเมนทินอน ราชินีคนที่สองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สมัยเด็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกส่งตัวไปอยู่คอนแวนต์ เมนทินอนถึงกับยอมแต่งงานกับสามีเฒ่าชรา ราชินีเลยตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะต้องทำให้โรงเรียนประจำของตัวเอง ห่างไกลจากการเป็นคอนแวนต์ให้มากที่สุด (สมัยนั้น ผู้หญิงที่ไม่มีอนาคตหรือหมดอนาคตแล้ว เช่น หาสามีไม่ได้ สามีตาย คบชู้ หรือก่อเหตุอื้อฉาว จะต้องถูกส่งไปใช้ชีวิตอยู่ในคอนแวนต์ เพื่อรักษาเกียรติของครอบครัว และไม่ให้สิ้นเปลืองค่าส่งเสียเลี้ยงดู)
ช่วงแรกๆ ก็เหมือนว่าจะดี แซงซีร์เน้นการสอนวิชาด้านศิลปะวัฒนธรรมให้แก่ลูกผู้หญิงชาวฝรั่งเศส เมื่อพวกหล่อนโตขึ้น จะได้มีศักยภาพในการเข้าสังคม (และความสำเร็จของแซงซีร์ "วัด" ได้จาก ในยุคนั้น โรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งหาภรรยาที่ดีที่สุดของเหล่าขุนนาง) ราซีน นักเขียนบทละครชื่อดัง ถึงกับประพันธ์บทละครสองเรื่องกำนัลแด่ราชินีเมนทินอน เพื่อให้สาวๆ ในแซงซีร์เล่นโดยเฉพาะ
ถ้าเรื่องราวทั้งหมดจบลงแค่นี้ เราก็คงพอพูด (แบบไทยๆ ) ได้เต็มปากเต็มคำว่าคุณูปการทางด้านสังคมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และราชินีเมนทินอนก็คือการ "ปฏิวัติการศึกษา" ให้แก่ลูกผู้หญิงนั่นเอง
แต่อยู่ๆ ก็เกิดจุดพลิกผันขึ้น เมื่อราชินีเมนทินอนทะเลาะกับครูใหญ่ที่หล่อนไว้ใจมาก ตำแหน่งครูใหญ่เลยตกไปอยู่ในมือของมาดามกียง ผู้หญิงเคร่งศาสนา หล่อนเป็นตัวตั้งตัวตีในการเผยแพร่ลัทธิใหม่ Quietism โดยใช้แซงซีร์เป็นแหล่งเพาะเมล็ดพันธุ์ความคิด ผลก็คือชีวิตความเป็นอยู่ในแซงซีร์ค่อยๆ ห่างไกลจากจุดประสงค์ดั้งเดิมทีละน้อย วิชาด้านศิลปะวัฒนธรรมถูกยกเลิก จนในที่สุดเหลือแต่วิชาที่เกี่ยวกับการสวดมนต์ ศาสนา และการบูชาพระผู้เป็นเจ้า (ราชินีเมนทินอนไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นัก ส่วนหนึ่งก็เพราะหล่อนเองก็มี "เชื้อ" ความคลั่งศาสนาอยู่ในตัวไม่น้อย)
ก่อนที่โรงเรียนจะปิดตัว ก็เลยเต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ชวนให้หัวร่อมิได้ร่ำให้มิออก ลูกสาวขุนนางที่ตั้งใจจะใช้แซงซีร์เป็นทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่คอนแวนต์ กลับค่อยๆ ถูกบังคับ ขู่เข็ญ และส่งตัวเข้าคอนแวนต์ทีละคนสองคน แต่ที่ย้อนแย้งหนักยิ่งขึ้นคือ Quietism ถูกตีตราโดยสำนักวาติกันว่าเป็นลัทธินอกรีต และตัวมาดามกียงเองก็ต้องหลบหนีออกจากแวร์ซาย
ในบันทึกส่วนตัวของเมนทินอน ราชินีกล่าวว่าแม้จะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่แซงซีร์ของหล่อนต้องถูกปิดตัวลง แต่อย่างน้อยก็น่าดีใจที่แซงซีร์ยังรักษาเจตนารมย์ดั้งเดิม ตั้งแต่ตอนที่เปิดโรงเรียนเอาไว้ได้อย่างไม่มีบิดผัน (ให้มันได้อย่างนี้ซิ!)
B. Maddox's "Freud's Wizard"
สมมติว่าเราเป็นศิลปิน เป็นนักคิด หรือนักปรัชญา แล้วเราต้องการตั้ง "ขบวนการ" เพื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติของเรา เป็นไปได้ไหม ที่เราจะแยกแยะระหว่างแนวคิด และตัวผู้ร่วมขบวนการ (กล่าวคือ เราต้องการให้สาธารณชนสนใจสิ่งที่เราพูด โดยไม่ได้ยึดติดว่าเขาชื่นชอบใครคนใดในกลุ่ม) ถ้าบอกว่าแต่ละสมาชิกต้องสร้างความโดดเด่นให้กับตัวเอง ประวัติศาสตร์มีพื้นที่ความทรงจำมากพอจะจดจำสมาชิกได้เกินสองสามคนด้วยหรือ
ถ้าไม่ได้ศึกษา surrealism มาโดยตรง นอกจากดาลี และมากริตต์ คนทั่วไปรู้จักเบรอตง แอร์นส์ เอลูอาร์ดหรือเปล่า ขนาดเราเอง ถ้าถามว่า dadaism มีใครบ้าง นอกจากดูชอง ยังต้องคิดหนักเลย ข้ามไปเรื่องการเมืองบ้าง ในการปฏิวัติคิวบา มีใครรู้จักสมาชิกขบวนการที่ไม่ใช่เช ไม่ใช่คาสโตรบ้าง ในเมืองไทย ถ้าพูดถึง "นักหลังสมัยใหม่/postmodernist" คนก็อาจนึกออกแค่ปราบดา หยุ่นเท่านั้น
เราคงต้องยอมรับว่า ประวัติศาสตร์ หรือสาธารณชนไม่ได้มีพื้นที่ความทรงจำมากพอจะจดจำชื่อสมาชิกกลุ่มมากกว่าสองคน ("กฎแห่งสอง") เราจึงไม่อาจแบ่งแยกระหว่าง "กลุ่ม" และ "สมาชิก" การที่ขบวนการจะยก "เซเลป" ขึ้นมาคนหนึ่งเพื่อให้เป็นที่จดจำของสาธารณชน อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้
นี่คือความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวเราระหว่างอ่าน Freud's Wizard นี่คือชีวประวัติของนักเขียนชีวประวัติ ก่อนหน้านี้เราแทบไม่เคยได้ยินชื่อดอกเตอร์โจนส์มาก่อน หลังจากอ่านทั้งเล่มนี้จบ แน่นอนว่าในแวดวงวิชาการจิตวิเคราะห์งานของเขาคงส่งอิทธิพลจริงนั่นแหละ แต่สำหรับคนนอกแล้ว คงจดจำได้แค่หนังสือชีวประวัติของฟรอยด์ที่โจนส์เขียนขึ้นในช่วงท้ายของชีวิต ไม่ว่าดอกเตอร์โจนส์จะยิ่งใหญ่ มีคุณูปการแค่ไหน ประวัติศาสตร์ก็ไม่คิดจะจดจำใครอื่นในขบวนการจิตวิเคราะห์นอกจากฟรอยด์ และญุงนั่นเอง ("กฎแห่งสอง" confirmed!)
ถ้าไม่ได้ศึกษา surrealism มาโดยตรง นอกจากดาลี และมากริตต์ คนทั่วไปรู้จักเบรอตง แอร์นส์ เอลูอาร์ดหรือเปล่า ขนาดเราเอง ถ้าถามว่า dadaism มีใครบ้าง นอกจากดูชอง ยังต้องคิดหนักเลย ข้ามไปเรื่องการเมืองบ้าง ในการปฏิวัติคิวบา มีใครรู้จักสมาชิกขบวนการที่ไม่ใช่เช ไม่ใช่คาสโตรบ้าง ในเมืองไทย ถ้าพูดถึง "นักหลังสมัยใหม่/postmodernist" คนก็อาจนึกออกแค่ปราบดา หยุ่นเท่านั้น
เราคงต้องยอมรับว่า ประวัติศาสตร์ หรือสาธารณชนไม่ได้มีพื้นที่ความทรงจำมากพอจะจดจำชื่อสมาชิกกลุ่มมากกว่าสองคน ("กฎแห่งสอง") เราจึงไม่อาจแบ่งแยกระหว่าง "กลุ่ม" และ "สมาชิก" การที่ขบวนการจะยก "เซเลป" ขึ้นมาคนหนึ่งเพื่อให้เป็นที่จดจำของสาธารณชน อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้
นี่คือความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวเราระหว่างอ่าน Freud's Wizard นี่คือชีวประวัติของนักเขียนชีวประวัติ ก่อนหน้านี้เราแทบไม่เคยได้ยินชื่อดอกเตอร์โจนส์มาก่อน หลังจากอ่านทั้งเล่มนี้จบ แน่นอนว่าในแวดวงวิชาการจิตวิเคราะห์งานของเขาคงส่งอิทธิพลจริงนั่นแหละ แต่สำหรับคนนอกแล้ว คงจดจำได้แค่หนังสือชีวประวัติของฟรอยด์ที่โจนส์เขียนขึ้นในช่วงท้ายของชีวิต ไม่ว่าดอกเตอร์โจนส์จะยิ่งใหญ่ มีคุณูปการแค่ไหน ประวัติศาสตร์ก็ไม่คิดจะจดจำใครอื่นในขบวนการจิตวิเคราะห์นอกจากฟรอยด์ และญุงนั่นเอง ("กฎแห่งสอง" confirmed!)
J. Shapiro's "1599"
"นักประวัติศาสตร์ไม่ควรตัดสินความถูกผิดของคนในอดีตว่าเป็นอย่างไร เรารู้แค่ไหนเราก็ควรบอกกล่าวแค่นั้น โดยอาศัยหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อมิให้กระทบกระเทือนประวัติศาสตร์ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว"เมื่อเร็วๆ นี้มีวิวาทะระหว่างนักประวัติศาสตร์สองคน หนึ่งในนั้นอ้างเอ่ยคำพูดข้างบนขึ้นมา เราชอบคำว่า "กระทบกระเทือนประวัติศาสตร์ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว" มาก มันสะท้อนให้เห็นอคติของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ในบ้านเราได้อย่างชัดเจนดี
คำว่า "โลกาภิวัตน์ / globalization" ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปีทศวรรษ 1930 เริ่มเป็นที่นิยมในแวดวงเศรษฐศาสตร์ปี 1960 และแพร่ขยายมาในหมู่คนทั่วไปปี 1980 ส่วนใหญ่คำนี้จะหมายถึงโลกยุคอินเตอร์เน็ต แต่เอาเข้าจริงปรากฏการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่ส่งผลย่นย่อโลกลง ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ทั้งนั้น
น่าตื่นเต้นมากที่ชาปิโรใช้คำว่า "globalization" อธิบายความเปลี่ยนแปลงของประเทศอังกฤษในปี 1599 หลังความพ่ายแพ้ของเอิร์ลแห่งเอซแซค ในสงครามกบฎไอริช เอซแซคเป็นขุนนางผู้ทรงอิทธิพล เขาเป็นตัวแทนวัฒนธรรมอังกฤษโบราณ ระหว่างยกกองทัพไปปราบกบฎในประเทศไอร์แลนด์ ทุกครั้งที่ทหารทำความดีความชอบ เขาจะจัดพิธีเชิดชูเกียรติ เลื่อนยศตำแหน่งให้อย่างสวยหรู ท่ามกลางความไม่พอใจของราชินีอลิซาเบธ (เพราะคนที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในงานพิธีคือรัฐบาลกลาง) หลังจากเอซแซคพ่ายแพ้ ถูกเรียกตัวกลับลอนดอน เขาถูกจับด้วยข้อหาสมคบคิดล้มราชบัลลังก์ และถูกประหารชีวิต เหลือเพียงคำกล่าวทิ้งไว้ว่า "เอซแซคเลื่อนยศตำแหน่งให้อัศวิน เป็นจำนวนคนมากกว่าที่เขาสังหารกบฎไอริชลงได้เสียอีก"
พร้อมๆ กับความปราชัยของเอซแซค คือการรวมกลุ่มพ่อค้าเพื่อจัดตั้ง Virginia Company บริษัทนี้เองที่เป็นโต้โผส่งเรือสำเภาไปค้าขาย และยึดครองดินแดนอันไกลโพ้น อันเป็นที่มาของยุคล่าอาณานิคม ขณะที่วัฒนธรรมอัศวินและการทหารนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของอังกฤษในไอร์แลนด์ (ไม่นับความพ่ายแพ้ที่มีต่อมหาอำนาจอื่นอย่างสเปน และเนเธอแลนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายเรือสำเภาขึ้น) วัฒนธรรมการค้านำหน้าการทหารต่างหากที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นเจ้าโลกจนถึงต้นศตวรรษที่ 20
และนี่เองคือต้นกำเนิดของโลกาภิวัตน์ที่ชาปิโรพูดถึง แน่นอนว่าในสมัยเชคสเปียร์ยังไม่มีคำนี้อยู่ในโลก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อคำถูกคิดค้นขึ้นมาแล้ว เราจะไม่สามารถนำมันมาใช้อธิบายเพื่อ “กระทบกระเทือนประวัติศาสตร์” ย้อนหลังได้ ไม่สิ ในทางตรงกันข้าม หน้าที่หนึ่งเดียว ภาระสูงสุดของนักประวัติศาสตร์ก็คือการเอาปัจจุบันไปกระทุ้งกระแทกประวัติศาสตร์ต่างหาก
(ก่อนจะมีคนครหาว่าไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับหนังสือ หรือเชคสเปียร์เลย กล่าวโดยสรุป 1599 ก็คือหนังสือชีวประวัติเชคสเปียร์ ที่ชาปิโรวิเคราะห์บทละครสำคัญๆ ซึ่งถูกเขียนในปีนั้น โดยอรรถาธิบายวิธีการที่เชคสเปียร์ใช้ภาวะบ้านเมืองในปีปัจจุบัน [ปี 1599] มาเล่าย้อนหลังเพื่อกระทุ้งกระแทกประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่ถูกเล่าขานติดปากมาจนเกร่อแล้วนั่นเอง)
Subscribe to:
Posts (Atom)